About the Journal

วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์ (Focus and Scope )

วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยเป็นวารสารอย่างเป็นทางการของวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย โดยมีพันธกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดผลงานวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกสาขาของเวชศาสตร์ฉุกเฉินและวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง โดยรับตีพิมพ์ผลงานจากทั้งสมาชิกภายในประเทศไทยและจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวารสารมีกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน (editors and peer reviewers) เพื่อให้ได้ผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ

กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process)

บทความที่ส่งตีพิมพ์ ต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเบื้องต้นว่า บทความที่ส่งมามีความเหมาะสมในการรับพิจารณาลงตีพิมพ์หรือไม่ หากมีความเหมาะสมจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณาบทความ (peer reviewers) อย่างน้อย 3 ท่าน ตรวจพิจารณา โดยใช้ระบบ Double-blind ประเมินคุณค่าทางวิชาการ เพื่อพิจารณาการตอบรับ โดยการพิจารณาบทความเพื่อแก้ไขในครั้งแรก (First revision) จะใช้เวลาไม่เกิน 6-8 สัปดาห์ (double-blind review)

ประเภทของบทความ(Types of articles)

บทความวิชาการทางด้านวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษและภาษาไทย เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย แบ่งบทความออกเป็น 9 ประเภท คือ

  1. รายงานวิจัย (RESEARCH ARTICLE) เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียน ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่น การเขียนเป็นบทหรือตอนตามลำดับดังนี้ บทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ คำสำคัญ 3-5 คำ บทนำ วัตถุประสงค์ วัสดุ (หรือผู้ป่วย) และวิธีการ ผลการศึกษา วิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7
  2. บทรายงานเบื้องต้น (PRELIMINARY REPORT/ Short paper) เป็นรายงานการค้นคว้าวิจัยหรือการสังเกตขั้นต้น ที่ต้องการรายงานให้ผู้อื่นทราบโดยเร็ว แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะเขียนเป็นบทรายงานที่สมบูรณ์ได้ความยาวไม่เกิน 2,000 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 4 และเอกสารอ้างอิงไม่เกิน 20 รายการ
  3. บทความฟื้นวิชาการ (REVIEW ARTICLE) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ได้ หรือเป็นบทความวิเคราะห์สถานการณ์โรคต่างๆ ประกอบด้วย บทนำภาษาอังกฤษไม่เกิน 300 คำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียนวิจารณ์หรือวิเคราะห์ สรุปเอกสารอ้างอิงที่ทันสมัย ความยาวไม่เกิน 4,500 คำ ตารางหรือภาพไม่เกิน 7
  4. รายงานผู้ป่วย (CASE REPORT) เป็นรายงานผลการศึกษาจากผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคหรือภาวะที่พบได้ยากหรือโรคอุบัติใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน ควรประกอบด้วยบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์ ข้อคิดเห็น สรุปและเอกสารอ้างอิง
  5. บทบรรณาธิการ (EDITORIAL) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทน รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร
  6. ย่อวารสาร (JOURNAL ABSTRACT) เป็นบทความสั้นๆ ที่แปลและเรียบเรียงจากวารสารต่างประเทศที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
  7. จดหมายถึงบรรณาธิการ (LETTER to EDITOR) เป็นจดหมายที่เขียนวิจารณ์เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว หรือแสดงผลงานทางวิชาการที่ต้องการเผยแพร่อย่างย่อ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษพิมพ์และมีเอกสารอ้างอิงประกอบ
  8. บทประชุมวิชาการ ได้แก่ บทความที่รวบรวมจากการประชุมทางวิชาการ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
  9. Imaging quiz เป็นการทดสอบความรู้ทั่วไปทางการแพทย์โดยเสนอตัวอย่างผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่น่าสนใจ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพถ่ายทางรังสี เป็นต้น

ภาษาที่รับตีพิมพ์ (Language)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

กำหนดออก (Publication Frequency)

วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม