Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์   (คลิกดูเอกสารฉบับ PDF)

ประเภทบทความ

  1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถาบันหรือหน่วยงาน บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
  2. บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหาที่ทบทวน วิจารณ์ และเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
  3. บทความพิเศษ (Special article) เป็นบทความประเภทกึ่งบทปริทัศน์กับบทความฟื้นวิชาที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของมวลชนเป็นพิเศษ
  4. บทความฟื้นวิชา (Refresher course) เสนอความรู้ในองค์ความรู้จำเพาะเรื่อง ที่นำมารื้อฟื้นเพิ่มเติมความรู้ ทำนองเดียวกับนำเสนอในการประชุมฟื้นวิชา หรือการจัดอบรมเป็นคราวๆไป
  5. ปกิณกะ (Miscellaneous) เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายบทความต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บันทึกเวชกรรม เวชกรรมทันยุค บทปริทัศน์ รายงานผลการศึกษาวิจัยพอสังเขป หรือรายงานเบื้องต้น
  6. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the editor) หรือ จดหมายโต้ตอบ (Correspondence) เป็นเวทีใช้ติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์ หรือข้อผิดพลาดของรายงาน งานวิจัย

การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
  • พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word 2003 ขึ้นไป
  • แบบอักษร Cordia new หรือ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 สำหรับบทความต้นฉบับที่เตรียมเป็นภาษาไทย
  • แบบอักษร Times New Roman หรือ Arial ขนาดตัวอักษร 12 สำหรับบทความต้นฉบับที่เตรียมเป็นภาษาอังกฤษ
  • พิมพ์หน้าเดียว (Single column), และเว้นระยะขอบกระดาษ ด้านละ 1 นิ้ว
  1. ลำดับเนื้อหาบทความ
  • ชื่อเรื่อง (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้เขียน สถาบันหรือหน่วยงาน พร้อมผู้ที่ให้ติดต่อหลัก (Corresponding author)
  • ชื่อเรื่องอย่างย่อ (Running title) ความยาวไม่ควรเกิน 40 ตัวอักษร
  • บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่ควรเกิน 300 คำ ซึ่งประกอบด้วย บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา และสรุปผลการศึกษา พร้อมคำสำคัญ (Key words) จำนวน 3 - 5 คำ
  • เนื้อเรื่อง ควรเป็นไปตามลำดับดังนี้
    • บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของบทความที่ระบุความสำคัญ และที่มาของการศึกษา และวัตถุประสงค์ใส่ไว้ตอนท้ายของบทนำ
    • วิธีการศึกษา (Methods) ระบุถึงกลุ่มคน และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา การได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลอง (Institutional review board: IRB) รูปแบบการศึกษา (study design) การสุ่มตัวอย่าง วิธีหรือกระบวนการที่ใช้ศึกษา (interventions) เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ แบบสอบถาม การทดสอบความเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
    • ผลการศึกษา (Results) นำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยเรียงลำดับผลการศึกษาเป็นข้อๆ อาจนำเสนอในรูปแบบตารางหรือแผนภูมิ โดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขซ้ำในเนื้อเรื่อง ยกเว้นข้อมูลที่สำคัญ
    • การอภิปราย และสรุปผลการศึกษา (Discussion and Conclusion) แปลความหมายของผลการศึกษา หรือวิเคราะห์และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้ เปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้กับการศึกษาอื่นที่มีผู้เคยศึกษาไว้ ระบุข้อจำกัดของการศึกษา สรุปผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ ให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ หรือให้ประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไปในอนาคต
    • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ระบุถึงแหล่งทุนสนับการศึกษาและบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือต่างๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
    • ตาราง ให้พิมพ์จัดไว้ใกล้กับคำอธิบายในบทความ พร้อมเขียนเลขที่ตาราง และคำอธิบายตาราง ข้อมูลในตารางไม่ควรซ้ำซ้อนกับข้อมูลในเนื้อเรื่อง ควรมีตารางไม่เกิน 3-5 ตาราง
    • แผนภูมิหรือภาพประกอบ ให้จัดไว้ใกล้กับคำอธิบายในบทความ เป็นภาพขาว-ดำ หรือภาพสีที่มีความคมชัด ความละเอียดไม่ควรต่ำกว่า 300 dpi พร้อมพิมพ์หมายเลขและคำบรรยายไว้ใต้ภาพ
    • เอกสารอ้างอิง (References) ใส่หมายเลขเรียงลำดับที่อ้างถึงในบทความ โดยพิมพ์ยกระดับเหนือข้อความที่อ้างถึง ใช้การเขียนเอกสารอ้างอิงระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) ไม่ควรเกิน 40 เรื่อง และย่อชื่อวารสารใช้ตามระบบ Index Medicus (แนะนำให้ใช้โปรแกรม Endnote ในการเตรียมเอกสารอ้างอิง)
    • ความยาวของเนื้อหาตั้งแต่บทนำจนถึงสรุปไม่ควรเกิน 4,000 คำ

บทความปริทัศน์ อนุโลมตามผู้เขียน แต่ให้มีขอบข่ายรูปแบบการเขียนคล้ายกับบทความนิพนธ์ต้นฉบับ โดยประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป

*หมายเหตุ ต้นฉบับที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง จะถูกส่งคืนเจ้าของบทความเพื่อแก้ไขก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการทบทวนบทความ (Review) ต่อไป 

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

บทความวารสารวิชาการ ใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน ถ้ามากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์ 6 คนแรก ตามด้วย et al. สำหรับวารสารภาษาอังกฤษ หรือ และคณะ สำหรับวารสารภาษาไทย เช่น

  • Nuntue C, Krisanachinda A, Khamwan K. Optimization of a low-dose 320-slice multi-detector computed tomography chest protocol using phantom. Asian Biomedicine 2016;10:269-276.
  • Khamwan K, Plyku D, O’Reilly SE, et al. Pharmacokinetic modeling of [18F] fluorodeoxyglucose (FDG) for premature infants, and newborns through 5-year-olds. EJNMMI Res 2016;6:1-11.
  • มานัส มงคลสุข. เทคโนโลยีของซีทีในช่วงสิบปีที่ผ่านมา: มุมมองเชิงฟิสิกส์. วารสารรังสีเทคนิค ๒๕๕๐;๑-๓:๙๕-๑๐๙.
  • ธัญรัตน์ ชูศิลป์, และคณะ. หุ่นจำลองเต้านมแบบเสื้อสวมใส่สำหรับฝึกปฏิบัติการจัดท่าถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม. ธรรมศาสตร์เวชสาร ๒๕๖๐;๓:๓๒๕-๓๓๕.

หนังสือตำรา

  • ภิรมย์ กมลรัตนกุล, มนต์ชัย ชาลาประวรรตน์, ทวีสิน ตันประยูร. หลักการทำวิจัยให้สำเร้จ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; ๒๕๔๘.
  • Bushberg JT, Seibert JA, Leidholdt EM, Boone JM. The essential physics of medical imaging. 3rd Philadelphia (PA): Lippincott William & Wilkins; 2012.

บทในหนังสือหรือตำรา (Book chapter)

  • Waltzman SB, Shapiro WH. Cochlear implants in adults. In: Valente M, Hosfond-Dunn H, Roeser RJ, editors. Audiology treatment. 2nd New York: Thieme; 2008; p. 361-9.

รายงานการประชุม สัมมนา (Proceedings)

  • อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, งามจิตต์ จันทรสาธิต, บรรณาธิการ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ครั้งที่ ๒ เรื่อง ส่งเสริมสุขภาพ:บทบาทใหม่แห่งยุคของทุกคน; ๖-๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ณ โรงแรมโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; ๒๕๔๑.
  • Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th International Congress of EMG and Clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19; Kyoto, Japan. Amsterdam: Elsevier; 1996; p.xxx-xxx.

วิทยานิพนธ์

  • สิรัณยาพงศ์ สุวรรณโอภาส. การปรับค่าปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพที่เหมาะสมในการถ่ายภาพรังสีช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
  • Kaplan SJ. Post-hospital home health care: the elderly's access and utilization [dissertation]. St. Louis, MO: Washington University; 1995.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  • จิราภรณ์ จันทร์จร. การเขียนเอกสารอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ ๒๕๕๔ (ฉบับปรับปรุง)[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; ๒๕๕๔ [เข้าถึงเมื่อ ๒๐ ก.ค. ๒๕๕๕]. เข้าถึงได้จาก: http://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf
  • International Committee of Medical Journal Editors. Uniform requirements for manuscript submitted to biomedical journals: about the uniform requirements [Internet]. 2010 [cited 2012 July 20]. Available from: http://www.icmje.org/sop_1about.html

การพิจารณารับตีพิมพ์

บทความที่ส่งตีพิมพ์ ต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น โดยกองบรรณาธิการจะตรวจสอบเบื้องต้นว่า บทความที่ส่งมามีความเหมาะสมในการรับพิจารณาลงตีพิมพ์หรือไม่ หากมีความเหมาะสมจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณาบทความ (peer reviewers) 2 ท่าน ตรวจพิจารณา โดยใช้ระบบ Double-blind ประเมินคุณค่าทางวิชาการ เพื่อพิจารณาการตอบรับ โดยการพิจารณาบทความเพื่อแก้ไขในครั้งแรก (First revision) จะใช้เวลาไม่เกิน 6-8 สัปดาห์

ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม

ในกรณีที่มีการทำวิจัยในผู้ป่วยหรืออาสาสมัคร งานวิจัยจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม (Institutional review board: IRB) ของโรงพยาบาลหรือสถาบันแห่งนั้น โดยเป็นไปตามหลักจริยธรรมในการทำวิจัยในมนุษย์

---------------------------------------------------------------------------------

ส่งบทความหรือติดต่อสอบถามที่อีเมล์ thairtjournal@gmail.com

Facebook สมาคมฯ: Thai Society of Radiological Technologists (TSRT)

หรือส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่ กองบรรณาธิการวารสารรังสีเทคนิค

สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. 10700

หรือหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 02-4197173 โทรสาร 02-419-7173

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.tsrt.or.th

-------------------------------------------------------------------------------------

Original articles

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ประกอบด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถาบันหรือหน่วยงาน บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง

Review articles

บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหาที่ทบทวน วิจารณ์ และเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

Special articles

บทความพิเศษ (Special article) เป็นบทความประเภทกึ่งบทปริทัศน์กับบทความฟื้นวิชาที่ไม่สมบูรณ์พอที่จะบรรจุเข้าเป็นบทความชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของมวลชนเป็นพิเศษ

Refresher course

บทความฟื้นวิชา (Refresher course) เสนอความรู้ในองค์ความรู้จำเพาะเรื่อง ที่นำมารื้อฟื้นเพิ่มเติมความรู้ ทำนองเดียวกับนำเสนอในการประชุมฟื้นวิชา หรือการจัดอบรมเป็นคราว ๆไป

Miscellaneous

ปกิณกะ (Miscellaneous) เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายบทความต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บันทึกเวชกรรม เวชกรรมทันยุค บทปริทัศน์ รายงานผลการศึกษาวิจัยพอสังเขป หรือรายงานเบื้องต้น

Letter to the editor

จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the editor) หรือ จดหมายโต้ตอบ (Correspondence) เป็นเวทีใช้ติดต่อตอบโต้ระหว่างนักวิชาการผู้อ่านมีข้อคิดเห็นแตกต่าง ต้องการชี้ให้เห็นความไม่สมบูรณ์ หรือข้อผิดพลาดของรายงาน งานวิจัย

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.