https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/issue/feed วารสารวิชาการเขต 12 2023-10-08T21:16:40+07:00 แพทย์หญิงหทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล regionjournal12@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการเขต 12</strong> ISSN: 0858-4370 Online ISSN: 2730-292X รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม</p> <p> </p> <p> </p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/article/view/265788 การศึกษาเปรียบเทียบผลการระงับปวดของการฉีดยาชา โดยการใช้อัลตราซาวด์เทคนิค fascia iliaca compartment block เทคนิค femoral nerve block และการให้ยาแก้ปวด fentanyl ทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักก่อนได้รับการฉีดยาชา เข้าทางช่องไขสันหลัง 2023-10-08T15:18:01+07:00 กษมาพร เที่ยงธรรม kasamabhorn@hotmail.com ศษิวิมล อิ๋วสกุล kasamabhorn@hotmail.com เขมิกา อุระวงค์ kasamabhorn@hotmail.com <p><strong>บทนำ</strong>: การจัดท่านอนตะแคงของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก เพื่อฉีดยาชาเข้าทางช่องไขสันหลัง (spinal anesthesia) ทำให้เกิดความปวดเฉียบพลันระดับรุนแรงได้ จึงควรมีวิธีการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพที่สุด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบผลการระงับปวดของการฉีดยาชาโดยใช้อัลตราซาวด์เทคนิค fascia iliaca compartment block (FICB) เทคนิค femoral nerve block (FNB) และยาแก้ปวด fentanyl (FENT) ทางหลอดเลือดดำ (iv) ก่อนได้รับ spinal anesthesia</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเป็นแบบการสุ่มสมบูรณ์ ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูก 33 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 11 คน กลุ่ม FICB และ FNB ใช้ 0.5% Marcaine 20 cc ผสมกับ 2% lidocaine 10 cc กลุ่ม FENT ใช้ fentanyl 0.5 mcg/kg iv ก่อน spinal anesthesia 8 นาที ถ้าคะแนนความปวด Numeric rating scale, NRS) &gt;5 จะได้ fentanyl เพิ่ม 0.5 mcg/kg iv และประเมินซ้ำอีก 5 นาทีถัดไป ถ้า NRS &gt;5 จะได้ fentanyl เพิ่มอีก 0.5 mcg/kg iv (สูงสุด 3 ครั้ง) เปรียบเทียบ NRS ขณะเคลื่อนไหว ระยะเวลาและคุณภาพของการจัดท่าตะแคง เปรียบเทียบประสิทธิภาพหลังการระงับปวด 3 วิธี โดยใช้การทดสอบครัสคาล-วัลลิส กำหนด α = 0.05 </p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ค่ามัธยฐานของ NRS ที่ลดลงหลังการระงับปวด 3 วิธี พบว่า วิธี FNB สามารถระงับปวดดีกว่าวิธี FICB และ FENT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) แต่ระยะเวลาและคุณภาพของการจัดท่าตะแคง ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป:</strong> การฉีดยาชาโดยใช้อัลตราซาวด์เทคนิค FNB มีประสิทธิภาพระงับปวดดีกว่าวิธี FICB และยาแก้ปวด fentanyl iv ในผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักก่อนได้รับ spinal anesthesia</p> 2020-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการเขต 12 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/article/view/265792 ประสิทธิผลของการเข้าร่วมค่ายเบาหวานต่อค่าน้ำตาลสะสม ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 2023-10-08T16:32:02+07:00 เลอลักษณ์ วิทยาประภากร tangmomed29@gmail.com <p><strong>บทนำ:</strong> ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การจัดค่ายเบาหวานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทักษะการดูแลรักษาตนเอง เชื่อว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินประสิทธิผลของการเข้าร่วมค่ายเบาหวานโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมค่ายที่ 3 เดือน และ 6 เดือน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาจากเหตุไปผลแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อายุ 2-18 ปี ที่เข้าร่วมค่ายเบาหวานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2561 มีการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ในส่วนข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุปัจจุบัน อายุที่เริ่มเป็นระยะเวลาที่เป็นโรค การเข้าสู่วัยรุ่น ชนิดของอินซูลินที่ใช้ เป็นต้น เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน􀄞้ำตาลสะสม (HbA1c) ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมค่ายที่ 3 เดือน และ 6 เดือน โดยใช้สถิติ paired t test หรือ Wilcoxon signed rank test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เข้าร่วมค่ายเบาหวานทั้งหมด 53 ราย อายุเฉลี่ย 11.57 ± 4.15 ปี ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 3.1 ± 2.39 ปี ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ก่อนเข้าร่วมค่ายเบาหวาน 10.48 % ±2.82 ค่าเฉลี่ย HbA1c หลัง เข้าร่วมค่าย 3 เดือนและ 6 เดือน ได้แก่ 10.23 % ± 2.79 และ 10.57 % ± 2.96ตามลำดับ พบว่า จำนวนคนที่ระดับ HbA1c ลดลง 30 ราย เพิ่มขึ้น 21 ราย หลังจากเข้าร่วมค่ายเบาหวาน 3 เดือน ค่าเฉลี่ย HbA1c หลังเข้าร่วมค่ายเบาหวาน 3 เดือนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมค่าย แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยระดับ HbA1c ระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมค่ายที่ 3 เดือน (mean difference 0.24, p-value 0.36) และ 6 เดือน (mean difference -0.09, p-value 0.49)</p> <p><strong>สรุป:</strong> ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลสะสมหลังการเข้าร่วมค่าย 3 และ 6 เดือน</p> 2020-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการเขต 12 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/article/view/265795 ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ 2023-10-08T17:01:12+07:00 บุญจิ้ม ไชยศรียา boonjim21@gmail.com <p><strong>บทนำ:</strong> ความผูกพันต่อองค์การ เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของสมาชิก การศึกษาความผูกพันต่อองค์การจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อหาปัจจัยที่จะนำไปสร้างความผูกพันของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผล องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วางไว้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ความคิด เห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งสิ้น 2,621 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของ Yamane ได้ 347 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย T-test และ F-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่า ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.19 (S.D.=.372) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ปัจจัยความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ช่วงวัย สถานภาพ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน ความผูกพันต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;.05) ส่วนเพศ ระดับการศึกษาประเภทเจ้าหน้าที่ ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>สรุป:</strong> ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกันตามช่วงวัย สถานภาพระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อลักษณะงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน</p> 2020-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการเขต 12 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/article/view/265797 การพยาบาลทารกที่มีความผิดปกติของข้อเข่า Congenital Genu Recurvatum ด้วยการจัดสมดุลโครงสร้างร่างกายแบบมณีเวช: กรณีศึกษา 2023-10-08T20:53:30+07:00 ผ่องใส ตันติวิชญวานิช tpongsai@yahoo.co.th <p><strong>บทนำ:</strong> โรค Congenital Genu Recurvatum เป็นความผิดปกติของข้อเข่า ทำให้ข้อเข่างอไปด้านหลัง การรักษาขั้นต้นใช้วิธีการใส่เฝือกและปรับเปลี่ยนเป็นระยะ ซึ่งต้องใช้เวลารักษา 8-12 สัปดาห์ การจัดสมดุลโครงสร้างร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวช มาใช้เป็นทางเลือกในการรักษา จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> 1). เพื่อให้ทารกมีโครงสร้างร่างกายปกติ 2). เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดาและมารดา 3). เพื่อให้มารดาและบิดา มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการจัดร่างกายบุตร และ 4) เพื่อให้มารดาและบิดา มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นกรณีศึกษาเดี่ยว เพื่ออธิบาย ผลการพยาบาลทารกด้วยศาสตร์มณีเวช เป็นปรากฏการณ์ที่เลือกมาใช้ตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล กรณีศึกษาทารกแรกคลอดเพศหญิง คลอดโดยวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง ทารกมีขาผิดรูป ปลายขาทั้งสองข้างชี้ขึ้นบน ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นความผิดปกติของข้อเข่า Congenital left knee dislocation and congenital right knee subluxation ศึกษาช่วง 3 วันขณะนอนในโรงพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> การพยาบาลโดยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายทารกด้วยศาสตร์มณีเวช เห็นผลการเปลี่ยนแปลงทันทีที่ทำครั้งแรก คือ ขาของทารกกลับมาอยู่ในสภาพเป็นปกติ และเมื่อครบ 3 วันทารกสามารถยืดเหยียดขาและงอเข่าได้เป็นปกติ ทำให้ความวิตกกังวลของบิดาและมารดาลดลง มารดาและบิดา มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการจัดร่างกายบุตร และมีส่วนร่วมในการจัดร่างกายบุตร</p> <p><strong>สรุป:</strong> การพยาบาลทารกด้วยการดูแลปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายทารกด้วยศาสตร์มณีเวช ในระยะเวลา 3 วัน ทารกสามารถยืดเหยียดขาและงอเข่าได้เป็นปกติ</p> 2020-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเขต 12 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/12thrmj/article/view/265799 ผลของการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความกลัว ต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในเด็กวัยก่อนเรียน 2023-10-08T21:16:40+07:00 พนิต พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ppanit@yahoo.co.th <p><strong>บทนำ:</strong> ความกลัวของเด็กวัยก่อนเรียนเกิดจากจินตนาการ ซึ่งเด็กยังมีการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่มีความคิดเป็นรูปธรรม เมื่อเด็กต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล และต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จะทำให้เด็กเกิดความกลัว ต่อต้าน และไม่ให้ความร่วมมือ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบผลของการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความกลัวต่อความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กวัยก่อนเรียน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นวิจัยเชิงทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มโดยการสุ่ม วัดหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3 - 6 ปี ที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม รพ.พัทลุง จำนวน 66 ราย ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เข้ากลุ่มทดลอง 33 ราย ดูแลโดยใช้แนวทางการจัดการความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและสื่อการ์ตูนเอนิเมชั่น กลุ่มควบคุม 33 ราย ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติ สังเกตพฤติกรรมความกลัวและพฤติกรรมความร่วมมือในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู&nbsp;</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมความกลัวการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (26.39, IQR=10 vs 40.61, IQR=20.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.01) และกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมความร่วมมือมากกว่ากลุ่มควบคุม (42.14, IQR=6 vs 24.86, IQR=7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001)</p> <p><strong>สรุป:</strong> แนวทางการจัดการความกลัวในการศึกษาครั้งนี้ ส่งผลให้เด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ มีความกลัวลดลง ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างประสบการณ์ที่ดีด้านการพยาบาล</p> 2020-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการเขต 12