@article{เอมโกษา_สุขสอาด_2016, title={การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารทำความเย็นต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบริเวณชั้นผิวหนัง}, volume={13}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/178681}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การรักษาโดยใช้ความเย็น (Cryotherapy) เป็นที่นิยมใช้ในการปฐมพยาบาลและรักษาการบาดเจ็บของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามสารทำความเย็นที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารทำความเย็น ซึ่งประกอบไปด้วย ถุงเจล (3M Nexcare) ถุงน้ำแข็งก้อน (Cubed-ice pack) ถุงน้ำแข็งก้อนผสมน้ำ (Wetted cubed-ice pack) และถุงน้ำแข็งบดผสมกับน้ำ (Wetted crushed-ice pack)</p> <p><strong>วิธีดำเนินงานวิจัย</strong><strong>:</strong> นำสารทำความเย็นวางไว้บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าของผู้เข้าร่วมการทดลองและรัดให้กระชับด้วยผ้ายืด (Elastic bandage) บันทึกการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นเวลา 20 นาที เมื่อครบกำหนดจึงนำสารทำความเย็นออกและบันทึกอุณหภูมิต่ออีก 20 นาที ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนจะได้รับการทดลองกับสารทำความเย็นทั้ง 4 ชนิด โดยมีระยะห่างกันทุก 1 สัปดาห์</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของผิวหนัง/สารทำความเย็น และค่าเฉลี่ยอัตราการลด/เพิ่มของอุณหภูมิระหว่างถุงน้ำแข็งก้อน (Cubed-ice pack) ถุงน้ำแข็งก้อนผสมน้ำ (Wetted cubed-ice pack) และถุงน้ำแข็งบดผสมกับน้ำ (Wetted crushed-ice pack) อย่างไรก็ตามถุงน้ำแข็งก้อนผสมน้ำ (Wetted cubed-ice pack) เป็นสารที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของผิวหนัง/สารทำความเย็นต่ำที่สุดและมีค่าเฉลี่ยอัตราการลดอุณหภูมิดีที่สุดในช่วงการรักษา ส่วนถุงน้ำแข็งก้อน (Cubed-ice pack) เป็นสารที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของผิวหนัง/สารทำความเย็นต่ำที่สุดและมีค่าเฉลี่ยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิดีที่สุดในช่วงพักฟื้น</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ถุงน้ำแข็งก้อนผสมน้ำ (Wetted cubed-ice pack) และถุงน้ำแข็งก้อน (Cubed-ice pack) เป็นสารที่มีความสามารถในการลดอุณหภูมิและคงความเย็นของชั้นผิวหนังบริเวณต้นขาด้านหน้าได้ดีกว่าแบบอื่นที่เปรียบเทียบในการทดลอง</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การรักษาโดยใช้ความเย็น, น้ำแข็ง, อุณหภูมิของชั้นผิวหนัง</p>}, number={1}, journal={วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์}, author={เอมโกษา รฐกร and สุขสอาด ชุตินันท์}, year={2016}, month={ธ.ค.}, pages={47–58} }