TY - JOUR AU - คงปลอด, สุพัตรา AU - ศักดิ์สุภา , นิตยา AU - เกียรติปานอภิกุล , ทิวา PY - 2022/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ JF - วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ JA - JCP VL - 18 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/255129 SP - 69-85 AB - <p><strong>บทนำ: </strong>โรคมะเร็งเป็นโรคที่คุกคามต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อโรคมะเร็งดำเนินเข้าสู่</p><p>ระยะท้ายจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนต่าง ๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ ปัญหาที่ตามมาไม่เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานแต่รวมถึงญาติผู้ดูแลด้วยเช่นกัน</p><p><strong>วัตถุประสงค์:</strong>เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองตามการรับรู้ของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแล</p><p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย:</strong>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเชิงสังเกตการณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - ตุลาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 104 คนและญาติผู้ดูแล จำนวน 104 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองฉบับของผู้ป่วยและฉบับของญาติผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง โดยเก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ในช่วงวัน ที่ 1-3 หลังจากเข้าสู่ระบบการดูแลแบบประคับประคองและเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 หลังจากการประเมิน ครั้งที่ 1 ภายใน 3-7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Wilcoxon t-test และ Mann-Whitney U test</p><p><strong>ผลวิจัย:</strong>พบว่าค่าคะแนนผลลัพธ์ของการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลครั้งที่1แตกต่างจากครั้งที่ 2อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.001) และค่าคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง ตามช่วงเวลาการศึกษาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลพบว่าไม่แตกต่างกันทั้งสองช่วงเวลา</p><p><strong>สรุป: </strong>จากการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่าการดูแลแบบประคับประคองสามารถช่วยลดอาการทางกายและทางใจของผู้ป่วยได้และกระบวนการดูแลแบบประคับประคองยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและญาติผู้ดูแลรับรู้สภาวะความเจ็บป่วยในทิศทางเดียวกัน ทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ตรงตามความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริงและช่วยเหลือผู้ป่วยได้ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย</p> ER -