https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/issue/feed
วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
2024-06-21T10:03:23+07:00
ผศ.(พิเศษ)นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล
mdping143@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์เป็นวารสารการแพทย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์มีการพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางการแพทย์ ผลงานวิจัย บทความฟื้นฟูวิชาการ รายงานผู้ป่วย และรายงานการสำรวจทางระบาดวิทยา รวมทั้งผลงานวิชาการด้านการศึกษาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ นอกจากนี้วารสารยังมีการเผยแพร่บทความที่นำเสนอการดำเนินการหรือการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ของหน่วยงานหรือโรงพยาบาลเกี่ยวข้องกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข</p> <p><strong>ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</strong></p>
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/269477
ศูนย์การเรียนเด็กป่วยในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
2024-05-28T12:03:38+07:00
สรรธีรา จันทรเสโน
w_santhira@yahoo.com
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/263699
ผลกระทบของภาวะ COVID-19 ต่อผู้สูงอายุในระยะยาวและการดูแลรักษาป้องกัน
2024-03-29T11:44:53+07:00
รวีวรรณ สุรเศรณีวงศ์
raveewan.gluay@gmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>ในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านที่มีการระบาดของ SARS-COV-2 หรือ COVID-19 การติดเชื้อก่อให้เกิดการระบาดไปทั่วโลก เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งในแง่สุขภาพ การสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคม และ ในปี 2565 นี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนเข้าใกล้ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า การระบาดนี้มีผลต่อผู้สูงอายุอย่างไร</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อรวบรวมข้อมูลและนำเสนอปัญหาที่เกิดกับผู้สูงอายุที่เกิดจากการระบาด COVID-19 ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในแง่ทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป</p> <p><strong>วิธีการดำเนินการศึกษา</strong><strong>: </strong>สืบค้นเพื่อรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ ในฐานข้อมูลวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ เรียบเรียงเนื้อหาเพื่อนำเสนอในแต่ละด้าน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อ COVID-19 จะอัตราการเกิดภาวะทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปี จะพบอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 20 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบซึ่งหมายถึงจะมีผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ในสังคม ดังนั้นบุคลากรทางสาธารณสุขในประเทศไทยจึงควรรู้จักเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวจากการติดเชื้อ COVID-19 หรือเรียกว่า “Long COVID syndrome” นอกเหนือจากนั้นยังควรต้องทราบปัญหาที่อาจซุกซ่อนอยู่หรือถูกมองข้ามซึ่งเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ เช่น ภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) ภาวะสมองเสื่อม (dementia) หรือโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post traumatic stress disorder) เป็นต้น ในแง่ผลกระทบทางสังคมผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงแต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่ลูกหลานต้องเปลี่ยนงานหรือตกงานทำให้เศรษฐฐานะแย่ลงจากมาตรการปิดเมือง</p> <p><strong>สรุป: </strong>การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบไม่เพียงแค่บุคคลทั่วไป แต่ส่งผลต่อผู้สูงอายุในหลายด้านทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจนเกิดความพิการหรือการเสียชีวิตตามมา การได้รับการวินิจฉัยหรือตรวจพบปัญหาตั้งแต่เบื้องต้นและได้รับการป้องกันรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้</p> <p> </p>
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/265216
ลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด 19 ในเขตเมือง
2024-03-25T13:34:57+07:00
วิราพร กาญจนสุทธิรักษ์
krongkan@nmu.ac.th
กรองกาญจน์ กาญจนรัตน์
krongkan@nmu.ac.th
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด 19 ในเขตเมือง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังผู้ป่วยโควิด 19 ที่ได้รับการตรวจภาพรังสีทรวงอกที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ทำการทบทวนลักษณะที่พบจากภาพรังสีทรวงอก</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งหมด 1,048 ราย ที่ได้รับการตรวจภาพรังสีทรวงอกที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลในช่วงที่ทำการศึกษา เพศชาย 485 ราย เพศหญิง 563 ราย อายุเฉลี่ย 39.23±19.68 ปี ลักษณะภาพรังสีทรวงอกปกติ 811 ราย (ร้อยละ 77.4) ภาพรังสีทรวงอกพบความผิดปกติ 237 ราย (ร้อยละ 22.6) โดยผู้ป่วยผู้ใหญ่พบความผิดปกติแบบ ground glass opacity มากที่สุด (ร้อยละ 76.4) รอยโรคมักกระจายตัวอยู่ที่ขอบนอกของปอด (ร้อยละ 57.4) โดยมักพบรอยโรคที่ปอดทั้งสองข้าง (ร้อยละ 70.5) และเด่นที่ปอดส่วนล่าง (ร้อยละ 41.8)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ลักษณะภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโควิด 19 ในเขตเมืองส่วนใหญ่ปกติ โดยลักษณะภาพรังสีทรวงอกผิดปกติที่พบบ่อยเป็นแบบ ground glass opacity ที่ปอดทั้งสองข้างเด่นที่บริเวณขอบนอกของปอดและปอดส่วนล่าง</p>
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/264756
ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
2024-03-12T13:24:35+07:00
ยุทธนา เศรษฐนันท์
nokkeyja@gmail.com
ทะเนตร์ สายมัน
nokkeyja@gmail.com
ทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี
nokkeyja@gmail.com
ฟ้าสว่าง ฟองจำ
nokkeyja@gmail.com
นันทนา เมษประสาท
nokkeyja@gmail.com
สิรินทรา ราษฎร์มณี
nokkeyja@gmail.com
นัตติยา พรมมินทร์
nokkeyja@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร จำนวน 116 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) และแบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ซึ่งระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าส่วนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบบางส่วน ค่าการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.17, SD=0.560) และปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (r=-0.197, p=0.039) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (r=-0.222, p=0.049) และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (r=0.309, p=0.001) มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 โดยปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (β=-0.279, p=0.039) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (β=-0.310, p=0.019) และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (β=0.399, p=0.001) มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01</p> <p><strong>สรุป:</strong> ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (การมอบหมายงานที่ชัดเจนและมีทีมงานคอยให้คำแนะนำ) 2) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (การทำงานเป็นทีมและมีช่องทางช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน) และ 3) ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (มีบุคคลที่สามารถปรึกษาได้และมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ)</p>
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/267061
การพัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
2024-03-06T08:20:44+07:00
นิติกุล บุญแก้ว
nitikul.bk@gmail.com
สมฤดี พูนทอง
oil-britney@hotmail.com
อ้อยฤทัย สุรีย์เหลืองขจร
oir_s1@hotmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์กระดูกพรุน 2) พัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>:</strong> วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หมู่บ้านบ้านบ่อทราย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ศึกษาสถานการณ์กระดูกพรุน จำนวน 557 คน และ 2) ผู้ที่เข้าร่วมทดลอง จำนวน 30 คน การศึกษามี 3 ระยะ ระยะที่ 1 สำรวจอัตราความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบกิจกรรมนำร่อง ป้องกันภาวะกระดูกพรุน และระยะที่ 3 ทดลองใช้ต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน จำนวน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองภาวะกระดูกพรุนสำหรับชาวเอเชีย (Osteoporosis Self-Assessment Tool for Asians: OSTA) และแบบคัดกรองภาวะกระดูกพรุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen Osteoporosis Study: KKOS) 3) ทดสอบการทรงตัวด้วยการจับเวลาในการเดิน (Time Up and Go Test ) 4) แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้สุขภาพป้องกันภาวะกระดูกพรุน ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.7 และ 5) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก วิเคราะห์เปรียบเทียบการทดลองด้วย one group paired-samples T test และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการ</strong><strong>วิจัย</strong><strong>: </strong>1) กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงกระดูกพรุนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.28 2) พัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ประกอบด้วยกิจกรรม “SIMLE” โดย Survey (S) คือ การเข้าถึงข้อมูลป้องกันกระดูกพรุน Intervention (I) คือ ความเข้าใจการป้องกันภาวะกระดูกพรุน Meeting (M) คือ การวางเป้าหมายในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง Learning (L) คือ การปฏิบัติกิจกรรมตามเป้าหมาย ปรับแก้ไขด้วยตนเอง และ Evaluation (E) คือ การประเมินความสำเร็จของตนเอง บอกต่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม 3) ประสิทธิผลของต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีการทรงตัวดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.01) และมีความรอบรู้สุขภาพป้องกันภาวะกระดูกพรุนมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.01)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ความชุกของภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นตามลำดับช่วงอายุ การใช้ต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการหกล้ม และมีความรอบรู้สุขภาพ การป้องกันภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น จึงควรนำไปใช้กับผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป</p>
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/265395
การฝังรากเทียมทันทีภายหลังการถอนฟัน ร่วมกับการปลูกเหงือกด้วยเนื้อเยื่อยึดต่อ และใส่ครอบฟันชั่วคราวในการบูรณะฟันตัดซี่กลางบน: รายงานผู้ป่วย
2024-04-17T08:38:42+07:00
นุดี เอื้ออิทธิพร
nudee096@gmail.com
<p>การใส่รากเทียมทันทีภายหลังการถอนฟัน เป็นทางเลือกหนึ่งในการใส่ฟันเทียมทดแทนฟันธรรมชาติที่ถูกถอนไปในบริเวณฟันหน้าบน ข้อดี คือ ช่วยลดการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟัน และ ผู้ป่วยจะมีฟันเทียมทันที หลังการถอนฟัน แต่ข้อเสีย คือ เทคนิคมีความยุ่งยาก และมักพบการเกิดเหงือกร่นภายหลังได้ จึงเพิ่มการปลูกถ่ายเหงือกด้วยเนื้อเยื่อยึดต่อไปในคราวเดียวกัน ผู้ป่วยรายนี้ มีฟันตัดซี่กลางบนมีครอบฟันที่มีรอยผุที่ระดับต่ำกว่าขอบของครอบฟันไม่สามารถทำครอบฟันใหม่ได้ ผู้ป่วยเลือกการใส่รากเทียมและครอบฟัน ทำการตรวจช่องปาก เอกซเรย์สามมิติ วางแผนการรักษาด้วยการเตรียมทำครอบฟันชั่วคราว ฟันถอดได้บางส่วนฐานพลาสติก การรักษาเริ่มจากถอนฟันแบบไม่กระทบกระเทือน แล้วฝังรากเทียมในกระดูกเบ้าฟันทันที ใส่ครอบฟันชั่วคราว ปลูกถ่ายเนื้อเยื่อยึดต่อ หลังจากนั้น 6 เดือนต่อมา จึงทำการเปลี่ยนเป็นครอบฟันถาวรด้วยครอบฟันบนแกนไทเทเนียมยึดกับรากเทียมด้วยสกรู</p>
2024-06-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์