วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP <p>วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์เป็นวารสารการแพทย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีการพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผลแพร่ผลงานวิจัยรายงานการสำรวจทางระบาดวิทยา รายงานผู้ป่วยและบทความวิชาการทางการแพทย์ รวมทั้งผลงานวิชาการด้านแพทย์ ศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p>ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน</p> ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ th-TH วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 1686-8579 ภาวะการกดไขกระดูกจากพิษของยาเมโธเทรกเซทในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ : รายงานผู้ป่วย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/261730 <p>ภาวะการกดไขกระดูกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่มากภายหลังการใช้ยาเมโธเทรกเซทในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่เป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรได้รับการวินิจฉัยอย่าง รวดเร็ว โดยการวินิจฉัยภาวะนี้ต้องอาศัยการวัดระดับยาเมโธเทรกเซทในเลือด ซึ่งจะลดลงไปตามเวลาและอาจทำให้ การวินิจฉัยเป็นไปได้ยากหากไม่ได้รับการตรวจรักษาที่ทันท่วงที บทความนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และความดันโลหิตสูง ได้รับ การรักษาด้วย ยาเมโธเทรกเซทขนาด 10 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 6 เดือน โดยไม่ได้รับ ยาโฟลิกมาก่อน ต่อมามีอาการเลือดออกง่าย จ้ำเลือดตามตัว แผลที่ปาก ถ่ายดำและซีด 1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาลได้รับ การตรวจเพิ่มเติมพบว่า มีภาวะเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ (pancytopenia) เบื้องต้นสงสัยว่า อาจเป็นจากภาวะการกดไขกระดูกจากยาเมโธเทรกเซท จึงได้เจาะระดับยาเมโธเทรกเซทในเลือด พบว่า มีค่า&lt;0.02 µmol/L เมื่อทำการตรวจไขกระดูกเพิ่มเติม พบลักษณะคล้ายภาวะมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ภายหลังการหยุดยาเมโธเทรกเซทและได้รับการรักษาด้วยลิวโคโวรินและโฟลิกเพียง 2 สัปดาห์ พบว่า ผลเลือดผู้ป่วยตอบสนองดีสามารถหยุดการให้เลือดได้ และผลการตรวจโครโมโซมพบผลปกติ จึงให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกดไขกระดูกจากยาเมโธเทรกเซท หลังหยุดยาเมโธเทรกเซทแล้ว ได้ติดตาม ผู้ป่วยต่อเนื่องก็ไม่พบว่าเกิดภาวะการกดไขกระดูกอีก</p> จักรภพ พงษ์สุวรรณ์ มนทกานต์ อิทธิอมรเลิศ ณิชกานต์ ศิริชุมพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 63 71 การรักษาคลองรากฟันในฟันกรามบนซ้ายซี่ที่สองที่มีลักษณะทอโรดอนทิสซึม : รายงานผู้ป่วย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/261892 <p> ทอโรดอนทิสซึม เป็นฟันที่มีความแปรปรวนทางกายวิภาค และสัณฐานวิทยาของรูปร่างฟัน ที่ตัวฟันยาว และรากฟันสั้นลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เยื่อบุผิวหุ้มรากเฮิร์ตวิกไม่หวำตัวเข้าไปในระดับที่เหมาะสมในกระบวนการสร้างฟัน ส่งผลให้โพรงเนื้อเยื่อในมีขนาดใหญ่ และง่ามรากฟันอยู่ค่อนไปทางปลายราก การรักษาคลองรากฟันในฟันทอโรดอนทิสซึมเป็นความท้าทาย เนื่องจากรูเปิดคลองรากฟันอยู่ต่ำไปทางปลายรากฟัน ต้องใช้เครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วยระบุตำแหน่งรูเปิดคลองรากฟันได้ครบ โดยการใช้อัลตราโซนิกส์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และมีการจัดการพิเศษในการขยายคลองรากฟัน และอุดคลองรากฟัน รายงานผู้ป่วยนี้แสดงถึงการรักษาคลองรากฟันในฟันกรามบนซ้ายซี่ที่สองที่มีลักษณะทอโรดอนทิสซึม</p> จิติมา เอื้อรัตนวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 72 80 "4Ts Plus Model" Lower uterine segment bleeding สาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอดที่ไม่ควรมองข้าม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/263206 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นปัญหารุนแรงที่อาจทำให้มารดาหลังคลอดเสียชีวิต ถึงแม้ว่าในช่วงศตวรรษ</p> <p>ที่ผ่านมาการดูแลรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage: PPH) จะสามารถดำเนินการได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่กลับพบว่า อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว (atonic PPH) กลับเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการศึกษาพบว่า ภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกส่วนล่างไม่หดรัดตัว (lower uterine segment atony : LUSA) เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกบาง เป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อมดลูกขาดออกซิเจน (hypoxic uterine atony) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการศึกษาการนำหัตถการกดมดลูกส่วนล่าง (lower uterine segment compression : LUSC) มาป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกส่วนล่างไม่หดรัดตัว</p> <p> จากเดิมที่มีการใช้ตัวย่อ 4Ts ในการจำแนกสาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอด แต่เนื่องจากยังไม่ครอบคลุมสาเหตุทั้งหมด ผู้นิพนธ์จึงได้แสดงรูปแบบสาเหตุการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็น 4Ts Plus Model มีการแยก uterine atony เป็น 2 แบบ คือ flaccid uterine atony และ hypoxic uterine atony ซึ่งหัตถการกดมดลูกส่วนล่างจะสามารถป้องกันและลดอัตราภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ ร้อยละ 56.5 - 81.3 ขึ้นกับระยะเวลาของการกดมดลูกส่วนล่าง</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>การค้นพบว่า ภาวะมดลูกส่วนล่างไม่หดรัดตัว (LUSA) เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะตกเลือดหลังคลอด การพัฒนารูปแบบ 4Ts Plus Model และการใช้หัตถการกดมดลูกส่วนล่าง (LUSC) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเป็น การเพิ่มทางเลือกใหม่ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งจะส่งผลให้สามารถ ลดอัตราการเสียชีวิตมารดาหลังคลอดได้ทั่วโลก</p> วันชัย จันทราพิทักษ์ วิสุทธิ์ อนันตสกุลวัฒน์ สุกิจ ศรีทิพยวรรณ สงวน โล่ห์จินดารัตน์ สาวิตรี สุวิกรม เรณู วัฒนเหลืองอรุณ Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 7 20 การดูแลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศแบบองค์รวมโดยคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Pride Clinic) ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/266891 <p>การดูแลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศแบบองค์รวมโดยคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย (BKK Pride Clinic) ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์</p> กันตพัฒน์ ราชไชยา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 1 6 การศึกษาประสิทธิผลจากการใส่อุปกรณ์เสริมเข่าหลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/260343 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และพิสัยมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าระหว่างกลุ่มที่ใส่และไม่ใส่อุปกรณ์เสริมข้อเข่าหลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong><strong>: </strong>ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดส่องกล้องเอ็นไขว้หน้า ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์และเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 31 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐาน ผลการทดสอบ</p> <p>ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา พิสัยมุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่าหลังการผ่าตัด 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ และสถิติเชิงวิเคราะห์ คือ independent t-test หรือ Mann-whitney U-test statistic chi-square test และ Fisher exact test</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 46 ราย เป็นเพศชาย 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.3 และเพศหญิง 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.7 แบ่งเป็นกลุ่มละ 23 รายที่ใส่และไม่ใส่อุปกรณ์เสริมข้อเข่า พบว่า มัธยฐานและพิสัยควอไทล์มุมการเคลื่อนไหวท่าเหยียดเข่าของ (median(IQR) ใส่ 1(0,5), ไม่ใส่ 1(0,3) องศา) ท่างอเข่า (median(IQR) ใส่ 130(125,132), ไม่ใส่ 131(129,135) องศา) ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ใส่ 105.16±29.15 และ ไม่ใส่ 106.37±45.75 นิวตัน-เมตร ด้านหลัง ใส่ 63.86±16.21 และ ไม่ใส่ 60.51±21.99 นิวตัน-เมตร และอัตราส่วนความแข็งแรงของต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลัง ใส่ 63.49±17.78 เปอร์เซ็นต์ และ ไม่ใส่ 60.26±16.68 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างกลุ่มใส่อุปกรณ์เสริมเข่าและกลุ่มที่ไม่ใส่อุปกรณ์เสริมเข่าไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป :</strong> การใส่หรือไม่ใส่อุปกรณ์เสริมข้อเข่าหลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าไม่ส่งผลต่อพิสัยมุมการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยทั้งสองกลุ่มมีผลการรักษาที่ไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้และให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัดได้ แต่ควรคำนึงถึงปัจจัยภายนอกร่วมด้วย เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว การรักษา ความแตกต่างของอุปกรณ์ การใช้งานอุปกรณ์ และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำร่วมด้วย</p> ภราดร ว่องวิกย์การ ธนกร แสนอุ่น Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 21 34 ผลการใช้สมการของ เพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์และคณะในการทำนายค่า 24 ชั่วโมง uptake ของต่อมไทรอยด์ และ ในการทำนายค่ารังสีไอโอดีนที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย Graves’disease สำหรับการรักษาครั้งแรกและครั้งที่สอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257016 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>การทำ Radioactive Iodine Uptake (RAIU) ของต่อมไทรอยด์ ใช้คำนวณหาปริมาณรังสีที่ใช้รักษาโรค Graves’ disease ค่า RAIU มาตรฐานที่ใช้ คือ ที่ 24 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องมาโรงพยาบาล 2 วัน สมการของนางเพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์ ใช้ค่า RAIU ที่ 3 ชั่วโมง ทำนายค่า RAIU ที่ 24 ชั่วโมงได้ ซึ่งจะลดเวลาการมาตรวจที่โรงพยาบาลเหลือ 1 วัน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสีที่ใช้การทำนายค่า RAIU ที่ 24 ชั่วโมงจากสมการของนางเพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์กับปริมาณรังสีที่คำนวณจากค่าจริง ทำการศึกษาทั้งการรักษาครั้งที่หนึ่งและสองในผู้ป่วย Graves’ disease</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong>: ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วย Graves’ disease ที่เคยทำ thyroid uptake และรักษาด้วยรังสีไอโอดีนแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่รักษาครั้งที่หนึ่งและกลุ่มที่รักษาครั้งที่สอง แต่ละกลุ่มนำมาทำนายค่า 24 ชั่วโมง RAIU โดยใช้สมการของนางเพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์ สมการ คือ ค่าทำนาย 24 ชั่วโมง RAIU = 32.5 + (0.702 × ค่า RAIU ที่ 3 ชั่วโมง) จากนั้นคำนวณหาปริมาณรังสีที่ใช้รักษา เปรียบเทียบค่าปริมาณรังสีที่ได้จากการใช้ค่าจริง (TD) กับปริมาณรังสีที่ใช้ค่าทำนาย (PTD)</p> <p><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>:</strong> จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาครั้งแรก 92 ราย และครั้งที่สอง 36 ราย ในการรักษาครั้งแรก ค่าความสัมพันธ์ (r) ระหว่างค่า 24 ชั่วโมง RAIU (24U) กับ ค่าทำนาย 24 ชั่วโมง RAIU (P24U) เท่ากับ 0.902 และในการรักษาครั้งที่สองเท่ากับ 0.806 ปริมาณรังสีที่ใช้ในการักษาครั้งแรกพบว่า ค่าเฉลี่ยของ TD และ PTD เท่ากับ 7.38 และ 7.06 มิลลิคูรี่ ตามลำดับ ในการรักษาครั้งที่สอง 6.15 และ 6.01 มิลลิคูรี่ ตามลำดับ ค่า TD และ PTD ในการรักษาครั้งแรกและครั้งที่สองมีค่า r เท่ากับ 0.954 และ 0.953 ตามลำดับ พบว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่าง (mean difference) ระหว่าง TD กับ PTD ที่ใช้ในการรักษาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองน้อยกว่า 1 mCi (-0.32 ถึง -0.5 mCi)</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>:</strong> การใช้ของ เพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์ ทำนายค่า 24U เป็นทางเลือกสำหรับใช้รักษาผู้ป่วย Graves’ disease สามารถใช้ได้สำหรับการรักษาทั้งครั้งแรกและครั้งที่สอง ค่าความแตกต่างโดยเฉลี่ยของทำนายปริมาณรังสีทำนายได้กับค่าจริงต่างกันไม่เกิน 1 มิลลิคูรี่ในทั้งสองกลุ่ม หากมีการนำสมการนี้ไปใช้ในประชากรกลุ่มที่ไม่ใช่คนไทยอื่น ควรมีการทดสอบความสัมพันธ์ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ อีกครั้ง</p> ปิยรัตน์ ภาคลักษณ์ เพ็ญภัทร์ ภิญโญวัฒนศิลป์ บุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 35 48 ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับภาวะน้ำหนักเกินในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/262264 <p><strong>บทนำ </strong><strong>: </strong>ประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้นในปัจจุบัน มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง</p> <p>โรคเบาหวาน และโรคร่วมเรื้อรังที่มาพร้อมกับโรคเบาหวาน คือ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน คำแนะนำ</p> <p>ที่เป็นสากลกำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อาจเป็นได้ทั้งการปรับเปลี่ยนที่เป็นอิสระหรือมี</p> <p>การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมาร่วมด้วย การศึกษานี้ต้องการศึกษาว่าโปรแกรม</p> <p>ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์มีประสิทธิผลเป็นอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน</p> <p>กลุ่มผู้สูงอายุ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อการควบคุม</p> <p>ระดับน้ำตาลสะสม ค่าดัชนีมวลกาย ระหว่างกลุ่มที่เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกลุ่มที่</p> <p>รักษาตามมาตรฐาน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน</p> <p>สำหรับงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบแมน-วิทนียู และสถิติทดสอบ</p> <p>ไคสแควร์ ทดสอบความแตกต่างของคะแนนในกลุ่มด้วยสถิติทดสอบฟรีดแมน สำหรับความแตกต่าง</p> <p>ของคะแนน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองใช้สถิติทดสอบฟรีดแมน </p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>: จากการทบทวนข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 500 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม</p> <p>ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 250 คน และกลุ่มที่รักษาตามมาตรฐาน 250 คน เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมครบ </p> <p>6 เดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีการลดลงของดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)</p> <p>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) และเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มแล้วพบมีความแตกต่างกันอย่างมี</p> <p>นัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.001)</p> <p><strong>สรุป </strong>: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถลดค่าดัชนีมวลกาย และค่าระดับน้ำตาลสะสมใน</p> <p>เลือด (HbA1c) ได้ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p&lt;0.05 และสามารถลดค่า</p> <p>ดัชนีมวลกายและน้ำตาลสะสมในเลือดให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้มากกว่ากลุ่มที่รักษาตามมาตรฐานอย่าง</p> <p>มีนัยสำคัญทางสถิติ p&lt;0.05</p> ธนกร จงเจษฎ์ วิไลลักษณ์ ทีปประสาน ภูริทัต แสงทองพานิชกุล Copyright (c) 2023 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-25 2023-12-25 19 2 49 62