วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP <p>วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์เป็นวารสารการแพทย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีการพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผลแพร่ผลงานวิจัยรายงานการสำรวจทางระบาดวิทยา รายงานผู้ป่วยและบทความวิชาการทางการแพทย์ รวมทั้งผลงานวิชาการด้านแพทย์ ศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> th-TH mdping143@gmail.com (นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล) pppp.rmckp@gmail.com (นางสาวเพียงพิชญ์ ภู่พงศ์พันธุ์) Wed, 28 Dec 2022 10:50:10 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจจากโรคโควิด 19 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/258038 <p><strong>บทนำ</strong>: ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด 19 จำนวนมาก มีอาการหลงเหลือหรือเกิดอาการขึ้นใหม่ อาการที่เกิดขึ้นพบได้หลากหลายเกิดขึ้นได้ในระบบการทำงานต่าง ๆของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติด้านปริชานและอารมณ์ ผู้ป่วยสามารถมีได้หลายอาการ เรียกอาการเหล่านี้ว่า ภาวะ Long COVID ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน บั่นทอนคุณภาพชีวิต ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ตามเดิม ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนในระบบการหายใจในระยะยาวของโรคโควิด 19 ได้แก่ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด และปอดเป็นพังผืด ภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจจากโรคโควิด 19 คาดว่า จะมีความสำคัญในทางสาธารณสุขมากขึ้น เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยโควิด 19 ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของโรค และการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID อย่างเป็นองค์รวมเป็นจึงสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ที่มีในปัจจุบันของภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจ ในด้านระบาดวิทยา พยาธิวิทยา การดูแลรักษา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID และภาวะแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบการหายใจ</p> <p><strong>วิธีการดำเนินการศึกษา</strong>: ทบทวนวรรณกรรม</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ภาวะ Long COVID เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากหายจากโรคโควิด19 พบระยะเวลาที่เกิดอาการตั้งแต่ 1 ถึง 3 เดือนหลังจากการติดเชื้อ อุบัติการณ์ตั้งแต่ร้อยละ 11-93 แตกต่างกันไปตามนิยาม และระยะเวลาของแต่ละการศึกษา อาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีอาการได้มากกว่า 1 อาการ ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไอ เวียนศีรษะ ปริชานบกพร่อง วิตกกังวล นอนไม่หลับ โดยอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการที่หลงเหลือหลังหายจากโรคโควิด19 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะ Long COVID ได้แก่ เพศหญิง การมีโรคประจำตัวเดิม โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางจิตเวช มีอาการแสดงจากอวัยวะตั้งแต่ 5 อวัยวะขึ้นไปในช่วงเป็นโควิด19 และการนอนโรงพยาบาลช่วงเป็นโควิด19 ปัจจุบันเชื่อว่า พยาธิวิทยาของภาวะ Long COVID เกิดจากการบาดเจ็บของอวัยวะจากการรุกล้ำของไวรัสโควิด19 โดยตรง และการอักเสบของอวัยวะจากภาวะภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นจากการติดเชื้อโควิด 19 ระยะเวลาการดำเนินโรคของภาวะ Long COVID ปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจน การดูแลรักษา Long COVID ประกอบด้วย การวินิจฉัยแยก Long COVIDจากโรคอื่น ๆที่มีอาการคล้ายกันที่ต้องการการรักษาเฉพาะ การใช้ยารักษาตามอาการที่ปรากฏ เช่น อาการปวด นอนไม่หลับ การทำกายภาพบำบัด การให้คำปรึกษาและการรักษาทางจิตเวช สำหรับผู้ป่วยปอดอักเสบจากโควิด19 ควรได้รับการติดตามอาการ และเอกซเรย์ปอดที่ 12 สัปดาห์หลังออกจากโรงพยาบาล ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดในรายที่มีอาการเหนื่อย หรือเอกซเรย์ปอดผิดปกติ รวมทั้งการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดในรายที่สงสัยโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดหรือปอดเป็นพังผืด ควรติดตามอาการ Long COVID ในผู้ป่วยทุกครั้งที่พบแพทย์ส่วนภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวทางระบบการหายใจของโรคโควิด19 ได้แก่ โรคปอดเป็นพังผืด และโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด พบในผู้ป่วยโควิด19 ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ประโยชน์ของยาต่อต้านการเกิดพังผืดในปอดที่ใช้รักษาโรคปอดเป็นพังผืดไม่ทราบสาเหตุในการรักษาโรคปอดเป็นพังผืดจากโควิด19 ยังต้องรอผลจากการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่ ข้อมูลที่แสดงถึงประโยชน์ของการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดแก่ผู้ป่วยโควิด 19 หลังออกจากโรงพยาบาลยังมีไม่มาก แต่สามารถลดการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดในผู้ป่วยบางรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดดำได้</p> <p><strong>สรุป</strong>: ในภาวการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ภาวะ Long COVID จะเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่ถูกบั่นทอนคุณภาพชีวิต และเป็นปัญหาสำคัญในทางสาธารณสุข งานวิจัยที่ค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะ Long COVID มีความสำคัญอย่างมากในด้านพยาธิกำเนิดโรค การดำเนินโรค อุบัติการณ์ที่แม่นยำ การจัดแบ่งกลุ่มอาการ การรักษาด้วยยาและการรักษาที่ไม่ใช้ยา รวมถึงผลจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด 19 ต่อภาวะ Long COVID การพัฒนาระบบการดูแลรักษา Long COVID ที่มุ่งเน้นสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญและท้าทาย</p> พงศกร ค้ำพันธุ์ Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/258038 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะสั้นระหว่างการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองที่ศูนย์เบาหวานกับระบบบริการตามปกติของคลินิกอายุรกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/258330 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้และสนับสนุนการดูแลตนเองของศูนย์เบาหวาน กับกลุ่มที่ได้รับการบริการตามระบบปกติของคลินิกอายุรกรรมทั่วไป</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1C) ≥ 8 % จำนวน 540 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเอง (DSMES) ณ ศูนย์เบาหวานและกลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติของคลินิกอายุรกรรมทั่วไป จำนวนกลุ่มละ 270 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสืบค้นและทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่มารับบริการในคลินิกที่กำหนดช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 31 กันยายน 2562 ใช้ฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ (electronic database)รหัสโรค (ICD10) E11- E19 และ E 149 ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ติดตามผลของระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1C) ไขมันแอลดีแอล (LDL cholesterol) ความดันโลหิต systolic, diastolic และน้ำหนักตัว (BMI) ทุก 3 เดือนจนครบ 12 เดือน และติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนเดือนที่ 12</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของกลุ่มศูนย์เบาหวานภายหลังรับบริการพบว่าเดือนที่ 3 (8.21<u>+</u>1.47 vs 9.41<u>+</u>1.74; p&lt;0.05) เดือนที่ 6 (7.87<u>+</u>1.59 vs 9.38<u>+</u>1.6; p&lt;0.05) เดือนที่ 9 (7.87<u>+</u>1.48 vs 9.34<u>+</u>1.86; p&lt;0.05) และเดือนที่ 12 (8.04<u>+</u>1.74 vs 9.13<u>+</u>1.76; p&lt;0.05) ต่ำกว่ากลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและหลังการรับบริการกลุ่มศูนย์เบาหวานมีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไป 1.67 % (2.5 % vs 0.83%) ส่วนระดับ LDL cholesterol ความดันโลหิตsystolic, diastolic และดัชนีมวลกาย (BMI) หลังการรับบริการเดือนที่ 3, 6, 9 และ 12 ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานในเดือนที่ 12 ระหว่างกลุ่มศูนย์เบาหวานและกลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไปพบว่า กลุ่มศูนย์เบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา (24.4 % vs 35.6%; p&lt;0.05) ทางไต (24.4 % vs 46.3%; p&lt;0.05) และหลอดเลือดหัวใจ (10.7% vs 17.8%; p&lt;0.05) น้อยกว่ากลุ่มคลินิก อายุรกรรมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ไม่พบความแตกต่างของการเกิดแผลที่เท้าของทั้งสองกลุ่ม</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานมีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลสะสมและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง จึงควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับ DSMES ทุกรายเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต</p> จารุภัณฑ์ กุลเสถียร, ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/258330 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700 คุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257397 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาคุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยศึกษาความถูกต้อง และความสอดคล้องของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิด (underlying cause of death) ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) กับใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) และความถูกต้องของการให้รหัส (coding) สาเหตุการตายใน ทร.4/1 และใน discharge summary</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวมรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับไว้รักษาในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวนทั้งหมด 382 ราย จาก ทร.4/1จำนวน 382 รายและ discharge summary จำนวน 91 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และสถิติ Kappa</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) สรุปถูกต้องมากกว่าในใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary)โดยถูกต้องร้อยละ 76.4 และไม่ถูกต้องร้อยละ 23.56 แต่ใน discharge summaryถูกต้องร้อยละ 48.35 และไม่ถูกต้องร้อยละ 51.65 ส่วนใหญ่สรุปไม่ถูกต้อง คือ สรุปสาเหตุการตายไม่มีการติดเชื้อ (infection) ตามกฎการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด แต่ถูกสรุปสาเหตุการตายเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า สรุปสอดคล้องกันร้อยละ 60.44 ค่าสถิติ Kappa เท่ากับ 0.49 (ความสอดคล้องระดับปานกลาง) และการให้รหัสสาเหตุการตายในทร.4/1 ถูกต้อง ร้อยละ 99.48 ใน discharge summary ถูกต้องร้อยละ 99.15</p> <p><strong>สรุป:</strong> การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) และในใบสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) พบว่า ส่วนใหญ่ยังสรุปไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ของการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด หน่วยงานควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการสรุปสาเหตุการตายให้แก่บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้การสรุปการตายของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> <p> </p> ศศิรา วรรณสถิตย์, สุกัญญา จงถาวรสถิตย์, พรณรงค์ โชติวรรณ, ไชยสิทธิ์ วชิรดิลก Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257397 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกของแพทย์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257414 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการระบบสารสนเทศ และนำไปพัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึก เวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ รวมทั้งการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) เก็บรวบรวมข้อมูล ความต้องการระบบสารสนเทศด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) จำนวน 5 คน และพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรพัฒนาระบบ (Systems Development Life Cycle : SDLC) โดยพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษา PHP และออกแบบฐานข้อมูลด้วย MySQL หลังจากนั้นทำการติดตั้ง ทดสอบระบบสารสนเทศ และประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน จำนวน 95 คน แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) คุณภาพระบบสารสนเทศ (system quality) 2) คุณภาพสารสนเทศ (information quality) 3) คุณภาพการให้บริการ (service quality) และ 4) ประโยชน์ที่ได้รับ (net benefit) วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้ใช้งานมีความต้องการระบบสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลหรือสารสนเทศที่บันทึกโดยแพทย์และพยาบาลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ทันที ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ระบบสารสนเทศเดิมและพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ โดยกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มแพทย์/พยาบาล 2) กลุ่มสหวิชาชีพ และ 3) ผู้ดูแลระบบ พร้อมทั้งออกแบบหน้าจอแสดงผลใหม่ และเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศหลักโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) จากนั้นได้ดำเนินการทดสอบระบบดังกล่าว และประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมาก ( = 4.04, SD = 0.562) นั่นคือ ผู้ใช้งานสามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลได้รวดเร็ว และมีการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบได้อย่างถูกต้อง ระบบสามารถค้นหาและแสดงผลได้ถูกต้องและครบถ้วน หน้าจอแสดงผลใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน โดยแถบเมนูแยกตามแถบข้อมูลและอยู่ในหน้าจอเดียวกัน รวมทั้งผู้ใช้งานระบบสารสนเทศได้รับการช่วยเหลือเมื่อพบปัญหาจากการใช้งานด้วยความเต็มใจ</p> <p><strong>สรุป: </strong>ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบ ทำให้ช่วยค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอน ในการค้นหาข้อมูล สะดวกรวดเร็ว และสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ ในอนาคตควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพิ่มเติม โดยเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ของโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนการให้บริการที่รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง</p> <p> </p> กุลฉัตร ยงยืนนาน, ฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย, อุดมสิทธิ์ จีรสิทธิ์กุล Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257414 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257941 <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียน และเพื่อศึกษาความต้องการในการใช้ข้อมูลในเวชระเบียนที่มีผลต่อกระบวนการรับบริการ การดำเนินการด้านข้อมูลเวชสถิติ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการของผู้ป่วยเด็กเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research)โดยศึกษากับบุคลากรด้านเวชระเบียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยกุมารเวชกรรม แพทย์ พยาบาลและสหวิชาชีพด้านการแพทย์ที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 91 คน โดยใช้แบบสอบถามและใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นหัวหน้างานหรือผู้แทนด้านเวชระเบียน เวชสถิติและเวชสารสนเทศ จำนวน 10 คน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ระดับปัญหาและความต้องการในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็ก โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหา พบว่า ปัญหาด้านการดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้ป่วยเด็กอยู่ในระดับมาก (x̄=3.73, SD=0.698) รองลงมา คือ ปัญหาด้าน การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการ (x̄=3.60, SD=0.715)ด้านการดำเนินการด้านข้อมูลเวชสถิติ (x̄=3.57, SD=0.753) ด้านความล่าช้าในการจัดทำเวชระเบียนผู้ป่วยเด็ก (x̄=3.54 SD=0.860) และด้านเวชระเบียนในกระบวนการรับบริการ (x̄=3.52, SD=0.751) ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ พบว่า ด้านการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินการด้านข้อมูลและการบริการสูงที่สุด (x̄=4.05, SD=0.557) รองลงมา คือ ความต้องการด้านข้อมูลเวชสถิติ (x̄=4.02, SD=0.588) และความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=3.98, SD=0.478) และด้านเวชระเบียนในกระบวนการรับบริการ (x̄=3.97, SD=0.657) ตามลำดับ ส่วนแนวทางที่สำคัญจากการศึกษา คือ การพัฒนาด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนา จัดหาซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูลสารสนเทศในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p><strong>สรุป:</strong> การพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็กพบปัญหาที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนา คือความไม่เพียงพอของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการใช้งาน ความไม่เพียงพอของบุคลากรด้านสารสนเทศเพื่อสนับสนุนผู้ใช้งานส่งผลกระทบต่อการให้บริการเกิดความล่าช้า บุคลากรด้านเวชสถิติไม่เพียงพอ ส่วนความต้องการในการพัฒนา คือ จำนวนบุคลากรที่เพียงพอต่อการให้บริการเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ ความเพียงพอต่อการใช้งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน และศักยภาพของบุคลากรให้เกิดความรวดเร็ว จากปัญหาและความต้องการทำให้เกิดแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเวชสารสนเทศผู้ป่วยเด็กในการให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และเครื่องมือในระบบสารสนเทศและปรับปรุงระบบโปรแกรมที่ตอบสนองต่อการใช้งานในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) ที่จะต้องมีการวางแผนการปรับปรุงโปรแกรมให้มีความทันสมัย (update) พร้อมทั้งพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> จิติภา ลิ่มมั่น, แสงเทียน อยู่เถา Copyright (c) 2022 วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/257941 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700 การพัฒนาห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นห้องปฏิบัติการกลางของ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในการให้บริการตรวจวินิจฉัย ตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยเทคนิค real time RT-PCR https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/260472 <p>การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ได้เริ่มขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2562 และประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ตั้งชื่อโรคของการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ชนิดนี้ว่า โควิด-19 (COVID-19) และต่อมาได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2563 ซึ่งอาการของโรคโควิด-19 จะพบได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่แสดงอาการจนถึงระบบการหายใจล้มเหลว โดยที่ความรุนแรงของโรคจะสัมพันธ์กับโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น และอัตราการเสียชีวิตจะสูงในผู้ป่วยที่อ่อนแอ และสูงอายุ<sup>1</sup></p> กิจภรณ์ โฆธิพันธุ์ Copyright (c) 2565 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/260472 Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700