TY - JOUR AU - ศรีสุบัติ , อรรถสิทธิ์ AU - ธนะสิทธิชัย, สมชาย PY - 2019/12/30 Y2 - 2024/03/28 TI - กัญชากับการแพทย์แผนปัจจุบัน JF - Journal of The Department of Medical Services JA - J DMS VL - 44 IS - 6 SE - Featured Article DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/244745 SP - 5-8 AB - <p>พืชกัญชาใช้เป็นสมุนไพรโดยนำไปเป็นส่วนประกอบของยาแผนไทยมาตั้งแต่อดีตกาล กัญชาเมื่อผ่านการสกัดเรียกว่า“ยาที่พัฒนาจากสมุนไพร”ซึ่งเป็นลักษณะของใช้ในการแพทย์แผนปัจจุบัน สารประกอบที่ได้จากการสกัดกัญชาที่สำคัญคือสารในกลุ่ม cannabinoids ในกัญชาเรียกว่า “phytocannabi-noid”ซึ่งมีสารหลายชนิดที่ออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่สำคัญ คือ THC (delta-9-tetrahydrocannabinol)และ CBD (cannabidiol) โดย THC ออกฤทธิ์โดยจับกับ CB และ CB receptor ในระบบประสาท มีฤทธิ์ลดอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน กระตุ้นความอยากอาหาร แต่มีข้อพึงระวังคือ THC อาจทำให้เกิดผลต่อจิตประสาท ส่วน CBD ไม่จับกับ CB receptor จึงไม่ทำให้เกิดอาการทางจิต CBD มีฤทธิ์ต้านอาการปวด ต้านการอักเสบ ต้านอาการชัก ลดอาการเกร็ง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มีสาระสำคัญในการผ่อนปรนให้นำกัญชาซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ซึ่งการสั่งใช้ให้กับผู้ป่วยต้องผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมที่ผ่านการอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์และได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา</p> ER -