TY - JOUR AU - Pohka K, PY - 2021/01/04 Y2 - 2024/03/29 TI - Guidelines for the Prevention and Treatment of Withdrawal Syndrome from Opioid Analgesics and Benzodiazepine in Pediatric Intensive Care Patients JF - Journal of The Department of Medical Services JA - J DMS VL - 45 IS - 3 SE - Refresher Course DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/248652 SP - 135-144 AB - <p>ผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตมักมีความปวดทั้งจาก ตัวโรคและหัตถการต่างๆ การให้ยาระงับปวด (analgesic drug) และยาทำให้สงบ (sedative drug) ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยจึงมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถลดความปวดและทำให้ผู้ป่วยร่วมมือในการ รักษามากขึ้น โดยข้อบ่งชี้ในการใช้ยาระงับปวดและยาทำให้สงบใน ผู้ป่วยเด็กวิกฤต ได้แก่ ใช้ระงับอาการปวดที่เกิดจากโรคหรือหัตถการ ที่ทำให้เกิดความปวด ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจเข้ากับเครื่องช่วย หายใจ ลดการให้ออกซิเจนและช่วยการขับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ (amnesia) ในช่วงที่ได้รับยา ในหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตพบกลุ่มอาการขาดยาได้บ่อยเมื่อให้ยา แก้ปวดกลุ่ม opioid และ ยาทาให้สงบกลุ่ม benzodiazepine (BZD) หยดต่อเนื่องทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน โดยพบว่า มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ให้ยาและขนาดยาสะสม (total cumulative dose) มีการศึกษาพบว่าเกิดขึ้นได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อ ให้ยา fentanyl เป็นระยะเวลา 5 วันหรือขนาดยาสะสม 1.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและเกิดขึ้นได้ร้อยละ 100 เมื่อให้ยามากกว่า 9 วันหรือขนาดยาสะสม 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม2 สำหรับในหอผู้ป่วย เด็กวิกฤต ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 จะได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม opioid และยาทำให้สงบกลุ่ม benzodiazepine (BZD) เป็นระยะเวลา มากกว่า 5-10 วันและขนาดยาสะสมมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โอกาสการเกิดภาวะถอนยาจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เกือบร้อยละ 100 โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ มือสั่น ขนลุก หาวบ่อยๆ รับอาหารหรือนมไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย แนวทางการป้องกันและรักษาภาวะถอนยาแก้ปวดกลุ่ม opioid และยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ในผู้ป่วยเด็กวิกฤต เหงื่อออก อย่างไรก็ตามแม้ภาวะถอนยาแม้ไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ควรให้การรักษาเพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย</p> ER -