@article{บุญสวยขวัญ_กลับรอด_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียรใหญ่}, volume={2}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/257418}, abstractNote={<p>     การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระยะเวลาการมารับบริการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่มารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียรใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่สามารถให้ข้อมูลได้ จำนวน 86 ราย เครื่องมือที่ใช้แบบเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์และค้นหาข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Spearman rank correlation coefficient</p> <p>     ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันมาถึงงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียรใหญ่ ทันเวลา ร้อยละ 61.63 โดยค่าเวลาเฉลี่ยที่มาถึงโรงพยาบาลหลังจากเริ่มมีอาการเตือน เท่ากับ 231.95 นาที (<em>S.D.</em>= 280.70) และปัจจัยการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางลบต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน (r= -0.253) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว สิทธิการรักษา สถานที่และเวลาเกิดอาการ บุคคลที่อยู่ด้วยขณะเกิดอาการ อาการที่เป็น วิธีการนำส่ง ระยะทางจากบ้านมาโรงพยาบาล และการรับรู้เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน</p> <p>     จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองให้ตระหนักและเฝ้าระวังอาการฉุกเฉินและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันเวลาเพื่อลดความรุนแรงของโรคและลดความพิการ</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา}, author={บุญสวยขวัญ วรรณา and กลับรอด อมรรัตน์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={61–75} }