@article{ทองรัตน์_ประดับพจน์_ขนอม_2023, place={Bangkok, Thailand}, title={ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช}, volume={3}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/261050}, abstractNote={<p>     การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการให้บริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลพรหมคีรี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพรหมคีรี ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2565 เฉลี่ยต่อเดือน 334 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากใช้โปรแกรม G*Power จำนวน 160 คน เป็นผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพรหมคีรี ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากผู้ป่วยและญาติในช่วงเวลาที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล 2) ความพึงพอใจต่อการให้บริการ และ<br />3) ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ<br />ไคสแควร</p> <p>     ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาล พรหมคีรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.13, <em>S.D.</em>= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมการบริการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากมาจาก 2 ส่วน คือ การบริการของเจ้าหน้าที่ (M= 4.26, <em>S.D.</em>= 0.57) และการบริการทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ (M= 4.26, <em>S.D.</em>= 0.51) รองลงมาคือ ด้านการให้บริการของแพทย์อยู่ในระดับมาก (M= 4.15, <em>S.D.</em>= 0.54) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทผู้รับบริการ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่มากที่สุด คือ อาคารห้องพักผู้ป่วยสามัญและห้องพิเศษไม่เพียงพอ รองลงมาคือ สถานที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไม่เพียงพอ และห้องน้ำ ห้องอาบน้ำมี<br />ไม่เพียงพอและไม่สะอาด ตามลำดับ</p> <p>     ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลควรพิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้มีความพร้อมต่อการให้บริการและด้านสถานที่ โดยเฉพาะด้านอาคารห้องพักผู้ป่วย ห้องน้ำ และสถานที่จอดรถ</p>}, number={1}, journal={วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา}, author={ทองรัตน์ ณัฏฐกานต์ and ประดับพจน์ เกสราวรรณ and ขนอม สุมลรัตน์}, year={2023}, month={มี.ค.}, pages={69–83} }