TY - JOUR AU - เขื่อนแก้ว, วาริน PY - 2021/04/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา JF - วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา JA - J Health Sci Ped VL - 1 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/247386 SP - 30-44 AB - <p>     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ อสม. และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยปัจจัยสนับสนุนในการป้องกันและควบคุมวัณโรคกับการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันและควบคุมวัณโรคอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ประชากรที่ศึกษาเป็น อสม. ที่มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน 2,461 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 243 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ทดสอบค่าความเที่ยง KR-20 ด้านของความรู้ เท่ากับ 0.866 และในด้านการมีส่วนร่วมของ อสม. ได้ค่าความเที่ยงโดยใช้ Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้<br />ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์</p><p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของความรู้เกี่ยวกับวัณโรคของ อสม. อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 46.50 (M= 9.6, <em>S.D.</em>= 1.78) ได้รับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากบุคลากรทางการแพทย์ และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การมีส่วนร่วมของ อสม.ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับสนับสนุนงบประมาณ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญ<br />ทางสถิติที่ระดับ 0.05  </p><p>       ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การสร้างขวัญกำลังใจให้ อสม. ให้มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น และสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคอย่างยั่งยืนต่อไป</p> ER -