TY - JOUR AU - ประพฤติดี, มัตติกา PY - 2021/04/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช JF - วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา JA - J Health Sci Ped VL - 1 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/249365 SP - 16-29 AB - <p>     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยกระบวนการ PDCA นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในคลังเวชภัณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศึกษาและเปรียบเทียบมูลค่าการเบิกยาและเวชภัณฑ์ และศึกษาและเปรียบเทียบมูลค่ายาและเวชภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ก่อนและหลังการดำเนินงานพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในคลังเวชภัณฑ์ รพ.สต. อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ รพ.สต. ในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 6 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบบันทึกตามมาตรฐานงานคลังเวชภัณฑ์ คือ แบบบันทึกการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ และแบบบันทึกรายการยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์มูลค่า และเปรียบเทียบมูลค่ายาและเวชภัณฑ์ด้วยมูลค่าต้นทุนซึ่งมีหน่วยเป็นสกุลเงินบาท</p><p>     ผลการวิจัย พบว่า แนวทางพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในคลังเวชภัณฑ์ รพ.สต. ประกอบด้วย<br />1) แนวทางการขนส่งยาโดยโรงพยาบาลเป็นผู้นำส่งเดือนละ 1 ครั้ง 2) การบริหารคลังเวชภัณฑ์โดยการแยกประเภทด้วยการจัดทำป้ายชื่อยาและเวชภัณฑ์โดยใช้สีกำหนดประเภท และการจัดทำปริมาณการใช้สูงสุดและปริมาณการใช้ต่ำสุดต่อเดือน 3) การจัดห้องจ่ายยาและระบบการเบิกยาจากคลังเวชภัณฑ์ 4) การใช้ใบเบิกยาและเวชภัณฑ์ที่มีปริมาณการใช้สูงสุดและปริมาณการใช้ต่ำสุดต่อเดือน และ 5) การบริหารยาและเวชภัณฑ์ไม่ให้เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ผลจากการดำเนินการพัฒนางาน พบว่า ในปีงบประมาณ 2563 พบว่า มูลค่า การเบิกยารวมลดลงเป็นเงินจำนวน 775,553.00 บาท (ร้อยละ 55.79) และมีความสม่ำเสมอในการเบิกยาเป็นประจำทุกเดือน และมูลค่าการเบิกเวชภัณฑ์ลดลงเป็นเงินจำนวน 3,402.10 บาท (ร้อยละ 9.63) สำหรับมูลค่ายาและเวชภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ พบว่า มูลค่ายาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุลดลงเป็นเงิน<br />จำนวน 56,032.00 บาท (ร้อยละ 65.6) และมูลค่าเวชภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุลดลงเป็นเงิน<br />จำนวน 4,260.00 บาท (ร้อยละ 100)</p><p>          ข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ในคลังเวชภัณฑ์ของ รพ.สต.ทั้งเครือข่าย ควรนำแนวทางการพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน</p> ER -