TY - JOUR AU - รัตนพันธ์, สมพร PY - 2022/03/31 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช JF - วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา JA - J Health Sci Ped VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/255726 SP - 41-54 AB - <p>     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตีตรา<br />ทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ศึกษา คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในอำเภอท่าศาลา จำนวน 303 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0<strong>.</strong>91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ออเดอร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ</p><p>     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และชีวิตวิถีใหม่<br />ด้านการป้องกันโรคโควิด-19 ระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ยความกลัวโรคโควิด-19 และการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับสูง ความกลัวการติดเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.617) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 การศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -0.265 และ r<sub>sp</sub>= -0.174) ความกลัวการติดเชื้อโควิด-19 และความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 สามารถร่วมทำนายการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ร้อยละ 38.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p>     ดังนั้น บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ และ<br />ลดความกลัวการติดเชื้อโควิด 19 ของประชาชน เพื่อป้องกันการตีตราทางสังคมต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข</p> ER -