TY - JOUR AU - ห่อหุ้ม, ทิพย์รัตน์ AU - สุขพิทักษ์, พนิดา PY - 2022/06/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก สำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติ โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช JF - วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา JA - J Health Sci Ped VL - 2 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/257416 SP - 32-45 AB - <p>     การวิจัยดำเนินงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติในหน่วยงานห้องคลอดโรงพยาบาลปากพนัง กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้คลอดปกติที่ได้รับการดูแลตามปกติ ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จำนวน 40 คน และกลุ่มผู้คลอดปกติที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิก ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564  ถึงมกราคม พ.ศ. 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติที่พัฒนาโดยจุฑามาศ บุพสุวรรณ์ พ.ศ. 2551 ดำเนินการศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ ปี ค.ศ. 2002 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ มาตรวัดความเจ็บปวดชนิดที่เป็นตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีชนิด <br />2 กลุ่มอิสระต่อกัน</p><p>     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้คลอดปกติที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิด 4 - 7 และ 8 - 10 เซนติเมตร (M= 6.38, <em>S.D.</em>= 1.60 และ M= 7.20, <em>S.D.</em>= 0.77) น้อยกว่าผู้คลอดปกติที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในระยะปากมดลูกเปิด 4 - 7 และ 8 - 10 เซนติเมตร (M= 7.29, <em>S.D.</em>= 1.29 และ M= 8.28, <em>S.D.</em>= 0.93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> ≤ 0.05) </p><p>     การนำแนวปฏิบัติมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดนั้นมี  ประสิทธิภาพเหมาะสมในห้องคลอดและควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้นำไปปฏิบัติกับผู้คลอดทุกคน</p><p> </p> ER -