https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/issue/feed
วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา
2025-03-14T14:33:09+07:00
อาจารย์วรัญญา จิตรบรรทัด
journal.bcnnakhon@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา รับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข ด้านศิลปะการสอน การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 5-7 บทความ) ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม, ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p>
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/272360
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง
2025-01-02T17:24:38+07:00
รักษพลเดช เสน่หา
raksapondet.sneha@gmail.com
ชวนากร ศรีปรางค์
chavanakorn@scphtrang.ac.th
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในบุคลากรโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของบุคลากรจำแนกตามกลุ่มตำแหน่ง และลักษณะการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และ Multiple Logistic Regression</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 86.34 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคลากรในโรงพยาบาล พบว่า เพศชายมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิงที่จะมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ประมาณ 54 เท่า (95%CI = 11.03 - 266.04) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นลงมาโอกาสเสี่ยงสูงกว่าระดับปริญญาตรีและสูงกว่าที่จะมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ประมาณ 10.07 เท่า (95%CI = 2.12 - 47. 57) รายได้พอดีกับรายจ่ายมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่ารายได้ไม่พอกับรายจ่ายและเป็นหนี้ ประมาณ 3 เท่า (95%CI = 1.101 - 9.25) และการมีเพื่อนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าไม่มีเพื่อนที่สูบบุหรี่ ประมาณ 6 เท่า (95%CI = 1.52 - 24.05) และถ้าบุคลากรโรงพยาบาลมีระดับทัศนคติในภาพรวมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีผลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 12 </p> <p> จากผลการวิจัยพบว่า การแก้ปัญหาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งนี้อาศัยกลวิธีปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ให้แก่บุคลากรที่ยังคงมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ และการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ หรือผลกระทบต่อคนรอบข้างให้แก่บุคลากรที่ยังคงมีพฤติกรรมสูบบุหรี่</p>
2025-03-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/272846
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ของประชาชนในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
2025-01-02T17:39:09+07:00
อัศนี ขำยิ่งเกิด
Sootthikarn@vru.ac.th
พิยดา เมยขุนทด
Sootthikarn@vru.ac.th
ชนพัฒน์ แป้นขำ
Sootthikarn@vru.ac.th
วรรณภา พุขุนทด
Sootthikarn@vru.ac.th
สุทธิกาญจน์ มุงขุนทด
sootthikarn@vru.ac.th
ปัณณทัต ตันธนปัญญากร
Sootthikarn@vru.ac.th
นลพรรณ ขันติกุลานนท์
Sootthikarn@vru.ac.th
ชนินันท์ ประเสริฐไทย
Sootthikarn@vru.ac.th
<p> การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน เป็นประชาชนที่มีอายุ 20 - 59 ปี อาศัยอยู่ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และผ่านการคัดกรองการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อย่างน้อย 1 ชนิด ในช่วง 1 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติ จำนวน 8 สัปดาห์ สองสัปดาห์ต่อครั้ง รวมกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง และติดตามผลการทดลองหลังได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน รวมระยะเวลาการทดลอง 3 เดือน วัดผลการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ภายหลังติดตาม 1 เดือน ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้</span><span style="font-size: 0.875rem;">เกี่ยวกับการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ภายหลังติดตาม 1 เดือน ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติต่อการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ภายหลังติดตาม 1 เดือน ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001)</span></p> <p> ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้และทัศนคติที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงแนวทางการให้คำแนะนำ และการสื่อสารความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาที่ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนของประชาชนในระยะยาว</p>
2025-03-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/273237
ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2025-01-27T14:33:56+07:00
ฉัตรชัย จินวรรณ
m_chai@outlook.com
สิงห์ กาญจนอารี
sing@bcnnakhon.ac.th
<p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีเพื่อศึกษา 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง 2) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 166 คน ได้รับแบบสอบถามกลับ 160 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Spearman Rank Correlation Coefficient</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 3.79, SD= 0.46) โดยด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะการตัดสินใจ และด้านทักษะการจัดการตนเอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 3.78, SD= 0.65; 3.84, 0.68; 3.92, 0.48; 3.78, 0.62; 3.83, 0.60) ตามลำดับ สำหรับด้านการรู้เท่าทันสื่อภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.56, SD= 0.64) ระดับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.55, SD= 0.31) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านทักษะการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์มากที่สุด โดยอยู่ในระดับปานกลาง (r<sub>s</sub>= 0.523) ส่วนด้านอื่นมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านทักษะการสื่อสาร (r<sub>s</sub>= 0.388) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (r<sub>s</sub>= 0.387) ด้านทักษะการตัดสินใจ (r<sub>s</sub>= 0.380) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (r<sub>s</sub>= 0.368) และด้านความรู้ความเข้าใจ (r<sub>s</sub>= 0.338) ตามลำดับ</p> <p>ฉะนั้น บุคลากรสาธารณสุข ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ สามารถจัดการตนเองและประเมินตนเองได้ถูกต้อง เพื่อการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม</p>
2025-04-04T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช