วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP <p>วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา รับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข ด้านศิลปะการสอน การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 5-7 บทความ) ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม, ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช th-TH วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2985-1602 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ&nbsp; วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> ผลของการใช้เครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ SPEC.N Breastfeeding Assessment กับความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่ายในมารดาหลังผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/267212 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้เครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ SPEC.N Breastfeeding Assessment กับความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่าย กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ได้รับการเตรียมผ่าตัดคลอดและพักหลังคลอดที่หอผู้ป่วยพิเศษเฉลิมพระบารมี 3 - 4 โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช จำนวน 30 ราย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้เครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ SPEC.N Breastfeeding Assessment และเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของการให้นม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่ใช้เครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ SPEC.N Breastfeeding Assessment ในระยะแรกรับหลังผ่าตัด หลังผ่าตัดภายใน 8 ชั่วโมง หลังผ่าตัดวันที่ 1 หลังผ่าตัดวันที่ 2 และวันจำหน่าย มีผลประเมินการดูดนม ผ่านร้อยละ 93.33, 96.67, 100.00, 100.00, และ 100.00 ผลประเมินการเข้าเต้าหรือการอุ้มลูกเข้าดูดนม ผ่านร้อยละ 0.00, 36.67, 76.67, 93.33 และ 96.67 ผลประเมินการได้รับนมแม่เพียงพอ ผ่านร้อยละ 0.00, 10.00, 46.67, 70.00 และ 90.00 ผลประเมิน ความสุขสบายของหัวนมและเต้านม ผ่านร้อยละ 96.67, 96.67, 90.00, 96.67 และ 96.67 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยผลการประเมินประสิทธิภาพของการให้นมในระยะแรกรับหลังผ่าตัดและวันจำหน่าย ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.30 (<em>S.D.</em>= 1.09) และ 8.93 (<em>S.D.</em>= 1.34) และร้อยละ 90.00 ของมารดาหลังผ่าตัดคลอด ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเห็นได้ว่า ค่าเฉลี่ยผลการประเมินประสิทธิภาพของการให้นมในวันจำหน่ายสูงกว่าระยะแรกรับหลังผ่าตัด และมารดาหลังผ่าตัดคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่ายสูง แสดงให้เห็นว่า มารดาหลังผ่าตัดคลอด สามารถให้นมแม่ได้อย่างถูกวิธี ทารกได้รับนมเพียงพอ และมารดาไม่มีอาการคัดตึงเต้านมหรือเจ็บหัวนม ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องมือช่วยให้การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตรงประเด็นตั้งแต่แรกรับ และมีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาก็ได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาตามแนวทางการพยาบาลที่เหมาะสม </p> <p> ดังนั้น จึงควรนำเครื่องมือประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ SPEC.N Breastfeeding Assessment ไปใช้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับมารดาหลังผ่าตัดคลอด เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่าย</p> จตุพร เพิ่มพรสกุล ปิยรัตน์ รอดแก้ว Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-13 2024-03-13 4 2 1 14 อิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษา ในโรงพยาบาลพระพรหม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/264661 <p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลพระพรหม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มารับบริการรักษาโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลพระพรหม จำนวน 952 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 153 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.841 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตโดยรวมเท่ากับ 53.88 (<em>SD</em>=4.13) ซึ่งถือว่ามีภาวะสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป ปัจจัยปกป้องที่สามารถทำนายภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ อายุ รายได้ คุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถร่วมทำนายความแปรปรวนของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ร้อยละ 98.50 (R<sup>2</sup>= 0.985, <em>p</em> &lt; 0.001)</p> <p> ข้อเสนอแนะ บุคลากรในทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษา รวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชนและสังคมต่อไป</p> มนัญญา หนูแก้ว Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 15 28 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/264808 <p> การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของ อสม. และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 ของ อสม. ในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 238 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบความเที่ยงตรงมีค่า IOC ระหว่าง 0.67–1.00 มีค่าความเที่ยง KR–20 ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด–19 เท่ากับ 0.72 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ด้านทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด–19 เท่ากับ 0.70 และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 เท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไค–สแควร์ สถิติฟิชเชอร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 80.67 มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด–19 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.48 มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด–19 อยู่ในระดับดี และร้อยละ 90.76 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 อยู่ในระดับเหมาะสม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด–19 คือ จำนวนครั้งที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคโควิด–19</p> <p> ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองทุ่งสง และบุคลากรสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมประชุมอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ และเน้นย้ำการปฏิบัติตนตามมาตรการที่กำหนดในการป้องกันโรคโควิด–19 ให้แก่ อสม. อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคในชุมชนและเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน</p> อารีย์ สุวรรณา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 29 42 ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเทศบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/266411 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยทดลองแบบ One-group Pretest-posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ระหว่างช่วงก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 45 คน ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96 ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา และ Paired sample t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังจากใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบแต่ละด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value&lt; 0.05) ได้แก่ ด้านการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ การประเมินข้อมูลและบริการด้านสุขภาพ การประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การป้องกันการพลัดตกหกล้ม การดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมป้องกันภาวะสมองเสื่อม และพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ของผู้สูงอายุ สำหรับด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพนั้น พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>-value &lt; 0.05)</p> <p> การวิจัยนี้บ่งชี้ว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านสุขภาพนั้นสามารถพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้</p> ภัทรพงษ์ ยิ่งดำนุ่น Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 43 57 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ที่มารับบริการโรงพยาบาลปัตตานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/266559 <p> การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่มารับบริการโรงพยาบาลปัตตานี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทบทวนสถิติย้อนหลัง 5 ปี อัตราการกำเริบซ้ำและศึกษาสภาพปัญหาผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 นำข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบ โดยการระดมสมอง และประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเป็นประโยชน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบโดยการประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 14 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพปัญหาที่พบ คือ 1) พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยญาติไม่สามารถจัดการ 2) แนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ชัดเจน 3) มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อเหตุซ้ำทั้งในครอบครัวและชุมชน 4) การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติและการส่งต่อยังไม่เป็นระบบ และ 5) ขาดการรักษาต่อเนื่อง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. รูปแบบการดูแลป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง คือ SMART Model ประกอบด้วย </span>S: SMI-V, M: Mitigation, A: Admit R: Recovery และ T: Team</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ประสิทธิผลของ SMART Model เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนการประเมินอาการทาง</span>จิตก่อนและหลัง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> SMART Model เป็นรูปแบบที่ครอบคลุมระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในการทำงานร่วมกัน</p> ซารีนา ตะโละ นวรัตน์ ไวชมภู Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 58 70 สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและความรู้ในการจัดการภาวะเร่งด่วน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายการดูแล โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/266875 <p> งานวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และความรู้ในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤตของพยาบาลวิชาชีพ ในเครือข่ายการดูแล โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะและความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 157 คน ได้รับแบบสอบถามกลับ 141 คน (ร้อยละ 89.81) เลือกแบบเจาะจงให้ตอบแบบสอบถามผ่านทางออนไลน์ที่วัดสมรรถนะ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และความรู้ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.74 และความยากง่ายระหว่าง 0.3 - 0.8 มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ Pearson’s and Spearman’s rank correlations, <em>t</em>-test, chi-square, และ ANOVA</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนสมรรถนะในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับเริ่มต้นสู่ความก้าวหน้า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีสมรรถนะรวมที่ระดับ เริ่มต้นสู่ความก้าวหน้า (ร้อยละ 36.17) รองลงมา คือ ระดับมีความสามารถ (ร้อยละ 28.37) ระดับเริ่มปฏิบัติงาน (ร้อยละ 24.11) ระดับคล่องงาน (ร้อยละ 8.51) และระดับเชี่ยวชาญ (ร้อยละ 2.84) มีความรู้ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 58.16) โดยที่ความรู้มีความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะรวม (<em>r</em>= 0.25 - 0.38, <em>p</em> &lt; 0.05) ความรู้และสมรรถนะรวมมีความสัมพันธ์กับกลุ่มระดับสมรรถนะความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (<em>rho</em>= 0.26 และ 0.96 ตามลำดับ, <em>p</em> &lt; 0.05) เคยอบรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีสมรรถนะรวมและความรู้มากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ไม่เคยอบรม (<em>t</em>=3.29 และ 2.64 ตามลำดับ, <em>p</em> &lt;0.05)</p> <p> ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลควรส่งเสริมความรู้ และการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้กับพยาบาลวิชาชีพ และควรจัดให้เหมาะสมกับระดับกลุ่มสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพกลุ่มเริ่มต้นปฏิบัติงาน และเริ่มต้นสู่ความก้าวหน้าที่มีประมาณ 60 % ของพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดในเครือข่ายการดูแล</p> พรพนา รอดทอง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 71 86 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของ สามีต่อพฤติกรรมการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นในชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/265273 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของสามีต่อพฤติกรรมการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของสามี ประกอบด้วย แผนการสอน ภาพพลิก และคู่มือ ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแล้วจึงนำไปใช้ในการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และแบบวัดการสนับสนุนของสามีมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของสามีสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.01) และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของสามีสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.01)</p> <p> จากงานวิจัย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่เน้นการสนับสนุนของสามี บุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับมารดาวัยรุ่น</p> ภาวดี ทองเผือก เพลินตา เรืองสูง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 4 2 87 99