วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP <p>วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา รับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการพยาบาล การสาธารณสุข ด้านศิลปะการสอน การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับละ 5-7 บทความ) ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม, ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ&nbsp; วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> journal.bcnnakhon@gmail.com (อาจารย์วรัญญา จิตรบรรทัด) journal.bcnnakhon@gmail.com (อาจารย์บุญประจักษ์ จันทร์วิน) Fri, 13 Sep 2024 13:23:21 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การให้ปรึกษาเพื่อลดอุบัติการณ์การกลั่นแกล้งในโรงเรียนและผลกระทบต่อนักเรียน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271433 <p> การกลั่นแกล้งจัดเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำของกลุ่มหรือรายบุคคล โดยผู้ที่ถูกกระทำไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ซึ่งเกณฑ์ที่บ่งบอกว่าพฤติกรรมการกลั่นแกล้งนี้เป็นพฤติกรรมก้าวร้าว คือ มีการกระทำซ้ำ ๆ มีการจงใจในการกระทำ และผู้ที่กระทำจะมีอำนาจมากกว่าผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อ ลักษณะของพฤติกรรมกลั่นแกล้ง ได้แก่ การล่วงละเมิดทางร่างกาย วาจา สังคม และทางไซเบอร์ การกลั่นแกล้งนับเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญในวัยรุ่น โดยส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกลั่นแกล้งทั้งการปรับตัวในสังคม อารมณ์วิตกกังวล ความทุกข์ทางจิตใจ การเรียนรู้ รวมถึงความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเอง ในขณะที่ผู้กระทำผิดมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลถึงการมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น บทความเรื่อง “การปรึกษาเพื่อลดอุบัติการณ์การกลั่นแกล้งในโรงเรียนและผลกระทบต่อนักเรียน” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงรูปแบบ สาเหตุ ของการกลั่นแกล้งในโรงเรียน แนวทางการให้การปรึกษาในลักษณะการบูรณาการจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู ครอบครัว บุคลากรทางสุขภาพ เพื่อลดอุบัติการณ์การกลั่นแกล้งและผลกระทบที่มีต่อนักเรียนในโรงเรียน</p> ภาวดี เหมทานนท์; สุทัศน์ เหมทานนท์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271433 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ก่อนการรักษาด้วยไอโอดีน 131 ขนาดสูง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/266563 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ก่อนการรักษาด้วยไอโอดีน 131 ขนาดสูง โรงพยาบาลศูนย์มะเร็งแห่งหนึ่ง ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 – สิงหาคม พ.ศ. 2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ และแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มควบคุม 36 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 36 ราย ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับมะเร็งไทรอยด์และการเตรียมตัว แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนได้รับไอโอดีน 131 ขนาดสูง และแบบประเมินความวิตกกังวล มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.79, 0.82 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองด้วย Wilcoxon Sign Rank test และ Paired t-test เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองด้วย Mann-Whitney U test และ Independent t-test test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้มากกว่าและคะแนนความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าหลังได้รับโปรแกรม 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>= .001) และภายหลังได้รับโปรแกรม 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่า และมีคะแนนความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>= .007, <em>p</em>= .000 และ <em>p</em>= .002 ตามลำดับ)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่ต้องได้รับไอโอดีน 131 ขนาดสูง เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการรักษา ส่งผลให้มีผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ดี และมีความวิตกกังวลลดลง มารับการรักษาได้ตามนัด</p> เยาวภา งามเกลี้ยง, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, รัชนี นามจันทรา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/266563 Fri, 13 Sep 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่มี ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/269269 <p><span style="font-size: 0.875rem;">การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 52 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มทดลองได้โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการดูแลตามปกติ ส่วน</span></p> <p>กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของเฮาร์ ประกอบด้วยการสนับสนุนด้านอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากร และด้านการประเมินค่า แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลใช้มาตรวัดความวิตกกังวลด้วยสายตา มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 0.93 และแบบสอบถามความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันและสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.01) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; 0.01)</p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรใช้โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมเป็นแนวทางในการลดความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด</p> ศิริวรรณ บุตรหิน, วราภรณ์ พันธศรี Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/269269 Fri, 13 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้ ตำบลหนองแวง อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/269230 <p>การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้กรอบแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 106 ราย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 3) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ 4) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน<br />5) แบบสอบถามเกี่ยวกับอิทธิพล สถานการณ์ และ 6) แบบสอบถามเกี่ยวกับอิทธิพลระหว่างบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมสุขภาพเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยา และพฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียด อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ และอิทธิพลระหว่างบุคคล สามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 68.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R<sup>2</sup>= .682, F= 18.923, <em>p</em> &lt; .001) โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายได้สูงสุด (β= .976, <em>p</em> &lt; .001) ปัจจัยรองลงมาคือ การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ (β= .532, <em>p</em> &lt; .001) และอิทธิพลระหว่างบุคคล (β= .309, <em>p</em> &lt; .001) ตามลำดับ</p> <p>ดังนั้น พยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุและบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ และอิทธิพลระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแก่ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน</p> ปองขวัญ โพธิ์ศรี, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/269230 Wed, 18 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/270631 <p> การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรอบรู้ด้านโภชนาการ 2) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 414 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านโภชนาการ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.81 และ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านโภชนาการในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีระดับความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการ การรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการ การสื่อสารด้านโภชนาการ การจัดการตนเองด้านโภชนาการอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 54.10, 41.30, 41.06 และ 40.33 ตามลำดับ การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 39.61 การตัดสินใจด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 50.72 และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ความรอบรู้ด้านโภชนาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับต่ำ (r= 0.31, <em>p </em>&lt; 0.01)</p> <p> ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการ โดยเป็นกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงการพัฒนาสื่อทางโภชนาการ มีช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวก และมีการประเมินติดตามภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีแนวทางในการปฏิบัติ เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมมากขึ้น</p> จิรกานต์ พันธ์ฤทธิ์ดำ, นอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ, วิชชุตา มัคสิงห์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/270631 Tue, 08 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดภูเก็ต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/270724 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Research)&nbsp; ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวน 302 คน ตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต 7 แห่ง คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต โรงพยาบาลป่าตอง โรงพยาบาลถลาง โรงพยาบาลฉลอง&nbsp; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะทู้ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอถลาง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square และ Pearson Product-Moment Correlation</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะหมดไฟระดับสูง (ร้อยละ 29.5) และระดับต่ำ – ปานกลาง&nbsp; (ร้อยละ 70.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในบุคลากรด้านสาธารณสุข จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ อายุ (p-value = 0.035) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ( p-value = 0.043) ตำแหน่งงาน (p-value = 0.007) การสูบบุหรี่ (p-value = 0.025) การดื่มแอลกอฮอล์ (p-value = 0.038) คุณภาพการนอน (p-value = 0.031) ความเครียด (p-value = 0.031) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = -0.202, p-value &lt;0.001) ปัจจัยการทำงาน พบว่า ปริมาณงาน (r = -0.143, p-value = 0.013) ลักษณะงานที่รับผิดชอบ (r = -0.208, p-value &lt; 0.001) นโยบายขององค์กร (r = -0.246, p-value &lt; 0.001) ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม พบว่า ครอบครัว (r = -0.144, p-value = 0.012) เพื่อน (r = - 0.200, p-value &lt; 0.001) คนสำคัญหรือคนพิเศษ (r = -0.157, p-value = 0.006)</p> <p>&nbsp; &nbsp; ดังนั้น ควรจัดโครงการตรวจประเมินสุขภาพจิตในกลุ่มบุคลากรที่มีภาวะหมดไฟในระดับสูง หากพบกลุ่มที่มีโรคทางจิตเวชร่วม ควรส่งต่อเพื่อทำการรักษา ส่วนกลุ่มที่ไม่พบโรคทางจิตเวชร่วม ควรจัดให้มีกิจกรรมหรือรูปแบบการทำงานที่ ลดภาวะหมดไฟต่อไป</p> <p class="Default" style="text-align: justify;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">คำสำคัญ</span></strong><strong><span style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">: </span></strong><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">ภาวะหมดไฟในการทำงาน</span><span style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">, <span lang="TH">บุคลากรสาธารณสุข</span>, <span lang="TH">ภูเก็ต</span></span></p> กรรภิรมย์ สุบรรณ์, มลินี สมภพเจริญ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/270724 Mon, 21 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271281 <p> การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 - 4 ของสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ในภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ปีการศึกษา 2567 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสถาบันการศึกษา เพศ และระดับชั้นปีที่ 1 - 4 ในแต่ละสถาบันการศึกษา และรับสมัครนักศึกษาที่สนใจเป็นอาสาสมัครในการให้ข้อมูลโดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางผู้ประสานงานการวิจัยของแต่ละสถาบัน จนกระทั่งครบตามจำนวน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม 5 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) การเสพติดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) การเปรียบเทียบทางสังคม 4) การเห็นคุณค่าในตนเอง 5) ภาวะซึมเศร้า (9Q) เก็บรวบรวมผ่านระบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Multiple logistic regression</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง มีการเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเปรียบเทียบทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ระดับในน้อย (ร้อยละ 52.67, 53.67 และ 56.00 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่าง<br />มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 13.33 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า การเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์สูง<br />มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า เท่ากับ 2.40 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีพฤติกรรมการเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่ำ (adjOR = 2.40, 95%CI = 1.02 - 5.67) และการเปรียบเทียบทางสังคมสูงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า เท่ากับ 3.71 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีการเปรียบเทียบทางสังคมต่ำ (adjOR = 3.71, 95%CI = 1.53 - 9.00)</p> <p> ดังนั้นอาจารย์และบุคลากรทางสุขภาพควรมีการคัดกรองพฤติกรรมการเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ <br />การเปรียบเทียบทางสังคม และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษา เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และพัฒนารูปแบบการป้องกันพฤติกรรมการ เสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในนักศึกษาพยาบาล</p> นิศารัตน์ นรสิงห์; จีรภา แก้วเขียว Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271281 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลของการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271689 <p> การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการให้ความรู้ และแบบประเมินความรู้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed rank test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>&lt; 0.01)</p> <p> ฉะนั้น ควรมีการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนมีการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> ธนาภรณ์ ดารากัย, ฮัซวานี ดารากัย, วริสรา เสรีรัตน์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/271689 Mon, 18 Nov 2024 00:00:00 +0700