https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/issue/feed วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 2024-04-29T17:45:19+07:00 เภสัชกรสมสุข สัมพันธ์ประทีป suk_ar@yahoo.com Open Journal Systems <p><strong>เป็นวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ใช้เป็นสื่อกลางและเป็นเวทีทางวิชาการ ในการเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิชาการ บทเรียนการทำงาน เกร็ดกฎหมาย เรื่องเล่าชาวฟาร์ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด สถานพยาบาล สถานบริการด้านสุขภาพ และด้านการแพทย์ ของนักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน รับตีพิมพ์บทความคุณภาพในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และด้านการแพทย์ กำหนดตีพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับ เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</strong></p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267434 การปลอมปนยาสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2024-02-25T14:19:49+07:00 ราชัน คงชุม rachan.k@gmail.com <p style="font-weight: 400;">สเตอรอยด์ (Steroid) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex) เพื่อควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ในทางการแพทย์มีการสังเคราะห์สารสเตอรอยด์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น Prednisolone, Dexamethasone เพื่อใช้ในการต้านการอักเสบ ลดอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่เกิดขึ้นในร่างกายบริเวณต่างๆ โดย Prednisolone และ Dexamethasone เป็นสารสังเคราะห์ในกลุ่ม Corticosteroidsหากใช้เกินขนาดหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะมีผลข้างเคียงรุนแรงจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง ติดเชื้อได้ง่าย กระดูกพรุน เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ของสารสเตอรอยด์รายละเอียดตามดังภาพที่ 1 ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ข้อ 34 ได้กำหนดให้ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ที่ได้จากธรรมชาติหรือได้จากการสังเคราะห์เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องมีการจำกัดการใช้โดยจะต้องจ่ายภายใต้ใบสั่งแพทย์เท่านั้น จากรายงานวิจัยที่ผ่านมาหลายงานวิจัยพบข้อมูลว่า มักพบการนำสารจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ ได้แก่ Dexamethasone และ Prednisolone ไปใช้ในทางที่ผิด นำไปปลอมปนในยาแผนโบราณหรือ “ผลิตภัณฑ์สมุนไพร”ตามคำนิยามใหม่ในพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 มาตรา 4 <sup> (1)</sup> เพื่อหวังผลในการรักษาอาการปวดเมื่อย ทั้งนี้การปลอมปนยาสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ย่อมไม่ทราบปริมาณที่แน่นอนของสารสเตอรอยด์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการปลอมปนสเตอรอยด์ย่อมเกิดอันตรายต่อร่างกาย </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ</strong> สเตียรอยด์</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267435 ลำดับเหตุการณ์การกำกับดูแลชุดตรวจโควิดในประเทศไทย 2024-01-22T16:29:30+07:00 สิรินมาส คัชมาตย์ katchams@gmail.com 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/268140 เสริมสวย..ให้สวย 2024-03-08T08:38:56+07:00 วันชัย นนทกิจไพศาล spras77@hotmail.com <p><strong>“คลินิกเสริมความงามที่ด้อยมาตรฐาน ทำลายชีวิตและสุขภาพผู้คนมาแล้วมากมาย</strong></p> <p><strong>ก่อนทำสวย </strong><strong>! &nbsp;จึงควรเช็คให้มั่นใจทั้งสถานที่ แพทย์ และผลิตภัณฑ์</strong></p> <p><strong>รวมถึงไม่เลือกคลินิกจากแค่ราคา การรีวิวจาก </strong><strong>Influencer หรือคำโฆษณาเท่านั้น”</strong></p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/268961 บทบรรณาธิการ 2024-04-28T22:42:07+07:00 สมสุข สัมพันธ์ประทีป osodsamran@gmail.com 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266580 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังติดตามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดชัยนาท 2024-01-04T10:27:32+07:00 ไพรัช ไล้ทอง paimst65@gmail.com รัญชน์รวี ส่งศิริ khing8009@gmail.com <p> </p> <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังติดตามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำจังหวัดชัยนาท แบ่งการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ศึกษารูปแบบ เดิมของการสำรวจร้านชำ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ การสร้างโปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ ขั้นตอนที่ 3 การสังเกต การสำรวจร้านชำทุกแห่ง ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผล การคืนข้อมูลผลการสำรวจให้กับพื้นที่ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการร้านชำทุกแห่งและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอและตำบลในจังหวัดชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรม Google Data Studio และ SPSS ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสำรวจร้านชำจังหวัดชัยนาทเดิมใช้แบบสำรวจที่เป็นกระดาษ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้งานและประมวลผลล่าช้า รวมถึงการคืนผลการสำรวจด้วยวิธีการส่งหนังสือแจ้งสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง รูปแบบการสำรวจร้านชำที่พัฒนาขึ้น ใช้โปรแกรมประยุกต์สำรวจร้านชำ ที่สามารถลงข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ แสดงผลการสำรวจแบบ Real time ในรูป Dashboard ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมฯ พบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมมาก โดยมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.7 คะแนน การคืนข้อมูลผลการสำรวจใช้วิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับเครือข่ายระดับอำเภอและตำบลซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการประชุมคือ ผู้ประกอบการร้านชำสีแดง ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่สุด ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการขยายผลนำรูปแบบการสำรวจโดยโปรแกรมประยุกต์ไปใช้ในการสำรวจประกอบการประเภทอื่น และควรมีการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนและหลังเข้าร่วมประชุม</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านชำ</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/265901 การรับรู้ต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดลำพูน 2023-12-26T06:53:22+07:00 สาธิต เจริญพงษ์ tom_thit@hotmail.com <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และปัจจัยภายในของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดลำพูน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 75 คน ได้รับกลับคืนมา จำนวน 59 ฉบับ นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและแบ่งตามเกณฑ์ระดับ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรที่เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.9 มีอายุเฉลี่ย 35.42 ปี อยู่ในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 30.5 ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.7 มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.17 ปี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ย 6.05 ปี ในหน่วยงานมีการสื่อสารการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเคยศึกษาข้อมูลแล้ว ร้อยละ 78.0 การรับรู้ต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรโดยรวมมีคะแนนอยู่ในระดับการรับรู้ปานกลาง มีคะแนนการรับรู้มากที่สุด ประเด็นการจัดทำฉลากยา ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน และมีคะแนนการรับรู้น้อยที่สุด ประเด็นการสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ถ้าแยกการรับรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด บุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ระดับการรับรู้มาก ในประเด็นการส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการสั่งใช้ยา โดยพบว่าช่วงอายุต่างกันและสถานที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ซึ่งองค์กรแพทย์และสหวิชาชีพจะต้องมีบทบาทในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและสร้างความตระหนักรู้ต่อการใช้ยาให้กับบุคลากรด้วย</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: การรับรู้ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลเอกชน</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/265892 การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีความพร้อม ของสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ในจังหวัดลำพูน 2023-12-26T06:51:23+07:00 สาธิต เจริญพงษ์ tom_thit@hotmail.com <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกอยู่ในจังหวัดลำพูน โดยได้อ้างอิงเนื้อหาจากหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี 420) ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์และแบ่งตามเกณฑ์ระดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบ การในการพัฒนาสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี 2) ศึกษาสภาพปัญหาของสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี และแก้ไขปัญหาสถานที่ผลิตร่วมกับผู้ประกอบการ และ 3) เปรียบเทียบผลลัพธ์ศักยภาพของผู้ประกอบการก่อนและหลังการพัฒนาสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีมาตรฐานและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง คะแนนศักยภาพตามวิธีการผลิตที่ดี ข้อมูลส่วนแรกประเมินโดยผู้ประกอบการ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 22 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีระดับศักยภาพมาก มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 91.82 ข้อมูลส่วนที่สองประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ผลิต จำนวน 27 แห่ง ก่อนและหลังการพัฒนาโดยได้ดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนได้รับการพัฒนา ผู้ประกอบการมีระดับศักยภาพน้อย มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 58.08 ต้องปรับปรุงในประเด็นสุขลักษณะส่วนบุคคล และพบข้อบกพร่องรุนแรง คะแนนศักยภาพที่ประเมินจากผู้ประกอบการและพนักงานเจ้าหน้าที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.01) หลังได้รับการพัฒนา มีระดับศักยภาพปานกลาง มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 84.27 โดยคะแนนศักยภาพเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการพัฒนามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.01) แสดงให้เห็นว่าถ้ามีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการในการออกแบบและปรับแปลนสถานที่ผลิตและให้ความรู้คำแนะนำตามเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีสามารถพัฒนาสถานที่ผลิตให้ผ่านมาตรฐานได้ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาให้ได้มาตรฐานอย่างรวดเร็ว เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและส่งเสริมเศรษฐกิจการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี การคุ้มครองผู้บริโภคเภสัช</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266702 ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา 2024-01-05T09:37:36+07:00 ทิยานันท์ สุทธิจุฑามณี thiyanan@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 358 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 6 – 31 ตุลาคม 2566 ซึ่งมีผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงาอยู่ในระดับสูง (= 3.91, S.D. = 0.50) และผลการเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงาพบว่า ระดับการศึกษา ระยะเวลาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการเข้าร่วมประชุม/อบรมที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ต่างกัน ทำให้มีความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และควรผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ความรอบรู้, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266570 โอกาสในการพัฒนางานตามนโยบายจังหวัดส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของจังหวัดสกลนคร 2024-01-15T15:24:51+07:00 กิตติศักดิ์ ไท้ทอง kittisak.t@kkumail.com ตรีรัตน์ งันลาโสม kittisak.t@kkumail.com วิภาดา ปุณณภาไพศาล kittisak.t@kkumail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนคร และศึกษาโอกาสในการพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนคร เป็นการศึกษาแบบผสมผสานด้วยข้อมูลปี 2560 – 2566 โดยระยะที่ 1 ศึกษาเชิงปริมาณ ประเมินการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนครด้วย CIPP model มีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุขที่เป็นคณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัดระดับโรงพยาบาลที่ขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ของ 18 โรงพยาบาล รวม 200 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาสมเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน การศึกษาระยที่ 2 ศึกษาเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ประสานงาน RDU ทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 18 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า 1) ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2565 – 2566 มี RDU District 5 และ 10 อำเภอ จาก 18 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 27.78 และ 55.6 ตามลำดับ 2) การประเมิน บริบทนโยบาย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) บริบทนโยบาย ปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ในระดับสูง (ระดับความสัมพันธ์ 0.681, 0.637 และ 0.740 ตามลำดับ) สำหรับระยะที่ 2 พบว่า 1) ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีกระบวนการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีการกำหนดเป็นนโยบายจากผู้บริหารอย่างชัดเจน ควรมีการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาโปรแกรมที่อำนวยความสะดวก รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนและความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชน 3) ควรมีการพัฒนารูปแบบแนวทาง การปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ชัดเจนขึ้น และมีการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและการขอความร่วมมือจาก รพ.สต. ในสังกัด อบจ.สกลนคร จะช่วยลดปัญหาจากการหมุนเวียนของบุคลากรได้ 4) การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานและการติดตามระดับจังหวัดและการมอบนโยบายจากผู้บริหาร การสะท้อนผลการดำเนินงาน การเยี่ยมเสริมพลังพื้นที่เป้าหมาย และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน RDU Province จังหวัดสกลนครต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>การใช้ยาสมเหตุผล, จังหวัดสกลนคร</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266599 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำในจังหวัดภูเก็ต 2024-01-23T15:56:36+07:00 อัญชลีน ณ พัทลุง bibua29@hotmail.com <p><strong> </strong>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำ ในจังหวัดภูเก็ต จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 292 ร้าน ศึกษาในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ <em>Chi</em><em>-square</em> test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็น เพศหญิง ร้อยละ 71.9 มีอายุอยู่ระหว่างมากกว่า 40 – 60 ปี ร้อยละ 56.2 การศึกษาสูงสุด ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 34.2 รายได้ต่อเดือน ตั้งแต่ 5,000 – 15,000 บาท ร้อยละ 57.5 ปัจจัยในการนำยาเข้ามาจำหน่ายในร้านชำ ส่วนใหญ่ยามียี่ห้อที่คนทั่วไปรู้จัก ด้านราคาสามารถกำหนดราคาขายได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามความต้องการของคนในชุมชน/มีการร้องขอให้นำมาจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดจากการโฆษณาจากสื่อ ได้แก่ สถานีวิทยุ, สื่อออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต, เฟสบุ๊ค, ยูทูป, เคเบิ้ลทีวี ร้อยละ 97.6, 29.8, 80.8 และ 23.3 ตามลำดับ ปัจจัยด้านการจัดการจำหน่ายยาในร้านชำ ส่วนใหญ่ ระยะเวลาในการเปิดร้าน มากกว่า 5 – 10 ปี ลักษณะการจำหน่ายสินค้า ส่วนใหญ่ขายปลีก ผู้จำหน่ายยาไม่เคยผ่านการอบรมหรือได้รับคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุขในเรื่องกฎหมายการห้ามจำหน่ายยาในร้านชำ ระยะทางระหว่างร้านชำกับร้านขายยามีระยะทางอยู่ระหว่าง 1 – 3 กิโลเมตร การจัดเก็บยาในร้านชำเก็บยาเหมาะสม เก็บยาไม่เป็นสัดส่วนปะปนกับผลิตภัณฑ์อื่น ผู้ซื้อไม่สามารถหยิบยาที่ต้องการได้เอง ร้อยละ 29.8, 89.0, 79.5, 45.2, 71.2, 22.6 และ 70.5 ตามลำดับ ประเภทของยาที่จำหน่ายในร้านชำ พบการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน ร้อยละ 99.3 ยาที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 81.8 ระดับการศึกษา การมีบริการหลังการขาย สามารถคืนยาที่หมดอายุได้ ความต้องการของเจ้าของร้าน ความต้องการของคนในชุมชน/มีการร้องขอให้นำมาจำหน่าย การได้รับคำแนะนำจากร้านขายยา และการโฆษณาจากสื่อ ได้แก่ สถานีวิทยุ, สื่อออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต, เฟสบุ๊ค, ยูทูป, เคเบิ้ลทีวี การมีบริการส่งยาถึงร้าน การมีโปรโมชั่นสินค้าอื่นแถม ระยะทางระหว่างร้านชำกับร้านขายยา และผู้ซื้อสามารถหยิบยาที่ต้องการได้เอง มีความสัมพันธ์กับการนำยาที่ไม่เหมาะสมเข้ามาจำหน่ายในร้านชำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (α &lt;.05) ซึ่งการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านชำเป็นความต้องการของคนในชุมชน การโฆษณาจากสื่อ มีโปรโมชั่นสินค้าอื่นแถม ความสะดวกในการซื้อมาใช้ และผู้จำหน่ายยาไม่เคยผ่านการอบรมหรือได้รับคำแนะนำ อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล และทำให้เกิดอันตรายจากเชื้อดื้อยา จึงควรให้ความรู้กับประชาชน และอบรมผู้ประกอบการ และมีแนวทางในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>: ปัจจัย, ยาที่ไม่เหมาะสม, ร้านชำ</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267006 การพัฒนารูปแบบผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิด เศรษฐกิจฐานราก : กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร 2024-01-15T16:38:28+07:00 กิตติศักดิ์ ไท้ทอง kittisak.t@kkumail.com สุวิชา แสนบรรดิษฐ์รินทา rungnapapharmacist@hotmail.com <p>การดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) กระบวนการศึกษาใช้การวิจัยเอกสารทุติยภูมิตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อให้ได้องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก และใช้เทคนิควิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน สร้างเป็นรูปแบบผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร จากนั้นจึงตรวจสอบรูปแบบฯ ด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้รูปแบบฯ โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากภาครัฐ จำนวน 3 ราย เพื่อทำการทดลองใช้ แล้วนำรูปแบบที่ได้พัฒนาเป็นคู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางที่มีองค์ประกอบหลัก จำนวน 7 องค์ประกอบหลัก (BIPSAAP Model) 25 ดัชนีการประเมิน และ 53 รายการประเมิน ได้แก่ 1) ทรัพยากรพื้นฐาน (Basic resources) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input) 3) กระบวนการผลิต (Production) 4) บทบาทภาครัฐ (Support of government) 5) การรักษาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Adding quality) 6) ความสามารถในการแข่งขัน (Ability of competition) และ 7) ผลการดำเนินงานขององค์กร (Perspective) แล้วนำรูปแบบที่ได้ไปพัฒนาเป็น คู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร การพิจารณาคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC สูงกว่า 0.5 แสดงถึงเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกัน และผลการทดลองประเมินกับผู้ประกอบการ พบว่าคู่มือสามารถนำไปใช้กับผู้ประกอบการที่มีโครงสร้างทางธุรกิจเครื่องสำอางที่แตกต่างกัน ทำให้มองเห็นจุดบกพร่องและแนวทาง แก้ไขในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>เศรษฐกิจฐานราก, เครื่องสำอาง, สมุนไพร, ผู้ประกอบการ</p> <p><strong> </strong></p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267056 สถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือสารสกัด CBD ที่ผลิตและจำหน่ายในเขตสุขภาพที่ 4 2024-01-15T16:43:57+07:00 สุชาติ ถนอมวราภรณ์ suchart-tha@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณสาร THC และ CBD ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือสารสกัด CBD 2) ศึกษาความถูกต้องตามกฎหมายของฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ 3) ศึกษามาตรฐานของสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ และ 4) ศึกษาแนวทางในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ให้มีปริมาณสาร THC และ CBD ตามกฎหมาย ดำเนินการเดือนมกราคม – กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่ผลิตและจำหน่ายในเขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 30 ตัวอย่าง สถานที่ผลิต 7 แห่ง และตัวแทนจากสถานที่ผลิต 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบตรวจสอบฉลาก แบบตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่พบสาร THC และ CBD ผ่านเกณฑ์กฎหมาย 16 ตัวอย่าง ร้อยละ 53.33 โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารสกัด CBD ผ่านเกณฑ์มากที่สุด 3 ตัวอย่าง ร้อยละ 60.00 2) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่แสดงฉลากถูกต้อง 1 ตัวอย่าง ร้อยละ 3.57 รายการที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ การแสดงวัตถุเจือปนอาหาร ร้อยละ 77.78 3) สถานที่ผลิตทุกแห่งผ่านเกณฑ์ GMP 420 และข้อกำหนดเฉพาะ 4) แนวทางในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ให้มีปริมาณสาร THC และ CBD ตามกฎหมาย ได้แก่ (1) ติดตามกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ (2) เลือกวัตถุดิบที่มีสาร THC และ CBD ตามที่กฎหมายกำหนด (3) ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบก่อนการผลิตทุกครั้ง (4) การตั้งตำรับต้องพิจารณากระบวนการผลิตร่วมด้วย (5) ศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นการผลิต (6) เลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแสงได้</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม, กัญชา, กัญชง, สารสกัด CBD, เขตสุขภาพที่ 4</p> <p> </p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266714 การศึกษาการให้บริการโครงการรับยาใกล้บ้านในเครือข่ายโรงพยาบาล วารินชำราบ (รูปแบบที่ 2 โรงพยาบาลจัดส่งยาให้ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ) 2024-01-05T08:40:09+07:00 มนชยา อุดมกิตติ monchaya1234@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการโครงการรับยาใกล้บ้านในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ (รูปแบบที่ 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านยา 12 ร้าน และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 555 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล การสัมภาษณ์และสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพการดำเนินงานตามที่ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดปีงบประมาณ 2564 โรงพยาบาลวารินชำราบและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ระดับ ผู้ป่วยให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือกรับยาซ้ำที่ร้านยา 486 คน (ร้อยละ 87.5) ความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (เฉลี่ย 4.65 <u>+ </u>0.58) เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 367 ราย จาก 380 คน (ร้อยละ 96.58) และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 คน จาก 33 คน (ร้อยละ 60.60) เมื่อรับยาต่อเนื่องที่ร้านยา พบว่าผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด โดยค่าเฉลี่ยความดันโลหิต 127.57 ± 15.74/77.49 ± 12.11 (เกณฑ์ &lt;140/90 mmHg) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด คือ 121.5 ± 22.50 mg/dL (เกณฑ์ &lt; 126 mg/dL) นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบ Medication reconciliation ผ่านโปรแกรมร้านยาชุมชนอบอุ่นเพื่อบริหารจัดการยาเหลือของผู้ป่วย ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โครงการมีประสิทธิผลต่อการดูแลผู้ป่วยไม่ต่างจากการรักษาในโรงพยาบาลจากผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยและกระบวนการประเมินคุณภาพระบบบริการเป็นสิ่งจำเป็นควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการด้านสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การประเมินคุณภาพ, การรับยาใกล้บ้าน, รูปแบบที่ 2, ร้านยา</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/265328 ผลการพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการ โรงพยาบาลลำพูน 2024-01-07T12:02:29+07:00 วรางคณา วัลลา warangwanla@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการในโรงพยาบาลลำพูน เพื่อลดอัตราเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด ลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ (Defined Daily Doses Per 100 Patient Days : DDD/100 วันนอน) ลดมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพ และเพิ่มความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาระยะยาว ด้วยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลลำพูนในช่วงปีงบประมาณ 2564 – 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า อัตราเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดในปี 2566 ลดลงจากปี 2565 และ 2564 คิดเป็นร้อยละ 18.9, ความถี่ต่อแสนประชากรพบ 655.4/แสนประชากร และไม่พบเชื้อดื้อยา <em>Pseudomonas aeruginosa</em> ที่ดื้อต่อยา Carbapenem (CRPA), <em>Klebsiella pneumoniae</em>/<em>Escherichia</em><em> coli</em> ที่ดื้อต่อยา Carbapenem (<em>K. pneumoniae</em>/<em>E. coli </em>CRE), <em>Staphylococcus aureus </em>ที่ดื้อต่อยา Methicillin (MRSA), <em>Enterococci</em> <em>species</em> ที่ดื้อต่อยา Vancomycin (VRE) ในกระแสเลือด รวมถึงเชื้อดื้อยา <em>Acinetobacter baumannii</em> (<em>A.B</em> MDR) มีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 จาก 4,616 ต่อแสนประชากร เป็น 4,274 ต่อแสนประชากร คะแนนประเมินตนเองในการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการในโรงพยาบาลลำพูน ปี 2566 ได้คะแนนประเมินรวม 463 คะแนน จากคะแนนเต็ม 500 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.6 (ระดับ Advance) ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ (DDD/100 วันนอน) และมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพรวมทั้งหมด และเฉพาะยาต้าน จุลชีพที่ควบคุม 11 รายการในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 91.82 และ 23.28 ตามลำดับ มูลค่ายาต้านจุลชีพรวม และยาต้านจุลชีพที่ควบคุม 11 รายการ เพิ่มเป็น 11,344,026.74 บาท และ 5,966,635.42 บาท ตามลำดับ ความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมมากกว่าร้อยละ 80 สำหรับปริมาณและมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่ลดลง จึงควรมีการประกาศใช้มาตรการควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพ และมาตรการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลที่เข้มแข็ง โดยผู้บริหารของโรงพยาบาล รวมถึงการสร้างทีมเครือข่ายควบคุมเชื้อดื้อยาในจังหวัด โดยมีการส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยาไปยังโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อลดเชื้อดื้อยาในชุมชน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : การจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการ</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267752 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร 2024-02-20T18:41:09+07:00 ธฤตวัน พระพิจิตร achirawat768@gmail.com ปริญญา สกุลพอง canvafriends001@gmail.com <p><strong> </strong>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เพื่อหารูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านชำ 216 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบฟอร์มเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน รูปแบบ โดยใช้สถิติเชิงพรรณา</p> <p> ผลการศึกษา ได้รูปแบบการเฝ้าระวังการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมสู่ร้านชำในชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้แบบฟอร์มที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบ</p> <p> สรุปผลและข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังฯ ทั้ง 4 ขั้นตอน สามารถแก้ปัญหาการกระจายยาที่ไม่เหมาะสมได้ภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยรูปแบบการเฝ้าระวังฯ เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และจำหน่ายยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> รูปแบบ การเฝ้าระวัง การกระจายยาที่ไม่เหมาะสม ร้านชำ</p> <p> </p> <p> </p> <p><strong> </strong></p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266912 การศึกษาประสิทธิผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แยกกักตัวอยู่บ้าน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 2024-01-15T16:50:45+07:00 พงษ์กฤษฎ์ เทียนครบ ppongpkt@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>ความเป็นมา :</strong> &nbsp;andrographolide ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนา&nbsp; 2019 ได้ ซึ่งแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณ andrographolide 180 มก/วัน ติดต่อ 5 วัน ร่วมกับการรักษาในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ โดยโรงพยาบาลตะกั่วป่าได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่รับรักษาในโรงพยาบาลแบบแยกกักตัวอยู่บ้าน(home isolation)&nbsp;</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาฟ้าทะลายโจรร่วมการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวอยู่บ้าน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา</p> <p><strong>วิธีวิจัย: </strong>เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาถึงประสิทธิผลของฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน โดยรับรักษาในโรงพยาบาลตะกั่วป่าแบบ Home Isolation ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2564- 31 มีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป และกำหนดค่าความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย : </strong>กลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรร้อยละ 56.3 มีอาการทั้งหมดดีขึ้นภายใน 3 วัน โดยลดอาการเจ็บคอร้อยละ 69.1 ลดอาการไข้ร้อยละ 50.25 และลดอาการไอร้อยละ 49.54 และเพิ่มเป็นร้อยละ 73.9, 51.1 และ 62.2 ตามลำดับ&nbsp; เมื่อใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลและยาปฏิชีวนะ&nbsp; ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาฟ้าทะลายโจรอย่างมีนัยสำคัญ พบภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรร้อยละ 23.8 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาฟ้าทะลายโจร</p> <p><strong>สรุปผลการวิจัย : </strong>ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพในการลดอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 และ ลดการเกิดภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ฟ้าทะลายโจร, andrographolide , โควิด-19 ที่มีไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267708 ผลของการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566 2024-02-25T11:25:33+07:00 จักรี แก้วคำบ้ง chakrikaeokumbong@gmail.com สุทธินี เรืองสุพันธุ์ ChakriKaeokumbong@gmail.com ศุภธิดา รักษ์วิชานันท์ ChakriKaeokumbong@gmail.com สรัญญาพร รักษ์วิชานันท์ ChakriKaeokumbong@gmail.com <p>การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชนและปัจจัยการจำหน่ายยาในร้านชำ ในจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการ คือ ร้านชำขนาดใหญ่ รวม 908 คน พัฒนากระบวนการตามแนวคิด PAOR ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ <em>McNemar test</em> และ <em>Fisher's exact test</em> <strong>ผลการศึกษา </strong>พบว่าร้านชำขนาดใหญ่ จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย ในการตรวจครั้งที่ 2 จำนวน 164 แห่ง (ร้อยละ 18.06) ลดลงจากการตรวจครั้งที่ 1 จำนวน 386 แห่ง (ร้อยละ 42.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.001) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาร้านชำสามารถลดปัจจัยความต้องการของชุมชน ปัจจัยการไม่ทราบกฎหมายว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย และปัจจัยมีรถขนส่งยาถึงหน้าบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.005) แต่ไม่สามารถลดปัจจัยเรื่องยอดขายหรือกำไร คะแนนความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 66.85 เป็นร้อยละ 93.94 (p&lt;0.001) จากการทำวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถลดจำนวนร้านชำที่จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่ายในชุมชน และสามารถลดแรงจูงใจ เรื่อง ปัจจัยความต้องการของชุมชน ปัจจัยการไม่ทราบกฎหมายว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย และปัจจัยมีรถขนส่งยาถึงหน้าร้าน</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong>การพัฒนา, ร้านชำขนาดใหญ่, การมีส่วนร่วม</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267454 การพัฒนาร้านชำจากโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 2024-02-25T11:23:43+07:00 จักรี แก้วคำบ้ง chakrikaeokumbong@gmail.com สุทธินี เรืองสุพันธุ์ ChakriKaeokumbong@gmail.com ศุภธิดา วิสุทพิพัฒน์สกุล ChakriKaeokumbong@gmail.com สรัญญาพร รักษ์วิชานันท์ ChakriKaeokumbong@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>เพื่อพัฒนาร้านชำต้นแบบ จากโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน ของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านชำและภาคีเครือข่าย <strong>วิธีการศึกษา </strong>การศึกษาครั้งนี้การศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน(participation action study) การเก็บข้อมูลจากร้านชำแบบจำเพาะเจาะจง(purposive sampling method)&nbsp;&nbsp; ในปี 2563 - 2566 &nbsp;จำนวน&nbsp; 7,262, 10,693, 9,146, แห่ง ตามลำดับ การดำเนินงานมีขั้นตอน ดังนี้ 1.การวางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย 2.การอบรมให้ความรู้และทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการร้านชำ 3.การสำรวจรายการยาที่จำหน่าย และ4.การสะท้อนข้อมูลคืนแก่ภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการขายยาที่ไม่เหมาะสมโดยใช้สถิติไคสแควร์ <strong>ผลการศึกษา</strong> พบร้านชำในจังหวัดนครราชสีมา จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย ในปี 2563, 2564, 2565 และ 2566 พบจำนวน 1,539 แห่ง(ร้อยละ 20.45), 1,598 แห่ง(ร้อยละ 14.94), 5,905 แห่ง(ร้อยละ 64.65), 1,463 แห่ง(ร้อยละ 44.74) ตามลำดับ โดยในปี 2566 ร้านชำ จำหน่ายยาอันตราย และยาห้ามจำหน่าย ลดลงน้อยกว่าในปี 2565 ร้อยละ 19.91 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.001)&nbsp; ในปี 2566 ผู้ประกอบการร้านชำ ระบุแรงจูงใจในการนำยามาจำหน่ายในร้านชำ คือ ความต้องการของชุมชน ยอดขายและกำไร ไม่ทราบกฎหมาย<br>ว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย ได้รับคำแนะนำจากร้านยา มีรถขนส่งยาถึงหน้าบ้าน และอื่น ๆ ร้อยละ 89.42, 1.85 และ 6.44 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.001) ในปี 2566 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาร้านชำ จำนวน 908 แห่ง พบว่า ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ&nbsp; 66.85 เป็นร้อยละ 93.94(p&lt;0.001) การจำหน่ายยาอันตรายและห้ามจำหน่ายหลังการอบรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ 42.51 เป็นร้อยละ 18.06(p&lt;0.001) และร้านชำต้นแบบส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ&nbsp; 57.49 เป็นร้อยละ 81.94(p&lt;0.001) <strong>สรุป</strong> จากการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้เกิด “CS-KORAT Model” เพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย และทำให้เกิดร้านชำต้นแบบส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ ยาอันตราย</strong><strong>, ร้านชำ, ร้านชำต้นแบบ, ความร่วมมือของผู้ประกอบการ</strong></p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/268091 การพัฒนารูปแบบศูนย์รับเรื่องบริการด้านสาธารณสุขแบบบูรณาการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-03-12T08:03:40+07:00 จารุรัตน์ พัฒน์ทอง nongpinpin@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ในการดำเนินงาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นของศูนย์รับเรื่องบริการด้านสาธารณสุขแบบบูรณาการ โดยทำการศึกษาตามขั้นตอนออกแบบบริการภาครัฐ มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และเพิ่มโอกาสในการใช้เทคโนโลยี มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จำนวน 13 รายการ กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มารับบริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระยะเวลาเดือนมิถุนายน 2566 – เดือนมกราคม 2567 การศึกษาสถานการณ์และค้นหาปัญหาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ร่วมกับการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ นำสิ่งที่ได้มาพัฒนารูปแบบงานบริการโดยการออกแบบการปฏิบัติร่วมกัน แก้ไขปรับปรุงวิธีปฏิบัติ ทบทวนและตรวจสอบจนได้แนวคิดหลักและรูปแบบการพัฒนา นำไปทดสอบและปฏิบัติจริง และทำการประเมินผล ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้มีการปรับรวมจุดแรกรับการบริการทุกด้านไว้ที่จุดเดียวกัน พัฒนาการให้ข้อมูลและคำปรึกษาผ่านระบบดิจิตัล Line Official มากขึ้น การปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทำให้สามารถยื่นและรับเอกสารที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง มีการพัฒนาระบบการชำระเงินออนไลน์ การรับเรื่องร้องเรียน การพัฒนาพิมพ์เขียวงานบริการเพื่อเป็นแนวทางการทบทวนและพัฒนางาน ได้ข้อสรุปแผนพัฒนางานบริการในระยะต่อมา 1 ปี และ 3 ปี ได้แก่ การมอบอำนาจการอนุญาต การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ การปรับปรุงสถานที่ และการผ่านเกณฑ์เป้าหมายศูนย์ราชการสะดวก ผลการประเมินการพัฒนาระบบพบว่า ผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนร้อยละ 100 และปฏิบัติตามระยะเวลาที่ประกาศในมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ได้ร้อยละ 65.71 รูปแบบที่พัฒนานี้สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการในระดับมาก และสามารถลดค่าใช้จ่ายแก่ให้แก่ผู้รับบริการได้รายละ 137.20 - 1,296.00 บาท</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>การออกแบบบริการ การพัฒนารูปแบบบริการภาครัฐ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ศูนย์ราชการสะดวก</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266864 ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม จังหวัดอุบลราชธานี 2024-01-23T16:18:32+07:00 กิตติยาพร ทองไทย kittiyaporn34000@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม จังหวัดอุบลราชธานี โดยยากลุ่มเสี่ยงที่ทำการศึกษา คือ ยาอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ Tramadol, Dextromethorphan และ Diphenhydramine ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงทุกแห่งที่ถูกดำเนินคดี ข้อมูลที่ตั้งร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยง แหล่งซื้อยากลุ่มเสี่ยง และข้อมูลผู้ที่ใช้ยากลุ่มเสี่ยง ร่วมกับการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อมที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในเดือนตุลาคม 2565 ถึงกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ ฐานข้อมูลร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงทุกแห่งที่ถูกดำเนินคดี และฐานข้อมูลผู้ที่ใช้ยากลุ่มเสี่ยง ร่วมกับการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อมที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงถูกดำเนินคดีมากที่สุดในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 14.29) รองลงมาคือ อำเภอวารินชำราบ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 7.14) และอำเภอเขมราฐ และอำเภอบุณฑริก อำเภอละ 1 แห่ง (ร้อยละ 2.38) ตามลำดับ ซึ่งร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงมีที่ตั้งอยู่ใกล้โรงเรียน ร้อยละ 66.67 โดยซื้อยากลุ่มเสี่ยงจากร้านค้าที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียล ร้อยละ 73.33 จำนวนผู้มารับบริการที่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อม ร่วมกับใช้ยา Tramadol มากที่สุด ร้อยละ 67.51 รองลงมา คือ Dextromethorphan ร้อยละ 18.05 และ Diphenhydramine ร้อยละ 14.44 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่พบอยู่ในพื้นที่อำเภอขนาดใหญ่และอำเภอชายแดน สอดคล้องกับข้อมูลร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยาอันตรายกลุ่มเสี่ยงที่ถูกดำเนินคดี จากสถานการณ์ดังกล่าว สามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อจัดการปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย และสร้างความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> ยากลุ่มเสี่ยง, พืชกระท่อม</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/266035 การศึกษารูปแบบการพัฒนาสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานตามกฎหมาย อย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดพัทลุง 2023-12-26T06:58:13+07:00 พรชนก เจนศิริศักดิ์ memhew@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบในการพัฒนาสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางในจังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินรูปแบบและเครื่องมือ คือ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตเครื่องสำอาง และพนักงานเจ้าหน้าที่ รวม 40 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วัดความรู้ ประเมินร้านจำหน่าย เปรียบเทียบความรู้ และสถานการณ์ร้านจำหน่ายเครื่องสำอางก่อนและหลังการอบรม สร้างรูปแบบและเครื่องมือด้วยการสนทนากลุ่มร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก นำเครื่องมือไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยจากเดิม 15.80 ± 3.729 เป็น 16.92 ± 1.803 (คะแนนเต็ม 20) ได้รูปแบบการพัฒนาประกอบด้วย 1. การประชาสัมพันธ์ 2. การสร้างช่องทางสื่อสาร 3. การพัฒนาร้านจำหน่ายโดยใช้แบบประเมินตนเอง 4. การตรวจติดตาม 5. การบังคับใช้กฎหมาย 6. การอบรมให้ความรู้ 7. การเชิดชู ส่งเสริม และได้เครื่องมือประเมินตนเอง การประเมินร้าน 12 แห่ง พบว่ามีร้านที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จาก 3 แห่ง เป็น 6 แห่ง (เพิ่มขึ้น 50%) จำหน่ายเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ จาก 7 แห่ง เป็น 3 แห่ง (ลดลง 57.14%) จำหน่ายเครื่องสำอางฉลากไม่ถูกต้อง จาก 8 แห่ง เป็น 5 แห่ง (ลดลง 37.5%) จำหน่ายยาหรืออาหารเสริมผิดกฎหมาย จาก 5 แห่ง เป็น 0 แห่ง (ลดลง 100%) ดังนั้น การใช้รูปแบบการพัฒนาและเครื่องมือจากการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการยอมรับ จะสามารถพัฒนาร้านจำหน่ายเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง, รูปแบบการพัฒนาร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง, การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267322 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้น ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดขอนแก่น 2024-01-23T16:23:34+07:00 วีรวรรณ รุจิจนากุล weerawankkpho@gmail.com อิสรีย์ พละสินธุ์เดชา weerawankkpho@gmail.com สุณี เลิศสินอุดม ipalasindecha@gmail.com ชัญญรัชต์ นกศักดา ngamwann@outlook.co.th <p>สถานการณ์ความแออัดของโรงพยาบาลและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียโอกาสเข้าถึงการรับบริการ ดังนั้น การนําระบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลมาใช้ จึงเป็นแนวทางที่อาจทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตดีขึ้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบมาเป็นแนวทางในการพัฒนาภายใต้กระบวนการทางเภสัชกรรมในการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อศึกษาการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้น พัฒนารูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล และศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกหลังจากได้รับรูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลด้านปัญหาการใช้ยาและความพึงพอใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 25 แห่ง รวมทั้งสิ้น 259 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มผู้ให้บริการ จำนวน 75 คน แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล Tele VHV แบบบันทึก ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้ยา ความพึงพอใจ ปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยสามารถประหยัดได้ และแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลลัพธ์การจัดการปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาหลังจากได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกล จำนวน 2 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรและสามารถร่วมแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาได้ ร้อยละ 79.49 ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.85 ± 0.37 จากคะแนนเต็ม 5) ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่า หลังรับบริการ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย 135 ราย จาก 162 ราย (ร้อยละ 83.33) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (152.64 ± 59.92, 140.60 ± 48.94; p&lt;0.001) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต Systolic BP ของผู้ป่วย 175 ราย จาก 226 ราย (ร้อยละ 77.43) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (133.61 ± 14.38<strong>,</strong> 129.79 ± 15.54; p&lt;0.002) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต Diastolic BP ของผู้ป่วย 115 ราย จาก 226 ราย (ร้อยละ 50.88) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (72.60 ± 9.32, 74.27 ± 10.09; p &lt; 0.02) และค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต (eGFR) ของผู้ป่วย 109 ราย (ร้อยละ 100) ไม่แตกต่างกัน (63.36 ± 10.50<strong>,</strong> 62.85 ± 12.96) และผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 285<strong>,</strong>159 บาท สรุปการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยโรคไต ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถชะลอการเสื่อมของไต <strong> </strong>ลดการพบปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยา การบริโภคผลิตภัณฑ์อันตราย และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ทำให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายและผู้ป่วยที่รับบริการมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> บริการเภสัชกรรมทางไกล, โรคไตเรื้อรัง</p> 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267652 ยาชุดโกอินเตอร์ 2024-02-05T20:09:12+07:00 ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์ fdachiangmai@gmail.com 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267651 ยาขม 2024-02-05T20:06:02+07:00 พงษ์ศักดิ์ นาต๊ะ fdachiangmai@gmail.com 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP/article/view/267650 ทางหนี หรือทางออก 2024-02-05T20:02:11+07:00 นัทธินี วัฒนวราสันติ์ fdachiangmai@gmail.com 2024-04-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ