วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH <p>วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตเป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ นวัตกรรม และผลงานวิจัยทางการพยาบาลจิตเวช สุขภาพจิต และสาขาที่เกี่ยวข้อง กำหนดออกวารสาร ปีละ 3 ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2) พฤกษาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3) กันยายน - ธันวาคม</p> สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย th-TH วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 3027-8031 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย</p> ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความผาสุกทางใจ และสัมพันธภาพในครอบครัว กับความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/266853 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความผาสุกทางใจ และสัมพันธภาพในครอบครัว กับความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุ</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 210 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบประเมินความผาสุกทางใจ และแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พอยท์ไบซีเรียล</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .453 และ .241 ตามลำดับ; <em>p</em> = .001) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล พบว่า ความผาสุกทางใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.163, <em>p</em> = .018)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป</p> พรชนก จุมพิศ พัชรินทร์ นินทจันทร์ โสภิณ แสงอ่อน Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 1 20 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมรังแกกันในวัยรุ่นด้อยโอกาส https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/268276 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> การวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต สัมพันธภาพกับเพื่อน และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมรังแกกันในวัยรุ่นด้อยโอกาส</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนจำนวน 234 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมรังแกกัน แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบประเมินสัมพันธภาพกับเพื่อน และแบบประเมินความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> ผลการศึกษาพบว่า ความแข็งแกร่งในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมรังแกผู้อื่น (r = -.313, <em>p</em> = .000) และพฤติกรรมการถูกรังแก (r = -.239, <em>p</em> = .000) สัมพันธภาพกับเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมรังแกผู้อื่น (r = -.173, <em>p</em> = .008) แต่ไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการถูกรังแก การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมรังแกผู้อื่น (r = -.226, <em>p</em> = .000) และพฤติกรรมการถูกรังแก (r = -.299, <em>p</em> = .000)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเพื่อป้องกันและจัดการกับพฤติกรรมรังแกกันในวัยรุ่นด้อยโอกาสต่อไป</p> ปาณิสรา ปานมุนี พัชรินทร์ นินทจันทร์ โสภิณ แสงอ่อน Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 21 43 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความวิตกกังวลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในช่วงปีที่ 3 ของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/267161 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ จำนวนชั่วโมงการทำงานเกี่ยวกับ โรคโควิด-19 การสัมผัสโรคโควิด-19 และความแข็งแกร่งในชีวิต กับความวิตกกังวลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในช่วงปีที่ 3 ของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ในจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 421 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินปัญหาสุขภาพจิต แบบสอบถามการสัมผัสโรคโควิด - 19 และแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลเท่ากับ 7.51 (SD = 5.36) การรับรู้ภาวะสุขภาพ และความแข็งแกร่งในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.106, p = .030; r = -.121, p = .013 ตามลำดับ) จำนวนชั่วโมงการทำงานเกี่ยวกับโรคโควิด - 19 และการสัมผัสโรคโควิด - 19 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .099, p = .043; r = .176, p = .000 ตามลำดับ)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางเพื่อช่วยป้องกันความวิตกกังวล ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป</p> กฤษฎา ค้าขึ้น พัชรินทร์ นินทจันทร์ โสภิณ แสงอ่อน Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 44 66 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นตอนปลาย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264339 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นตอนปลาย</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 19 - 21 ปี ที่ศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเขตภาคเหนือ จำนวน 26 คน จับสลากเข้ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมในสถานศึกษาตามปกติ จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมในสถานศึกษาตามปกติร่วมกับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ จำนวน 13 คน ที่มี 8 กิจกรรม สัปดาห์ละ 2 กิจกรรม ๆ ละ 45 - 60 นาที รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ และแบบประเมินการรับรู้พลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-Square สถิติ Fisher’s Exact สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการติดสื่อสังคมออนไลน์ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (<em>p</em> &lt; .05) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมหลังสิ้นสุดโปรแกรม 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .05)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจช่วยลดพฤติกรรมติดสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่นตอนปลายได้ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาที่ติดสื่อสังคมออนไลน์</p> กมลรัตน์ วิศววงศ์พันธ์ หรรษา เศรษฐบุปผา ขวัญพนมพร ธรรมไทย Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 67 84 ผลของโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวในการเพิ่มความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภท https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/269578 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวต่อการเพิ่มความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภท</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดกลุ่มเดียวก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทและกลุ่มผู้ดูแล คัดเลือกตามเกณฑ์ กลุ่มละ 32 คน ได้รับโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวจำนวน 6 ครั้ง ในระยะเวลา 16 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและของผู้ป่วยจิตเภท แบบทดสอบความรู้ของผู้ดูแลเรื่องโรคจิตเภทและการดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบบันทึกความรุนแรงของอาการเบื้องต้น แบบประเมินความสามารถโดยรวมของกรมสุขภาพจิต แบบวัดคุณภาพชีวิต และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) กลุ่มผู้ป่วยจิตเภทมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงของอาการเบื้องต้นดีขึ้น ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถโดยรวมและคุณภาพชีวิต หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมสนับสนุนครอบครัวมีส่วนช่วยให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยจิตเภทได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการลดความรุนแรงของอาการ มีความสามารถโดยรวมดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น</p> มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์ จารุมน ลัคนาวิวัฒน์ ไพจิตร พุทธรอด Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 85 102 ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อทักษะการจัดการความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/270284 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความเครียด ต่อทักษะการจัดการความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น คัดเลือกโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าและสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการความเครียดพัฒนาขึ้นโดยพาสินี แจ่มจ้าและคณะ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ๆ ละ 60 - 90 นาที ซึ่งดำเนินการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) โปรแกรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น 3) แบบประเมินทักษะการจัดการกับความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดการกับความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดการกับความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดการความเครียดหลังการทดลอง (mean = 58.78, SD = 5.53) มากกว่าก่อนการทดลอง (mean = 40.34, SD = 5.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.06, <em>p</em> &lt; .01) 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดการกับความเครียดหลังทดลองของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นกลุ่มทดลอง (D1 = 16.02, SD = 6.87) มากกว่ากลุ่มควบคุม (D2 = 0.51, SD = 3.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.43, <em>p</em> &lt; .01)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมการจัดการความเครียด สามารถเพิ่มทักษะการจัดการความเครียดของผู้ดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นได้</p> อธิวัฒน์ กุลวงษ์ ดรุณี รุจกรกานต์ Copyright (c) 2025 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-23 2025-02-23 39 1 103 116