วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH <p>วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตเป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ นวัตกรรม และผลงานวิจัยทางการพยาบาลจิตเวช สุขภาพจิต และสาขาที่เกี่ยวข้อง กำหนดออกวารสาร ปีละ 3 ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2) พฤกษาคม – สิงหาคม และ ฉบับที่ 3) กันยายน - ธันวาคม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย</p> Dr.jeab2509@gmail.com (ผศ.ดร.กาญจนา สุทธิเนียม) psychonursejournal@gmail.com (นางสาวสาวิตรี แสงสว่าง) Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264118 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้น</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นสมาธิสั้น 28 คน ที่มีพฤติกรรมติดเกม สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (14 คน) และกลุ่มควบคุม (14 คน) โดยวิธีจับสลาก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 30 - 45 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบทดสอบการติดเกม (GAST) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่า ที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติค่า ที ชนิด 2 กลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการติดเกมของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .01) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .01)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ช่วยลดพฤติกรรมติดเกมของวัยรุ่นสมาธิสั้นได้ จึงควรนำไปใช้เป็นทางเลือกในการบำบัดวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมติดเกม</p> สิรินาถ บุญทวี, หรรษา เศรษฐบุปผา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264118 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตและภาวะสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264696 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตและภาวะสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง (แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน หลังการทดลอง) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต (Resilience Quotient: RQ) และแบบประเมินภาวะสุขภาพทั่วไป (General Health Questionnaire-28: GHQ-28) เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนการทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และ ติดตาม 3 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, One Way ANOVA, repeated measure One Way ANOVA , Kruskal-Wallis Test และ Freidman test</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพลังสุขภาพจิตของกลุ่มทดลอง ระยะก่อนทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F<sub>3,116</sub> = 24.71, <em>p</em> &lt; 0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X<sup>2</sup> = 13.07, <em>p</em> = 0.004) และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพลังสุขภาพจิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และติดตาม 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F<sub>1,58</sub> = 10.32, <em>p</em> = 0.002) และค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X<sup>2</sup> = 12.81, <em>p</em> &lt; 0.001)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มพลังสุขภาพจิต และส่งเสริมการมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีแก่นักศึกษาพยาบาลได้</p> เกษร สายธนู, กานต์ตริน ศรีสุวรรณ Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264696 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/265926 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา คุณภาพชีวิต ระดับความรุนแรงอาการทางจิต และการกลับมารักษาซ้ำ ในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา 7 ขั้นตอนของเยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติ, และคณะ. (2554) และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ช่วงเวลาที่ศึกษาตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเชียงใหม่ แบบประเมินความรุนแรงอาการทางจิต และบันทึกการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) โปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย การบำบัดแบบเผชิญหน้าผู้ป่วย 5 ครั้ง ๆ ละ 45 - 60 นาที ได้แก่ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเภท การดูแลตนเองเรื่องการรับประทานยา การสังเกตและจัดการปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการกำเริบ การปฏิบัติตัวเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์หลังจำหน่าย 4 ครั้ง ๆ ละ 45 - 60 นาที ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ประกอบด้วย การสำรวจอาการทางจิตตนเอง การรับประทานยาต่อเนื่อง การสังเกตและจัดการอาการเตือน การตรวจตามนัด และแหล่งสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมสำหรับญาติหรือผู้ดูแล 2 ครั้ง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท บทบาทผู้ดูแลในการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการส่งเสริมทักษะคลายเครียดของผู้ดูแล มีค่าความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากิจกรรมและวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.93 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือน มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือนน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตในระยะติดตาม 1 เดือนของกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านช่วยเพิ่มพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความรุนแรงอาการทางจิต และลดการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรกได้ ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมไปใช้ในการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพดีและป้องการกำเริบซ้ำของโรค</p> ดวงเดือน นรสิงห์, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์ Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/265926 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรสต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264039 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา และคู่สมรส จำนวน 24 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คู่ กลุ่มควบคุม 12 คู่ โดยการสุ่มแบบง่าย ด้วยวิธีจับฉลาก ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.80 และ 3) โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของเดวิโต (DeVito, 2003) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติทดสอบค่าที จากคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุรา</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัด ต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p> <strong>สรุป :</strong> ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส สามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ ดังนั้นจึงควรนำการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ไปใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุราที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้สามารถลดพฤติกรรมติดสุราได้</p> สมศรี บุญเมตตา, หรรษา เศรษฐบุปผา, ภัทราภรณ์ ภทรสกุล Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/264039 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้รับการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/263864 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการบำบัด ยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่มารับบริการจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ภาคตัดขวาง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี เลือกแบบสุ่มจากผู้รับบริการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 132 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา, Spearman Rank Correlation และ Chi- square</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> ความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาคะแนนรวมที่จุดตัดเท่ากับหรือมากกว่า 22 คะแนน มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 19.70 ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า (r<sub>s</sub> = .376, <em>p</em> &lt; .01 และ r<sub>s</sub> = .416, <em>p</em> &lt; .01) ในขณะที่สัมพันธภาพกับผู้บำบัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ (r<sub>s</sub> = -.343, <em>p</em> &lt; .01) เพศ สถานภาพสมรส และปริมาณการใช้สารเสพติดของผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า (Chi-Square = .833, <em>p</em> = .361; Chi-Square = 2.564, <em>p</em> = .277; Chi-Square = 4.085, <em>p</em> = .252, ตามลำดับ)</p> <p> <strong>สรุป :</strong> การป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพจิต ควรมุ่งเน้นการค้นหาวิธีการจัดการเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและการปรับทัศนคติที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการและควรส่งเสริมด้านสัมพันธภาพกับผู้บำบัดในการดูแลผู้รับบริการ</p> วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์, วันเพ็ญ ใจปทุม Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/263864 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/266557 <p> <strong>วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท</p> <p> <strong>วิธีการศึกษา :</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการบำบัดในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบำบัดทางจิตสังคม 2) พัฒนาโปรแกรม 3) ทดสอบโปรแกรม และ 4) ประเมินผลโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในโรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ จำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 14 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบการวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เทคนิคการสรุปสะสม</p> <p> <strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) สถานการณ์ปัญหา พบว่า โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการกำเริบได้ง่าย การดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ ซึ่งการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลเพียงพอ จึงต้องใช้การบำบัดทางจิตสังคมร่วมด้วย รวมถึงควรต้องมีการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการบำบัดรักษาในแบบใหม่ ๆ 2) โปรแกรมการบำบัดทางจิตสังคมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชุดกิจกรรม 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทภายในกลุ่มทดลองทั้งก่อนการทดลอง (M = 1.93, S.D. = 0.83) หลังการทดลอง (M = 0.64, S.D. = 0.74) และติดตามหลังจำหน่าย 4 สัปดาห์ (M = 0.64, S.D. = 0.74) พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมทั้งก่อนการทดลอง (M = 2.07, S.D. = 0.92) หลังการทดลอง (M = 1.57, S.D. = 1.22) และติดตามหลังจำหน่าย 4 สัปดาห์ (M = 2.00, S.D. = 1.47) พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลประเมินโปรแกรมพบว่า พยาบาลจิตเวชและญาติผู้ป่วยมีความพึงพอใจในโปรแกรมที่พัฒนา</p> <p> <strong>สรุป :</strong> โปรแกรมที่พัฒนานี้ทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยโรคจิตเภทลดลง จึงเป็นรูปแบบการบำบัดรักษาอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้</p> อัชฌา หร่ายลอย, เทียนทอง หาระบุตร, กชพร สายสุทธิ์, วรรณา ขวัญเมือง, นฤมล ศรีอักษร, ปัทมา กิติศรีวรพันธุ์ Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/266557 Sat, 09 Mar 2024 00:00:00 +0700