วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT <p>วารสารการป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย&nbsp; เป็นวารสารของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์&nbsp; ออกปีละ&nbsp; 2&nbsp; ฉบับ&nbsp; ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม</p> th-TH journal.sui.th@gmail.com (ณสมพล หาญดี) khaengkai@gmail.com (นายเกรียงไกร คำภาพงษ์) Mon, 16 Nov 2020 10:33:22 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวช https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247380 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล จิตเวช และ 2) ศึกษาความแม่นตรงระหว่างแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นกับแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้ำง Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) Module C (suicidality)<br><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) การประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพัฒนาเครื่องมือ 2) ศึกษาความตรงตามเนื้อหาและทดสอบภาษา 3) ศึกษาความตรงตาม โครงสร้างการจำแนกระดับความเสี่ยงและศึกษาความแม่นตรงกับเครื่องมือมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเวชที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 165 คน การศึกษาความ ตรงตามโครงสร้าง การจำแนกระดับความเสี่ยงโดยใช้สถิติ factor analysis สถิติเชิงพรรณนา และ Cronbach’s alpha coefficient ศึกษาความแม่นตรงกับเครื่องมือมาตรฐานด้วยสถิติ Spearman’s rank correlation coefficient ระยะเวลาศึกษา มีนาคม 2557–กันยายน 2558<br><strong>ผล:</strong> แบบประเมินมี 12 ข้อ 4 องค์ประกอบ แบ่งระดับความเสี่ยงเป็น 4 ระดับ คือมาก (15 คะแนนขึ้นไป) ปานกลาง (7-14 คะแนน) เล็กน้อย (1-6 คะแนน) และไม่เสี่ยง (0 คะแนน) จุดตัดที่เหมาะสม คือ 1 คะแนนค่าความไวร้อยละ 90.40 ความจำเพาะ ร้อยละ 87.50 ความถูกต้องของการทดสอบ ร้อยละ 89.70 แบบประเมินมีความสัมพันธ์กับ M.I.N.I. ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติ (p&lt;0.001)ค่าความเชื่อมั่น = 0.81<br><strong>สรุป:</strong> แบบประเมินที่ได้จากการพัฒนามีความตรง น่าเชื่อถือ และง่ายต่อการนำไปใช้เฝ้ำระวังความเสี่ยง ต่อกำรฆ่าตัวตายในหอผู้ป่วยจิตเวช<br><br></p> ขนิษฐา สนเท่ห์ , พย.ม., วัชนี หัตถพนม, พย.ม., ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, พย.ม., จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ, พย.ม. Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247380 Mon, 16 Nov 2020 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของผู้พยายามฆ่าตัวตายในเขตบริการสุขภาพที่ 7 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247382 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องต่อกำรฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ อาศัยอยู่ในเขตบริการสุขภาพที่ 7</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบ case control study เพื่อเปรียบเทียบระหว่ำง กลุ่มผู้พยายามฆ่าตัวตาย (case) จำนวน 89 รำย กับกลุ่มประชำชนทั่วไป (control) จำนวน 267 รำย เก็บข้อมูลโดยกำรสัมภำษณ์เชิงโครงสร้ำงตำมแบบสำรวจปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องการฆ่าตัวตาย ที่พัฒนำโดยผู้วิจัยซึ่งมีค่ำควำมเชื่อมั่นเท่ำกับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Stata version 10 ด้วยสถิติเชิงพรรณนา odds ratio และ logistic regression โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ p&lt;0.05<br><strong>ผล:</strong> การวิจัยปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตาย ได้แก่ การมีสถานภาพสมรสหย่า/ร้าง/ หม้าย (OR = 7.77; 95%CI=1.18 – 51.22) การมีประวัติว่าในวัยเด็กเคยถูกทำร้ายร่างกายรุนแรง จากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู (OR = 11.44; 95%CI=1.67 – 78.17) และการมีความขัดแย้งของความ สัมพันธ์ในครอบครัวหรือกับเพื่อนบ้านในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (OR = 19.14; 95%CI= 3.78 - 96.94)ในส่วนปัจจัยปกป้องที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตายนั้น ได้แก่ การมีทักษะการแก้ไขปัญหา<br>(OR = 0.02; 95%CI=0.00 – 0.16) และเมื่อมีเรื่องทุกข์ใจ ไม่สบายใจ จะมีบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ คอยช่วยเหลือ (OR = 0.04; 95%CI=0.00 – 0.48)<br>สรุป: การป้องกันอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง บุคลากรด้านสาธารณสุขจะต้องเพิ่ม ความตระหนักและให้ความสำคัญในการส่งเสริมทักษะกำรแก้ไขปัญหา ค้นหาแหล่งสนับสนุนทำงสังคม และจิตใจเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านปัจจัยปกป้อง อันจะนำไปสู่การจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป กลยุทธ์เหล่ำนี้สำมำรถนาไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น<br><br></p> <p>&nbsp;</p> ปรารถนา คำมีสีนนท์,พย.ม, พรดุสิต คำมีสีนนท์, พย.ม., จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ, พย.ม., เอมหทัย ศรีจันทร์หล้า,พย.ม., สุนันทา คำชมพู,พย.ม, วัชรีวัลย์ เสาร์แก้ว,พย.บ. Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247382 Tue, 17 Nov 2020 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีความผิดปกติทางจิตจากกลุ่มโรคสมองเสื่อม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247384 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมกลุ่มกำรเสริมสร้างพลังอำนาจ ในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ความผิดปกติทางจิตจากกลุ่มโรคสมองเสื่อม<br><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เป็นกำรวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีอำการทางจิต จากกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด คัดเลือกแบบสุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้ำงพลังอำนำจ 4 ขั้นตอน ดำเนินกิจกรรมทุก 1 สัปดาห์ จำนวน 4 คร้ังๆ ละ 60-90 นาทีและกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับบริการปรึกษาและบำบัดทางจิตสังคมตามปกติ เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินพลังอำนาจและแบบประเมินการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิตเชิง พรรณนา การวิเคราะห์ ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และการิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA)<br><strong>ผล:</strong> พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พลังอำนาจ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการปรึกษา และบำบัดทางจิตสังคมตำมปกติอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติ ในระยะติดตาม 1 เดือน พบว่าทั้งสองกลุ่ม มีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยพลังอำนาจแห่งตนลดลง คิดเป็นร้อยละ 1.00 และ 9.30 ตำมลำดับ ส่วนแนวโน้ม คะแนนค่ำเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.50 และ 6.50 ตามลำดับ<br><strong>สรุป:</strong> โปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถเพิ่มพลังอำนาจและความสามารถในการปฏิบัติการ ดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มสูงขึ้น ได้&nbsp; &nbsp;ทีมสุขภาพสามารถนำ ไปใช้เป็นแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเป็นระยะๆ และต่อเนื่องให้เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจในกำรปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุต่อไป<br><br></p> อัชรา ฦๅชา, พย.บ., สุบิน สมีน้อย, ศษ.ม., วิภาดา คณะไชย พย.บ., สาคร บุบผาเฮ้า พย.บ., รัชชะฎา ธารจันทร์ พย.บ. Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247384 Tue, 17 Nov 2020 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย ที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/241792 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มารับบริกำร ส่องกล้องทำงเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลชำนิ<br>วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนโรงพยาบาลชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด (ST-5) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือน พฤศจิกายน 2562 จากโปรแกรม HosXP ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติเชิงบรรยายจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อาชีพ การศึกษา และการมีโรคประจำตัว กับระดับความเครียดและระดับภาวะซึมเศร้า ด้วย Chi-Square หาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ กับความเครียด และภาวะซึมเศร้ำด้วย Pearson Correlation<br><strong>ผล:</strong> จำกการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.30 ปี มีอาชีพทำนา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาระดับประถมศึกษา และมีโรคประจำตัว คิดเป็น ร้อยละ 90.00, 86.00 และ22.00 ตามลำดับ โรคประจำตัวที่พบส่วนใหญ่เป็นโรคหอบหืด ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้า พบว่าอายุมีความสัมพันธ์เชิงลบ ในระดับน้อยมาก อย่างไม่มีนัยสำคัญทำงสถิติ (r=-0.10, p value=0.48 และ r= -0.09, p value = 0.54)<br><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอำหารส่วนบนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โรคประจำตัวที่พบ ส่วนใหญ่คือโรคหอบหืด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องที่มีอายุ อยู่ในกลุ่มช่วงวัยทำงาน จะมีความเครียดและภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มช่วงวัยผู้สูงอายุ</p> ศิลา จิรวิกรานต์กุล พ.บ Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/241792 Tue, 17 Nov 2020 00:00:00 +0700 ผลการดำเนินงาน Line Official Account : @KHUIKUN https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247401 <p>-</p> ณัฐกร จำปาทอง, พบ., สุบิน สมีน้อย, ศษ.ม. Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247401 Tue, 17 Nov 2020 00:00:00 +0700 สองทศวรรษโครงการเฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของประเทศไทย โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์และกรมสุขภาพจิต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247402 <p>-</p> ศักรินทร์ แก้วเฮ้า พบ. Copyright (c) 2020 วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JSPT/article/view/247402 Mon, 16 Nov 2020 00:00:00 +0700