https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/issue/feed
วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
2024-11-28T11:25:11+07:00
จงกลณี ตุ้ยเจริญ (Mrs. Jongkolnee Tuicharoen)
jongkolnee@knc.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาลเป็นวารสารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราราชนนี นครราชสีมา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข วารสารนี้ได้มีระบบการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และได้เผยแพร่ผลบทความที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับสุขภาพ การสาธารณสุข การพยาบาล การศึกษาพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีละ 3 ครั้ง </p>
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/268521
ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในชุมชน
2024-08-01T14:47:24+07:00
พัชราภรณ์ ทะเกียง
tumpatchacha@gmail.com
อรอุมา อินทนงลักษณ์
annorn.mph10@gmail.com
ภาคิน บุญพิชาชาญ
dorae_tikky@hotmail.com
อรัญญา นามวงศ์
arunya.n@benpy.ac.th
จรรยา แก้วใจบุญ
junya.k@bcnpy.ac.th
<p>การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการดูแลภายใต้สภาวะความเครียด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่แพทย์วินิจฉัยให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านแบบประคับประคอง ในเดือนตุลาคม 2566 ถึงมีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 23 คน โดยใช้โปรแกรม G*power ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 อำนาจการทดสอบเท่ากับ 0.80 เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้านภาระการดูแลของ Zarit ทดลองใช้กับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน มีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ paired t–test ผลการวิจัยพบว่าก่อนการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตระดับไม่ดี มากที่สุดร้อยละ 43.5 ระดับดี ร้อยละ 30.4 และระดับปานกลาง ร้อยละ 26.1 ส่วนหลังการใช้โปรแกรมพบว่ามีคุณภาพชีวิตระดับดีขึ้น ร้อยละ 100 แตกต่างจากก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>= 9.095<em>, p-value</em>< 0.001) จากผลการศึกษาดังกล่าว งานการพยาบาลชุมชน ควรส่งเสริมการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p>
2024-09-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/270117
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
2024-09-16T10:40:43+07:00
ทินมณี คฤหะมาน
boomtinmanee@gmail.com
นภชา สิงห์วีรธรรม
noppcha@cmu.ac.th
จักรกฤษณ์ วังราษฎร์
jukkrit.w@cmu.ac.th
<p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 418 คน ใช้การสุ่มแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น โดยวิธีการคัดเลือกสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอธิบายและชี้แจงแบบสอบถามในแต่ละข้อคำถามอย่างละเอียดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สามารถสื่อสารภาษาพม่าได้ จำนวน 10 คน เพื่อให้มีความเข้าใจและถูกต้องในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเนื้อหาแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 10.13, <em>SD</em> = .57) มีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียระดับเหมาะสม (<em>M</em> = 1.63, <em>SD</em> = .45) นอกจากนี้ยังพบว่าอายุ (<em>p = </em>.043) ,ระดับการศึกษา (<em>p = </em>.039), รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว(บาท) (<em>p = </em>.014), ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ (<em>p = </em>.012) และการรับรู้อุปสรรคการป้องกันโรค (<em>p = </em>.007) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-10-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/269862
ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2024-10-28T10:11:20+07:00
เกสิรินทร์ ไทยเสน
chinniji_kung@hotmail.com
นงณภัทร รุ่งเนย
nongnaphat.ru@pi.ac.th
<p>โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ กลุ่มละ 29 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ 5 กิจกรรม คือ (1) การจัดการองค์ความรู้ (2) การเรียนรู้สู่การเป็นผู้นำ (3) การปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (4) การใช้องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ โดยจัดกิจกรรมเป็นเวลา 4 วัน วันละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง และ (5) กิจกรรมให้คำปรึกษาและติดตามผลลัพธ์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินทักษะการคัดกรอง และแบบประเมินทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.81 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก 0.84 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง (<em>M</em>=18.17, <em>SD</em>=1.79) ทักษะการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง(<em>M</em>=55.41, <em>SD</em>=0.83) และทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (<em>M</em>-26.90, <em>SD</em>=0.90) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังสิ้นสุดการทดลอง ผลการวิจัยนี้สนับสนุนว่าการพัฒนาสมรรถนะ อสม. โดยเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้อสม.มีความรู้ ทักษะการคัดกรองภาวะสุขภาพและความสามารถในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น</p>
2024-11-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/269249
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานต่อ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล
2024-11-19T15:36:44+07:00
สมจิตต์ เวียงเพิ่ม
somjitt@knc.ac.th
แสงนภา บารมี
sangnapa@knc.ac.th
กชกร ฉายากุล
somjitt@knc.ac.th
<p>ความฉลาดทางอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในรายวิชาจิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2/2566 จำนวน 163 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (<em>M</em> = 172.07, <em>SD</em> = 13.31) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (<em>M</em> = 61.78, <em>SD</em> = 4.50) ด้านเก่งและด้านสุขอยู่ในระดับปกติ (<em>M</em> = 56.11, <em>SD</em> = 6.13; <em>M</em> = 54.17, <em>SD</em> = 5.26) และความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังเข้าร่วมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานไม่แตกต่างกัน (<em>t </em>= 1.07, <em>p-value</em>> 0.5) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยแต่ละด้าน พบว่าด้านเก่ง ความฉลาดทางอารมณ์ด้านการรู้จักตนเองและมีแรงจูงใจในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = 3.33, <em>p-value</em> < 0.5) และด้านสุข ความฉลาดทางอารมณ์ด้านพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = 2.94, <em>p-value</em> < 0.5) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านการรู้จักตนเองและมีแรงจูงใจในตนเองและด้านพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลได้</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/271079
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
2024-11-28T11:25:11+07:00
ณัฐริกา มีศรี
ffnattarika1709@gmail.com
วารี กังใจ
wareek@buu.ac.th
พรชัย จูลเมตต์
pornchai@buu.ac.th
ชลธิชา จันทคีรี
ffnattarika1709@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ และโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในระยะหลังการทดลองมากกว่าในระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em><sub>24</sub> = -15.53, <em>p</em> < .01) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในระยะหลังการทดลอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em><sub>48</sub> = -7.90, <em>p</em> < .01) จึงสรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพสามารถเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุได้จริง ควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป<em> </em></p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/270062
ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา
2024-10-11T09:54:37+07:00
สุหทัย โตสังวาลย์
suhathai@knc.ac.th
ภรณ์ทิพย์ ผลกระโทก
pornthip@knc.ac.th
<p>ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรง อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรามีจำกัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบวัดความรู้สึกหว้าเหว่ UCLA แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม แบบวัดความรู้สึกต่อตนเอง และแบบสอบถามความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 19.23 ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเห็นคุณค่าในตนเองและ ความแข็งแกร่งในชีวิตมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ (<em>r</em> = -.276, <em>r</em> =-.386 และ <em>r</em> =-.400) ความหว้าเหว่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับภาวะซึมเศร้า (<em>r</em> = .496) นอกจากนี้ยังพบว่า ความหว้าเหว่สามารถพยากรณ์คะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุได้ (<em>beta </em>= .333, <em>p</em>= .006) ดังนั้นสถานสงเคราะห์คนชราควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางด้านสังคมเพื่อลดความหว้าเหว่และป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/271587
การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
2024-11-04T14:58:09+07:00
ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ
siriwan.m_ns@hotmail.com
นริสา สะมาแอ
ducky_2518@hotmail.com
ทัศณียา ไข้บวช
aungrin2011@gmail.com
ชฎาพร ฟองสุวรรณ
kobernara@hotmail.com
<p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการระหว่างมีนาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2567 แบ่งเป็น 4 ระยะ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพและทีมสหสาขา รวม 165 คน วิเคราะห์เนื้อหาจากสนทนา 2) พัฒนารูปแบบฯ ผ่านการตรวจสอบ ความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน (IOC = 0.87) 3) ทดลองใช้และปรับรูปแบบฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 47 คน ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา และค่าทีอิสระ ผลการวิจัยได้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า ทู-สปีด โมเดล (TO-SPEED Model) ครอบคลุม 7 องค์ประกอบ คือ 1) คิดการณ์ล่วงหน้า 2) จัดโครงสร้างคนและงาน 3) พัฒนาสมรรถนะด้วยการนิเทศ 4) มุ่งปฏิบัติงานตามมาตรฐาน 5) ความไวในการคัดกรองและดักจับ 6) ติดตามประเมินผลต่อเนื่อง และ 7) การประสานงานมุ่งผลลัพธ์ หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า การปฏิบัติของพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = -39.374, <em>p</em>< .001) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวปฏิบัติพยาบาลสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>< .001) ส่วนผู้ป่วย Septic shock ได้รับการเฝ้าระวังและดูแลตามแนวปฏิบัติพยาบาล การเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดขณะอยู่ในรพ. และการเสียชีวิตไม่มีความแตกต่างกัน</p>
2024-12-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/271251
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง
2024-11-04T14:48:38+07:00
มลฤดี แสนจันทร์
monruedee@smnc.ac.th
อนุชา ไทยวงษ์
Anucha@smnc.ac.th
นิสากร วิบูลชัย
nisakorn@knc.ac.th
<p>การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 88 ราย ที่มารับบริการ ณ ศูนย์การสุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบวัดการสนับสนุนจากครอบครัว แบบวัดการสนับสนุนจากบุคลลากรทางสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565-กันยายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สเปียร์แมน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับปานกลาง (<em>M</em> = 57.89 ±9.65) โดยระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารมีอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง (Beta = -0.511, <em>p</em> < 0.05) ในขณะเดียวกันยังพบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (<em>Beta</em> = 0.299, <em>p</em> < 0.05) และการสนับสนุนจากบุคลากรทางสุขภาพ (<em>Beta</em> = 0.197, <em>p</em> < 0.05) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ร้อยละ 77.20 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง โดยเน้นการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทั้งจากครอบครัวและบุคลลากรทางสุขภาพ รวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่มีระยะเวลาการเจ็บป่วยนานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล