วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm <p>วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาลเป็นวารสารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราราชนนี นครราชสีมา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข วารสารนี้ได้มีระบบการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และได้เผยแพร่ผลบทความที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับสุขภาพ การสาธารณสุข การพยาบาล การศึกษาพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีละ 3 ครั้ง </p> Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา) th-TH วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2730-2598 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา </p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจ บริหารยามอร์ฟีนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/261500 <p>การพัฒนาความรู้และเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากยามอร์ฟีนเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง หากบริหารยาผิดพลาด อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อ 2) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องยามอร์ฟีนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 3) ประเมินความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องยามอร์ฟีน 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสังเกตความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนในสถานการณ์จำลอง และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เครื่องมือข้อ 3-5 มีค่าความเที่ยงที่ยอมรับได้ ดังนี้ ข้อ 3 มีค่าคูเดอร์-ริชาร์ตสัน (KR-20) = .80 ข้อ 4 มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต (Interrater reliability) = 90.56% และข้อ 5 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (<img title="\alpha" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\alpha" />) = .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของสื่อ (E1/E2) = 85.42/92.33 นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องยามอร์ฟีนหลังการใช้สื่อ (<em>M</em> = 9.23, <em>SD</em> = 1.07) สูงกว่าก่อนการใช้สื่อ (<em>M</em> = 5.47, <em>SD</em> = 1.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>t</em>(29) = -12.471, <em>p</em> = .001) และความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 0.89, <em>SD</em> = 0.16) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์โดยรวมในระดับมาก (<em>M</em> = 4.37, <em>SD</em> = 0.44) ดังนั้น สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สามารถใช้เพิ่มความรู้และส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนของนักศึกษาพยาบาลได้</p> ธีรวัฒน์ ช่างปัด สุมลชาติ ดวงบุบผา Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-02 2023-10-02 29 3 1 18 ผลการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล ในนักศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/261743 <p>นักศึกษาพยาบาลใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียนและการใช้สื่อออนไลน์ โดยละเลยการออกกำลังกาย ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลจึงควรได้รับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพดี การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลักสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) โมเดล ในการสร้างเสริมสุขภาพตามกิจกรรมออกกำลังกายตามอัธยาศัยและ “3 อ.” คือ พฤติกรรมด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 529 คน ที่เลือกอย่างเจาะจง ได้รับการประเมิน ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว และความดันโลหิต แล้วคัดแยกนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย โดยประยุกต์ใช้ปิงปองสีจราจรชีวิต 7 สี เป็นตัวกำหนดระดับความผิดปกติของภาวะสุขภาพ กำหนดให้กลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบสอบถามการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว และเครื่องวัดความดันโลหิต ผลการวิจัย พบว่ากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล ทำให้เกิดประโยชน์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ คลายเครียด รู้สึกสดชื่น และ สนุกสนาน คิดเป็นร้อยละ 71.46, 70.70 และ 70.51 ตามลำดับ โดยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 4.50, <em>SD</em> = 0.70) หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรอบเอว และความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> = .001, .001, .004 ตามลำดับ) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างจากเดิม ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก สบช. โมเดลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อลดขนาดรอบเอว และความดันโลหิตในนักศึกษาพยาบาลได้</p> อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ กัญยา ทูลธรรม Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-12 2023-10-12 29 3 19 36 ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/261883 <p>การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาขององค์กรที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้จำนวน 128 คน และกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า .50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งชุดเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหารปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>r</em> = 0.628, <em>p </em>&lt; .001), (<em>r </em>= 0.681, <em>p </em>&lt; .001) ตามลำดับ ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ 2) ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม 3) ด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ และ4) ด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ได้ร้อยละ 51.5 (<em>R<sup>2</sup></em> = 0.515, <em>p</em> &lt; .001) ผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผน พัฒนา แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานต่อไป</p> พงศธร โตสังวาลย์ ประจักร บัวผัน Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-20 2023-10-20 29 3 37 55