วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm <p>วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาลเป็นวารสารของวิทยาลัยพยาบาลบรมราราชนนี นครราชสีมา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข วารสารนี้ได้มีระบบการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และได้เผยแพร่ผลบทความที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับสุขภาพ การสาธารณสุข การพยาบาล การศึกษาพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีละ 3 ครั้ง </p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา </p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> jongkolnee@knc.ac.th (จงกลณี ตุ้ยเจริญ (Mrs. Jongkolnee Tuicharoen)) piyapruek@knc.ac.th (ปิยะพฤกษ์ พฤกษชาติ (Mr. Piyapruek Prueksachat))) Thu, 12 Sep 2024 13:43:31 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/268521 <p>การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการดูแลภายใต้สภาวะความเครียด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่แพทย์วินิจฉัยให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านแบบประคับประคอง ในเดือนตุลาคม 2566 ถึงมีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 23 คน โดยใช้โปรแกรม G*power ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 อำนาจการทดสอบเท่ากับ 0.80 เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้านภาระการดูแลของ Zarit ทดลองใช้กับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน มีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ paired t–test ผลการวิจัยพบว่าก่อนการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตระดับไม่ดี มากที่สุดร้อยละ 43.5 ระดับดี ร้อยละ 30.4 และระดับปานกลาง ร้อยละ 26.1 ส่วนหลังการใช้โปรแกรมพบว่ามีคุณภาพชีวิตระดับดีขึ้น ร้อยละ 100 แตกต่างจากก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>= 9.095<em>, p-value</em>&lt; 0.001) จากผลการศึกษาดังกล่าว งานการพยาบาลชุมชน ควรส่งเสริมการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> พัชราภรณ์ ทะเกียง, อรอุมา อินทนงลักษณ์, ภาคิน บุญพิชาชาญ, อรัญญา นามวงศ์, จรรยา แก้วใจบุญ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/268521 Thu, 12 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/270117 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 418 คน ใช้การสุ่มแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น โดยวิธีการคัดเลือกสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอธิบายและชี้แจงแบบสอบถามในแต่ละข้อคำถามอย่างละเอียดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สามารถสื่อสารภาษาพม่าได้ จำนวน 10 คน เพื่อให้มีความเข้าใจและถูกต้องในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเนื้อหาแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M</em> = 10.13, <em>SD</em> = .57) มีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียระดับเหมาะสม (<em>M</em> = 1.63, <em>SD</em> = .45) นอกจากนี้ยังพบว่าอายุ (<em>p = </em>.043) ,ระดับการศึกษา (<em>p = </em>.039), รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว(บาท) (<em>p = </em>.014), ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ (<em>p = </em>.012) และการรับรู้อุปสรรคการป้องกันโรค (<em>p = </em>.007) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ทินมณี คฤหะมาน, นภชา สิงห์วีรธรรม, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/270117 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/269862 <p>โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ กลุ่มละ 29 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ 5 กิจกรรม คือ (1) การจัดการองค์ความรู้ (2) การเรียนรู้สู่การเป็นผู้นำ (3) การปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (4) การใช้องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ โดยจัดกิจกรรมเป็นเวลา 4 วัน วันละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง และ (5) กิจกรรมให้คำปรึกษาและติดตามผลลัพธ์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินทักษะการคัดกรอง และแบบประเมินทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.81 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก 0.84 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง (<em>M</em>=18.17, <em>SD</em>=1.79) ทักษะการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง(<em>M</em>=55.41, <em>SD</em>=0.83) และทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (<em>M</em>-26.90, <em>SD</em>=0.90) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังสิ้นสุดการทดลอง ผลการวิจัยนี้สนับสนุนว่าการพัฒนาสมรรถนะ อสม. โดยเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้อสม.มีความรู้ ทักษะการคัดกรองภาวะสุขภาพและความสามารถในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น</p> เกสิรินทร์ ไทยเสน, นงณภัทร รุ่งเนย Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/269862 Thu, 21 Nov 2024 00:00:00 +0700