https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/issue/feed วารสารสาธารณสุขล้านนา 2023-11-10T17:33:40+07:00 นารถลดา ขันธิกุล lannadpc10@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>Focus and Scope (นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p>วารสารสาธารณสุขล้านนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ยินดีรับบทความวิชาการและผลงานวิชาการที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และภัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเน้นเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่หน่วยงานด้านการแพทย์ สาธารณสุข และผู้สนใจ โดยเรื่องที่จะส่งตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตามลำดับก่อน หลัง</p> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทความวิชาการทั่วไป (General article) รายงานผู้ป่วย (Case report) และการสอบสวนโรค (Outbreak investigation) </span></p> <p> </p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี โดยไม่เก็บค่าธรมเนียมการตีพิมพ์</span></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข</span></li> </ul> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/259318 การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการจัดตั้งสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ 2022-09-14T15:27:55+07:00 ทรงยศ คำชัย eittsongyos@gmail.com สุธิดา ทาระคำ eittsongyos@gmail.com ทศพล จีโน eittsongyos@gmail.com อารีรัตน์ บุญรักษา eittsongyos@gmail.com วงศ์อัมพร ภิญญวงค์ eittsongyos@gmail.com จิรวรรณ ปัญญาปิน eittsongyos@gmail.com ณัฐภูมิ รู้ดี eittsongyos@gmail.com <p>วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลดอยเต่า พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจำนวนมาก ในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการจัดตั้งสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ประเภทสำรอง ในอำเภอดอยเต่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 จึงดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย อธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และเสนอแนะมาตรการควบคุมโรคและป้องกันโรคที่เหมาะสม โดยทำการศึกษาในประชากรทั้งหมด 93 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ทบทวนเอกสารการรักษาจากโรงพยาบาล ตรวจสอบผลการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และการศึกษาทางสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ มัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการสอบสวน พบผู้ป่วยทั้งหมด 64 ราย อัตราป่วยร้อยละ 68.82 อาการหลักที่พบ ได้แก่ ถ่ายเหลว ปวดมวนท้อง และคลื่นไส้ ระยะฟักตัวเฉลี่ย 16 ชั่วโมง ลักษณะการอบรมแบบเข้าค่าย ผู้เข้าอบรมรับประทานอาหารเหมือนกันทุกมื้อ จึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ สรุปสาเหตุที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุจากข้อมูลอื่นๆ พบว่า การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ จากเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส โดยอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของการระบาด คือ ข้าวมันไก่ ซึ่งเป็นอาหารมื้อกลางวันของวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากตรวจพบเชื้อในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ส่วนด้านสภาพแวดล้อม พบว่าสถานที่และกระบวนการปรุงเอื้อต่อการสัมผัสเชื้อ คือ พื้นสถานที่ปรุงเป็นพื้นดินแข็ง ปรุงเสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้ก่อนตักใส่ถุง และอาจมีการนำน้ำจิ้มที่เหลือมาผสม จึงให้คำแนะนำเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล สุขาภิบาลอาหาร และแนวทางการสอบสวนโรคกรณีมีการรับประทานอาหารเหมือนกันทุกมื้อ</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/265449 ความพร้อมของผู้สูงอายุในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในจังหวัดเชียงใหม่ 2023-09-21T14:46:31+07:00 นารถลดา ขันธิกุล nardlada@gmail.com อัมพิกา กุยวารี nardlada@gmail.com ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์ nardlada@gmail.com อังคณา แซ่เจ็ง nardlada@gmail.com ปิยะรัตน์ บุตราภรณ์ nardlada@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้สูงอายุในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการประเมินผู้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในพื้นที่ 10 ตำบลตัวอย่างของ 5 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ การป้องกัน กับความพร้อม โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Univariate analysis และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ มีการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม และมีความพร้อมในการป้องกันการหกล้ม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 58.33, 94.79 และ 89.06 ตามลำดับ ซึ่งผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 36.72 ปัจจัยที่สามารถทำนายความพร้อมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มคือ ผู้ที่ออกกำลังกายมีความพร้อมในการป้องกันการหกล้มเป็น 4.39 เท่าของผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย นอกจากนี้พบว่าเพศหญิงเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.75 เท่าของเพศชาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.26 เท่าของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีประวัติเคยหกล้มเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.69 เท่าของผู้ไม่เคยหกล้ม ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ที่เคยหกล้มและผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้สามารถป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ลดการบาดเจ็บที่ซ้ำซ้อนและรุนแรง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/263469 ผลของการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพ และการสอนกลับต่อผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 2023-06-06T01:21:57+07:00 เพ็ญศรี ปัญจขันธ์ Nursepensri08@gmail.com อภิชาติ ใจใหม่ N_Apichart@yahoo.com กฤตพัทธ์ ฝึกฝน krittapat.f@bcnpy.ac.th <p style="font-weight: 400;">การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ วิธีการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกระดับน้ำตาลสะสมในเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมน-วิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกายดีกว่าก่อนทดลอง และมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและเส้นรอบเอวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) โดยทั้งสองกลุ่มมีค่าดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีร่วมกับการใช้เทคนิคการถาม 3 คำถามสุขภาพและการสอนกลับ เป็นทางเลือกหนึ่งของวิธีการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและลดเส้นรอบเอวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/264859 ความสัมพันธ์และเปรียบเทียบการรับรู้ในการบริหารยากับการมีส่วนร่วมในการบริหารยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2023-08-29T10:42:51+07:00 อิสรีย์ ปัญญาวรรณ kpanyawan@gmail.com อธิษฐาน สุมาลย์เจริญ kpanyawan@gmail.com รุจี รัตนเสถียร kpanyawan@gmail.com สุภาภรณ์ บุณโยทยาน kpanyawan@gmail.com อุมาพร จำปาไหล kpanyawan@gmail.com ปรีชญา นันตะรัตน์ kpanyawan@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบการรับรู้ในการบริหารยากับการมีส่วนร่วมในการบริหารยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 202 คน ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ในการบริหารยา และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในการบริหารยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน independent sample t-test และ One - way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยการรับรู้ในการบริหารยาอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการบริหารยา อยู่ในระดับมากที่สุด การรับรู้ในการบริหารยากับการมีส่วนร่วมในการบริหารยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์ทางบวก และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ต่างกันมีการรับรู้ในการบริหารยาและมีส่วนร่วมในการบริหารยาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ในการบริหารยาและการมีส่วนร่วมในการบริหารยา อาจมีส่วนช่วยให้เกิดการจัดการความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรค และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงดีขึ้น</p> <p> </p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/261775 ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 2023-03-14T13:59:36+07:00 ศุภมาส อำพล supamatcm@outlook.com สุพัตรา ปวนไฝ supamatcm@outlook.com สายนที ไทยสวัสดิ์ supamatcm@outlook.com ปภัสรา มิตตา supamatcm@outlook.com <p class="Default" style="text-indent: 36.0pt;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โรคหลอดเลือดสมองโดยการเยี่ยมบ้าน ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 90 ราย โดยการเยี่ยมบ้านแบบทางไกล จำนวน 45 ราย และการเยี่ยมบ้านแบบลงพื้นที่จริง จำนวน 45 ราย ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมบ้านแบบทางไกลและการเยี่ยมบ้านแบบลงพื้นที่จริงไม่แตกต่างกัน และการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเยี่ยมบ้านทั้งแบบทางไกลและแบบลงพื้นที่จริง มีระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และระดับความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผลการเยี่ยมบ้านทั้งแบบทางไกลและแบบลงพื้นที่จริง สามารถเพิ่มระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดระดับความพิการได้ ซึ่งรูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบทางไกล สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลและติดตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/260975 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 2023-01-20T17:04:56+07:00 พรวิภา ยาสมุทร์ yasamutpornwipa@gmail.com วงจันทร์ นันทวรรณ yasamutpornwipa@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน ที่มารับบริการ ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบจับฉลาก ตามเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 105 คน ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเมษายน 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ใช้ระยะเวลา 3 เดือน 2) แบบบันทึกเป้าหมายและกิจกรรมที่ตัดสินใจเลือก 3) ไวนิลไขมันในเลือด 4) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ดังนั้นทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนให้มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/258875 การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 2022-08-08T12:59:55+07:00 จิรายุทร์ พุทธรักษา chirayutputtharaksa@gmail.com <p>การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในพื้นที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการคัดกรองและรายงานการเฝ้าระวังวัณโรคปอดผ่านโปรแกรม NTIP ร่วมกับคุณลักษณะเชิงคุณภาพและคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โดยการสุ่มตัวอย่างฐานข้อมูลเวชระเบียนจากโปรแกรม HOSxP จำนวน 3,994 ฉบับ เปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบเฝ้าระวังผ่านโปรแกรม NTIP ในช่วงปี 2560-2564 พบว่า มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามจำนวน 406 ราย อัตราส่วนผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกต่อผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะลบเท่ากับ 1.52 : 1 ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด พบว่า การคัดกรองและรายงานผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอดทำได้สะดวกและรวดเร็ว ระบบเฝ้าระวังมีความง่ายต่อการปฏิบัติงาน มีความยืดหยุ่น มีความมั่นคง เป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด พบว่า ค่าความไวร้อยละ 95.57 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 98.23 ความทันเวลาของการรายงานร้อยละ 94.59 ข้อมูลที่รายงานมีความครบถ้วนร้อยละ 100.00 และมีความถูกต้องร้อยละ 97.27 ข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นตัวแทนที่ดี เนื่องจากคุณลักษณะเชิงปริมาณทุกตัวที่กล่าวมาข้างต้นจัดอยู่ในระดับดีมาก จึงสามารถสรุปได้ว่า ระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่มีประสิทธิภาพ</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/263501 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ 2023-06-08T09:31:04+07:00 สิทธิพร เพชรทองขาว sittiporn_pet@nstru.ac.th อัญชิสา สุขบาล 6211436035@nstru.ac.th ธีราพร สังข์รอด 6211436037@nstru.ac.th ฐิตินันท์ ชูเมฆ 6211436046@nstru.ac.th <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว จำนวน 33 คน คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการ 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ การให้ชมสื่อวีดิทัศน์ การสาธิต การร่วมอภิปราย และการเยี่ยมติดตาม รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองตามหลัก 3อ.1ย. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนต่างๆ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตนที่ดี การรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด การรับประทานยา และการกระทำกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบบริการเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ดีขึ้น</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/262936 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 2023-07-03T15:26:06+07:00 เจษฎาภรณ์ สุธรรม fang_phc60@hotmail.com วราภรณ์ บุญเชียง waraporn@boonchieng.net อักษรา ทองประชุม thongprachuma@gmail.com <p>ประเทศไทยมีพระสงฆ์มากถึงสามแสนรูปที่มีปัญหาด้านสุขภาพ การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ที่อายุพรรษาตั้งแต่ 1 พรรษาขึ้นไป การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินภาวะสุขภาพ แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบตามสะดวก จำนวน 127 รูป การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประเด็นพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ คัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์แบบอุปนัย และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปานกลาง ความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value&lt;0.05) สำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า พระสงฆ์ฉันอาหารพื้นบ้านประเภทผักต่างๆ ตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ ออกกำลังกายตามกิจวัตรด้วยการบิณฑบาต ทำงานภายในวัด กวาดลานวัด มีการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ และใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจัดการความเครียด ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ให้คลอบคลุมทั้งทางกายและทางใจ ส่งเสริมให้มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและบริบทพื้นที่ของพระสงฆ์</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/263977 คนตากไม่ทิ้งกัน: การจัดการภาวะวิกฤตรับผู้ป่วยโควิด 19 กลับบ้าน 2023-10-04T11:05:31+07:00 วิทยา พลสีลา kittiphati@gmail.com กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด kittiphati@gmail.com ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์ kittiphati@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานในการจัดการภาวะวิกฤตรับผู้ป่วยโควิด 19 กลับบ้านในพื้นที่จังหวัดตากระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 เป็นการศึกษาผสมผสานระหว่างการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการจัดเวทีถอดบทเรียนการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการคนตากไม่ทิ้งกัน และการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับบริการในช่วงเวลาดังกล่าว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำเข้า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ประสานงานรับผู้ป่วยโควิด 19 ปัจจัยด้านกระบวนการมีการแบ่งการทำงานระดับจังหวัดถึงระดับชุมชน ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่าย และการสื่อสารในชุมชน ปัจจัยด้านผลผลิต มีผู้รับบริการติดต่อผ่านศูนย์คนตากไม่ทิ้งกัน 2,808 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อกลับเข้ารักษาตัวที่จังหวัดตาก ร้อยละ 19.4 (546 ราย) เดินทางโดยรถโรงพยาบาล/รถทหาร/รถมูลนิธิ ร้อยละ 80.2 (438 ราย) รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 16.3 (89 ราย) เข้ารับการรักษารพ.สนามจังหวัดตาก ร้อยละ 76.4 (417 ราย) รองลงมาที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 23.6 (129 ราย) ส่วนปัจจัยด้านผลลัพธ์พบว่าสามารถบริหารจัดการให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบตรวจรักษาที่เร็ว ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และลดการแพร่กระจายโรค ปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่าเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ดังนั้นองค์ประกอบที่ควรต้องส่งเสริมคือ การให้ชุมชนกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงานในสถานการณ์วิกฤติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถทำการตัดสินใจ และแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/265450 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตและการทำนายรูปแบบการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 2023-10-10T14:24:58+07:00 กฤษณะ สุกาวงค์ kitsana.suga@gmail.com นำพร อินสิน kitsana.suga@gmail.com พิชิต ชวนงูเหลือม kitsana.suga@gmail.com พูลทรัพย์ โพนสิงห์ kitsana.suga@gmail.com กัญชรส วังมุข kitsana.suga@gmail.com <p>อุบัติเหตุการจราจรทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตในประชาชนทั่วโลก การวิจัยเชิงวิเคราะห์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน และเพื่อทำนายการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ในกลุ่มผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนในกลุ่มตัวอย่างที่ขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 72,015 คน วิเคราะห์โมเดลด้วยสมการถดถอยโลจิสติก และสร้างโมเดลด้วย Machine learning แบบมีผู้สอนโดยใช้ภาษาไพทอน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt;0.05) ได้แก่ เพศ อายุ ลักษณะการชนที่มีคู่กรณี อำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประเภทถนน ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ การสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย การดื่มแอลกอฮอล์ และประเภทยานพาหนะของผู้ขับขี่ สำหรับโมเดลเชิงทำนายการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนพบว่า หากเกิดอุบัติเหตุที่มีองค์ประกอบครบทุกปัจจัยที่กล่าวมา โมเดลจะมีความแม่นยำในการทำนายการเสียชีวิต มีความเที่ยงตรง มีความไว และมีความแม่นยำเฉลี่ย ร้อยละ 92.50, 89.00, 97.00 และ 93.00 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแยกรายปัจจัยพบว่า ปัจจัยบุคคลมีค่าความแม่นยำสูงสุด ร้อยละ 65.40 และความแม่นยำเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 67.00 ดังนั้นข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้วางแผนเพื่อลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนต่อไป</p> 2023-11-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขล้านนา