วารสารสาธารณสุขล้านนา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ
<p><strong>Focus and Scope (นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p>วารสารสาธารณสุขล้านนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ยินดีรับบทความวิชาการและผลงานวิชาการที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และภัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเน้นเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่หน่วยงานด้านการแพทย์ สาธารณสุข และผู้สนใจ โดยเรื่องที่จะส่งตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตามลำดับก่อน หลัง</p> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทความวิชาการทั่วไป (General article) รายงานผู้ป่วย (Case report) และการสอบสวนโรค (Outbreak investigation) </span></p> <p> </p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี โดยไม่เก็บค่าธรมเนียมการตีพิมพ์</span></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข</span></li> </ul>
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
th-TH
วารสารสาธารณสุขล้านนา
1686-7076
-
ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269375
<p>โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคประจำถิ่นที่ประชาชนจำเป็นต้องป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยสนับสนุน ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 15 – 69 ปี จาก 8 ตำบลของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 333 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยในระดับดี ร้อยละ 54.65 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) ได้แก่ ความรู้ในการใช้หน้ากากอนามัย ความถี่ของการใช้หน้ากากอนามัย การรับรู้นโยบายของภาครัฐ แรงสนับสนุนทางสังคม แรงสนับสนุนจากครอบครัว และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัย และพบว่าผู้ที่ใช้หน้ากากอนามัยเป็นประจำกรณีมีญาติหรือแขกมาพบที่บ้าน/ที่พักจะมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เป็น 2.79 เท่าของประชาชนที่มีการใช้หน้ากากอนามัยเป็นบางครั้ง/ไม่ใส่เลย และผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับมากจะมีพฤติกรรมการใช้หน้ากากเพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 เป็น 1.81 เท่า ของประชาชนที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับน้อย ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรประชาสัมพันธ์นโยบายและข่าวสารองค์ความรู้ ส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมและแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง</p>
ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์
เกสรา ไชยล้อม
นารถลดา ขันธิกุล
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
1
14
-
การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพทางการหายใจจากการรับสัมผัสสารพีเอเอช ที่เกาะกับอนุภาคฝุ่นแยกขนาดในอากาศช่วงฤดูหมอกควัน พื้นที่เขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269043
<p>หมอกควันในฤดูแล้งทางภาคเหนือจะแขวนลอยทั้งฝุ่นและละอองสารก่อให้เกิดวิกฤติต่อระบบทางเดินหายใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณอนุภาคฝุ่นแยกขนาด และความเข้มข้นของสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เกาะกับอนุภาคฝุ่นแต่ละขนาดในอากาศ และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารพีเอเอชในอนุภาคฝุ่นจากการหายใจ โดยเก็บตัวอย่างอนุภาคฝุ่นต่อเนื่อง 48 ชั่วโมงด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอนุภาคฝุ่นที่สามารถแยกอนุภาคได้ 9 ช่วงในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงฤดูหมอกควัน ปี 2565 (กุมภาพันธ์-เมษายน) วิเคราะห์หาความเข้มข้นของสารพีเอเอช 16 ตัว โดยใช้เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพทางการหายใจตามแนวทางขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอเมริกาพบความเข้มข้นฝุ่นรวมทั้ง 9 ขนาด ระหว่าง 36.86-126.87 มคก./ลบ.ม. (เฉลี่ย 84.28±27.32 มคก./ลบ.ม.) โดยอนุภาคฝุ่นขนาด 0.65-0.43 ไมครอน มีสัดส่วนสูงสุด ร้อยละ 18.08 สารพีเอเอชรวมที่พบใน PM<sub>10</sub> มีความเข้มข้นระหว่าง 1.30-3.19 นนก./ลบ.ม. (เฉลี่ย 2.14±0.51 นนก./ลบ.ม.) โดยพบสัดส่วนสูงสุดในอนุภาคฝุ่นขนาด 0.60.43 ไมครอน ร้อยละ 20.37 ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารพีเอเอชผ่านการหายใจ พบค่าความเสี่ยงในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยง 7.19x10<sup>-5</sup> และพบค่าความเป็นพิษสูงสุดในฝุ่นละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.1 ไมครอนเมื่อพิจารณาค่าความเสี่ยง (ILCR) ตามกลุ่มวัยพบว่า เด็กอายุ 1-15 ปี มีค่าความเสี่ยงสูงกว่าผู้ใหญ่อายุ 16-70 ปี 1-2 เท่า ดังนั้นหากความเข้มข้นของฝุ่นละเอียดสูงขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจและความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจากการหายใจมากขึ้นในกลุ่มวัยเด็ก</p>
วิทวัส อินเสียน
ณัตติพร ยะบึง
สมพร จันทระ
ดวงเดือน เทพนวล
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
15
30
-
การสำรวจการปนเปื้อนเชื้อปรสิตและการลดเชื้อปรสิตในผักสด ที่จำหน่ายในตลาดสด จังหวัดเลย
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/264474
<p>ผลผลิตการเกษตรที่จำหน่ายอยู่ในตลาดทั่วไปขณะนี้ยังคงพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อปรสิตการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสดที่จำหน่ายในตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดเลย และทดสอบวิธีการล้างผักในการลดการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผักสด จำนวน 96 ตัวอย่าง จากผัก 8 ชนิด ได้แก่ สะระแหน่ โหระพา ขึ้นฉ่าย รากขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี รากผักชี และผักกาดหอม ตรวจด้วยวิธีการตกตะกอน (Sedimentation technique) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการล้างผักโดยใช้สถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างผักสดทั้งหมดมีการปนเปื้อนเชื้อปรสิต ร้อยละ 64.58 โดยผักสดที่พบการปนเปื้อนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โหระพา สะระแหน่ และผักกาดหอม ร้อยละ 100, 100 และ 66.67 ตามลำดับ เชื้อปรสิตที่พบปนเปื้อนมากที่สุดคือ ไข่พยาธิไส้เดือนกลม ร้อยละ 59.38 รองลงมาคือ ไข่พยาธิตัวตืด ร้อยละ 8.33 ตัวอ่อนพยาธิสตรองจิลอยดิส ร้อยละ 6.25 ตัวอ่อนพยาธิไม่ระบุชนิด ร้อยละ 5.21 ไข่พยาธิปากขอ ร้อยละ 1.04 และไม่พบเชื้อโปรโตซัว สำหรับวิธีการล้างผัก 5 วิธี สามารถลดการปนเปื้อนเชื้อปรสิตได้เมื่อเทียบกับการไม่ล้าง โดยวิธีการล้างแบบแช่น้ำส้มสายชู น้ำเกลือ น้ำเบกกิ้งโซดา น้ำเปล่า และน้ำยาล้างผัก สามารถลดจำนวนเชื้อปรสิตได้แตกต่างจากวิธีการแช่น้ำเปล่า และการไม่ล้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำสื่อให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสดและแนะนำการล้างผักให้สะอาดก่อนการบริโภค</p>
วรณัน แส่วภูเขียว
พิจิตรา กุนเสน
ธัญญลักษณ์ รักบ้านดอน
มะลิวัลย์ กระจ่างศรี
จันทิมา กันพนม
บุญเลี้ยง สุพิมพ์
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
31
40
-
พฤติกรรมการเล่นอีสปอร์ตและผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/267330
<p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นอีสปอร์ต ผลกระทบจากการเล่นอีสปอร์ต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลกระทบการเล่นอีสปอร์ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 190 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.00 อายุเฉลี่ย 16.74 ปี (S.D.=0.90) เล่นอีสปอร์ต 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 41.60 ช่วงเวลาที่เล่นอีสปอร์ต คือ เวลา 18.01-24.00 น. ร้อยละ 43.90 และเล่นที่บ้านมากที่สุด ร้อยละ 63.60 โดยจะเล่นกับเพื่อนร้อยละ 52.00 ส่วนเกมอีสปอร์ตที่ชอบเล่นคือ MOBA ร้อยละ 26.80 และ BATTLE ROYAL ร้อยละ 26.60 พฤติกรรมการเล่นอีสปอร์ตในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 คะแนน (S.D.=0.94) พบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้เวลาว่างในการเล่นอีสปอร์ตอยู่ในระดับมาก ( =4.51; S.D.=0.80) สำหรับผลกระทบเชิงลบจากการเล่นอีสปอร์ตของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 คะแนน (S.D. =0.94) โดยได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมากที่สุด ( =2.95; S.D.=0.99) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างพฤติกรรมการเล่นอีสปอร์ตกับผลกระทบจากการเล่นอีสปอร์ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรีในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.876, <em>p</em><0.01) ผลการศึกษาสามารถนำเป็นแนวทางสำหรับโรงเรียนและผู้ปกครองในการเฝ้าระวังพฤติกรรมการเสพติดอีสปอร์ตของนักเรียนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ จากการเล่นอีสปอร์ตในระยะยาวต่อไป</p>
สุวัฒนา เกิดม่วง
ศักดิกร สุวรรณเจริญ
สืบพงษ์ กาฬภักดี
สุวิทย์ คุณาวิศรุต
ปิยะ ทองบาง
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
41
52
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266013
<p>การดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขและสังคมที่สำคัญ โดยเฉพาะในนิสิตนับเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยและการเสียชีวิต การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต และเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 388 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสูง ร้อยละ 99.2 มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.9 มีระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต้องแก้ไข ร้อยละ 85.6 ด้านปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ และการศึกษา มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) ซึ่งระดับทัศนคติ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมความรู้และทัศนคติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตต่อไป</p>
พาขวัญ ทรัพย์ผึ้ง
อรวรรณ พระโพธิ์
ชฎาพร วิศรียา
ชุติมณฑน์ เขียวเนตร
กฤษติญา ปาลี
มนัสชยา วรรณแก้ว
วทัญญู โพธิรักษา
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
53
62
-
การทดสอบสมรรถภาพทางกายและปัจจัยสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ของวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/264762
<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถภาพทางกายและปัจจัยสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนของวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 81 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า การทดสอบการนั่งงอตัวของเพศชายมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 18.2 เพศหญิง ร้อยละ 14.3 เพศชายสามารถแตะมือด้านหลังโดยมือขวาและมือซ้ายอยู่บนได้สูงกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 18.2 และร้อยละ 36.7 ตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิงสามารถแตะมือด้านหลังโดยมือขวาและมือซ้ายอยู่บนได้สูงกว่ามาตรฐาน (มือขวา ร้อยละ 8.6 มือซ้าย ร้อยละ 26.7) จากการทดสอบการก้าวขึ้น-ลง 3 นาที โดยการนับชีพจรเป็นจำนวนครั้งต่อนาที พบว่า เพศหญิง ช่วงอายุ 18-29 ปีอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 17.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพเสริม (AOR=1.55, 95%CI= 1.03-21.58) รายได้ต่อเดือน (AOR=1.15, 95%CI=1.06-9.5) การออกกำลังกาย (AOR=1.87, 95%CI=1.22-34.51) ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรจัดสถานที่ออกกำลังกายให้เหมาะสมแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีพื้นที่ในการออกกำลังกายที่สะดวกและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม</p>
นฤมล กิ่งแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
63
75
-
วัณโรค: การพัฒนากระบวนการป้องกันควบคุมวัณโรคปอดในเรือนจำ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/265701
<p>การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เพื่อศึกษากระบวนการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคปอดในเรือนจำ ค้นหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการคัดกรองวัณโรคปอด และศึกษาประสิทธิผลของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังรายเก่าในเรือนจำ 14 แห่งจากพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 22,000 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 - มีนาคม 2566 โดยศึกษากระบวนการและผลการคัดกรองวัณโรคปอดด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของผู้ต้องขังด้วยรถเอกซเรย์ระบบดิจิทัล ทุก 3, 6 และ 12 เดือน ผลการตรวจเสมหะด้วย GeneXpert MTB/RIF หรือ RT-PCR ในรายที่ AI พบค่าความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอดเข้าได้กับวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์ประสิทธิผลระบบปัญญาประดิษฐ์ ด้วยสถิติ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบผู้ป่วยวัณโรคปอดทุกระยะของการคัดกรองทุก 3 และ 6 เดือน ร้อยละ 0.62 และ 0.63 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการคัดกรองทุก 12 เดือน ที่จะพบผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 0.22 ในเรือนจำที่มีระบบการคัดกรองผู้ต้องขังแรกรับอย่างเข้มงวดไม่พบผู้ต้องขังรายเก่าป่วยวัณโรคปอด ระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถแยกกลุ่มผู้ต้องขังที่เสมหะพบเชื้อวัณโรคออกจากกลุ่มเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> <0.05) ผู้ป่วยวัณโรคปอด เข้าสู่ระบบการรักษาช้าเกินกว่า 29 วัน ร้อยละ 56.10 การถ่ายภาพรังสีทรวงอกรอบ 3 และ 6 เดือน และอ่านฟิล์มด้วย AI สามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดในเรือนจำได้เร็วกว่าเดิมที่ดำเนินการ 1 ครั้งต่อปีและอ่านฟิล์มโดยแพทย์ ดังนั้นโรงพยาบาลควรคัดกรองผู้ต้องขังอ่านฟิล์มด้วยระบบ AI และคัดกรองซ้ำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการชันสูตรโรครองรับปริมาณการตรวจเสมหะที่เพิ่มขึ้นต่อไป</p>
เพ็ญศรี ไผทรัตน์
เอนก มุ่งอ้อมกลาง
ธนาคาร แถมเจริญ
เกศสุดา อำพริ้ง
กนกวรรณ จิ๋วเชื้อพันธุ์
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
76
86
-
การศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรค ก่อนและหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/263653
<p> การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรคก่อนและหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านการคัดกรองค้นหาเชิงรุกและด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิผู้ป่วยวัณโรคจากโปรแกรมข้อมูลรายงานวัณโรคของประเทศไทย ที่ขึ้นทะเบียนรักษาปี 2562 จำนวน 333 ราย และ ปี 2565 จำนวน 234 ราย และศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องงานวัณโรค ในช่วงการระบาดโรค COVID-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานวัณโรคก่อนและหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล ก่อนการระบาด (ปี 2562) และ หลังการระบาด (ปี 2565) พบว่า ด้านการคัดกรองเชิงรุกด้วยวิธีถ่ายภาพรังสีทรวงอกในกลุ่มเสี่ยง ลดลงจาก ร้อยละ72.27 เป็นร้อยละ 55.78 การขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท ลดลงจาก ร้อยละ 11.41 เป็นร้อยละ 7.18 ด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า ผู้ป่วยได้รับการตรวจเสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษา ลดลง จากร้อยละ 66.07 เป็นร้อยละ 47.86 ซึ่งในช่วงมีการระบาดโรค COVID-19 การคัดกรอง ค้นหาและติดตามผู้ป่วยได้ ทำได้ร้อยละ 45.95 ได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณเหมือนช่วงที่ไม่มีการระบาดฯ ร้อยละ 47.22 ตามลำดับ จึงได้มีการลดจำนวนผู้รับบริการ ลดระยะเวลาให้บริการ รวมทั้งลดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกัน ทำไห้ผลการดำเนินงานหลังการระบาดฯ ลดลง โดยเฉพาะด้านการคัดกรองเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ทำให้เข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า อาจส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรควัณโรค ดังนั้นควรมีการให้บริการวัณโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน หากเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่อไป</p>
ฉัตรศิริ พิสิษฐ์กุล
สมภพ เมืองชื่น
อภิรุจี เกนทา
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
87
98
-
การวิเคราะห์การกระจายของสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกี เพื่อการเฝ้าระวังควบคุมโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ปี 2557 – 2564
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/265736
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีเพื่อการเฝ้าระวังโรค ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีด้วยวิธี Real-Time RT-PCR และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากตัวอย่างทั้งหมด 2,421 ราย ที่ส่งตรวจในช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2564 ผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีตัวอย่างที่ให้ผลบวก จำนวน 1,220 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.39 สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเดงกีที่พบสูงสุดคือ DEN-1 จำนวน 492 ราย รองลงมาคือ DEN-2 จำนวน 370 ราย DEN-4 จำนวน 304 ราย และ DEN-3 จำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.32, 30.33, 24.92 และ 4.43 ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์แยกรายจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด พบสายพันธุ์เชื้อไวรัสเดงกีเป็น DEN-1 สูงสุด เช่นเดียวกันเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกี พบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 2-3 ปี เดือนที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกีสูงสุดคือเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม โดยการระบาดปี 2561 มี DEN-2 และ DEN-1 สัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 50 และร้อยละ 43 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงในระดับจังหวัดนำไปสู่การป้องกันควบคุมโรค<br />ในลำดับต่อไป</p>
นางอรัญญา ภิญโญรัตนโชติ
มนต์ชนก เต็มภาชนะ
ณิฎฐา เสนาพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
99
107
-
รายงานผู้ป่วยและทบทวนวรรณกรรม ในผู้ป่วยที่เกิดผื่นแพ้ยาแบบ acute Generalized Exanthematous Pustulosis ภายหลังได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266074
<p>ผู้ป่วยชายอายุ 47 ปี ได้รับการส่งตัวมารักษาต่อ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เนื่องจากโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายหลังจากได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ครั้งแรก ผู้ป่วยเกิดผื่นชนิดมีตุ่มหนองกระจายทั่วบริเวณลำตัว แขน และขา โดยตรวจไม่พบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้ออื่น จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผื่นแพ้ยาชนิด acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP) การรักษาได้แก่ การหยุดยาฟาวิพิราเวียร์ที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุ การให้ยาสเตียรอยด์แบบกินและแบบทา ผู้ป่วยอาการดีขึ้นภายใน 3 วันหลังการรักษา ยาฟาวิพิราเวียร์ซึ่งเป็นยาใหม่ที่ได้นำมาใช้ในการใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย พบการแพ้ยาแบบผื่นได้น้อย ความสัมพันธ์ระหว่างยาฟาวิพิราเวียร์กับผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด AGEP ยังไม่ชัดเจน รายงานผู้ป่วยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงจากยาฟาวิพิราเวียร์</p> <p> </p>
เฉลิมเกียรติ การสุทธิวิวัฒน์
นภัทร โตวณะบุตร
กลวิชย์ ตรองตระกูล
ภัทราพร ตาเจริญเมือง
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
123
131
-
การใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์อภิมานพหุด้วยข้อมูลทางทันตกรรม: บทความสอนการใช้งาน
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266777
<p>บทความนี้เป็นการแนะนําวิธีใช้งานโปรแกรม R มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงวิธีการใช้งานโปรแกรม R ในการวิเคราะห์อภิมานหลายตัวแปร โดยครอบคลุมชุดฟังก์ชันและชุดข้อมูลสำหรับ metaSEM รวมถึงการใช้ชุดของฟังก์ชันและชุดข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น ส่วนการวิเคราะห์แบ่งเป็นสองส่วนคือ การสาธิตการใช้โปรแกรม R สำหรับการวิเคราะห์อภิมานหลายตัวแปรในการศึกษาวิจัยทางด้านทันตกรรม และเทคนิคการใช้โปรแกรม R สำหรับการวิเคราะห์เชิงอภิมานหลายตัวแปร สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานใหม่จากตัวอย่างที่แสดงถึงความสามารถเต็มรูปแบบของโปรแกรม R ในการวิเคราะห์ โดยการสาธิตให้เห็นว่าโปรแกรม R สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการวิเคราะห์อภิมาณพหุตัวแปรในการวิจัยทางทันตกรรม และการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้เริ่มต้นใช้งานทั้งในด้าน R และการวิเคราะห์อภิมาณพหุตัวแปรเพื่อใช้เทคนิคเหล่านี้ในงานวิจัย บทความนี้จะช่วยเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เริ่มต้นใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์อภิมานหลายตัวแปร ไม่เฉพาะในงานวิจัยทางด้านทันตกรรมเท่านั้นแต่ยังสามารถนำไปใช้ในศึกษาวิจัยอื่นๆ โดยไฟล์ที่ใช้ในบทความนี้เป็นไฟล์ที่เปิดให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ทำซ้ำในการวิเคราะห์อภิมานหลายตัวแปรได้เอง</p>
กมล เสวตสมบูรณ์
กิตติ กรุงไกรเพชร
ลักษณาพร กรุงไกรเพขร
องอาจ ชาญประสิทธิ์ชัย
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
108
122
-
การสอบสวนอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตในการซ้อมแข่งเรือยาว อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/267170
<p>วันที่ 6 ตุลาคม 2565 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ พบอุบัติเหตุจากการซ้อมแข่งเรือยาวในแม่น้ำยม ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทีมสอบสวนได้ร่วมกันสอบสวนอุบัติเหตุดังกล่าวเพื่อยืนยันสาเหตุของอุบัติเหตุและการเสียชีวิต ศึกษาระบาดวิทยา ระบุปัจจัยเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์และแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ ทบทวนรายงานการชันสูตร ศึกษาสภาพแวดล้อมด้วยการสำรวจพื้นที่แม่น้ำยมและตรวจสอบข้อมูลระดับน้ำและอัตราเร็วเฉลี่ยของน้ำในวันที่เกิดเหตุ สำรวจซากเรือและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยในการซ้อมและแข่งเรือยาว นำเสนอการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของเหตุการณ์โดยใช้ Haddon Matrix Model ผลการศึกษาพบว่า เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565 ฝีพายจำนวน 11 คน ซ้อมแข่งเรือยาวที่แม่น้ำยม หลังจากนั้นเกิดเหตุการณ์น้ำเข้าเรือจนเรือเริ่มจม ฝีพายทั้ง 11 คนจึงทำการคว่ำเรือเพื่อเกาะเรือไว้และพยายามนำเรือกลับขึ้นฝั่ง แต่เนื่องด้วยในวันนั้นระดับน้ำในแม่น้ำยมสูง 4 เมตรและน้ำไหลเชี่ยว เรือจึงถูกกระแสน้ำพัดออกจากฝั่งจนไปชนตอม่อสะพาน มีฝีพายเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บ 2 คน ผลการชันสูตรสันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการจมน้ำ ในวันเกิดเหตุไม่มีหน่วยลาดตระเวนกู้ภัยประจำการ จากการสอบสวนอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตจากการซ้อมแข่งเรือยาว จังหวัดแพร่ คาดว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ด้วยลักษณะเรือยาวที่เสี่ยงต่อน้ำเข้าเรือได้ง่าย ระดับน้ำในแม่น้ำที่สูงขึ้น การขาดอุปกรณ์ชูชีพและไม่มีหน่วยกู้ภัยในช่วงเวลาเกิดเหตุ การกำหนดมาตรฐานการซ้อมและการแข่งเรือยาวในพื้นที่ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อไปในอนาคต</p>
ชูสกุล พิริยะ
ศิริพร สิทธิ
ฐิตารัตน์ โกเสส
ณัยธนัฎ สินประวัติ
เยาวเรศ อิสระเศรษฐพงศ์
นัฐพนธ์ เอกรักษ์รุ่งเรือง
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
132
143
-
การสอบสวนไข้หวัดใหญ่ในศูนย์ฝึกพัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/268659
<p> เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้รับรายงานการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนโรคไข้หวัดใหญ่ในศูนย์ฝึกผู้พิการ ได้สอบสวนเพื่อยืนยันวินิจฉัยโรคและการระบาด ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และให้ข้อเสนอแนะ โดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในศูนย์ฯ ผู้ป่วยสงสัย คือ ผู้ที่อยู่หรือทำงานในศูนย์ฯ นี้ และมีอย่างน้อย 2 อาการ ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ หรืออ่อนเพลีย ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม-25 พฤศจิกายน 2566 ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจจำเพาะพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ด้วยรูปแบบ Retrospective cohort โดยใช้นิยามผู้ป่วยเดียวกัน วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวและพหุตัวแปร เพื่อคำนวณ risk ratio และ adjusted odds ratio ร่วมกับศึกษาสิ่งแวดล้อม พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 54 ราย (อัตราป่วยร้อยละ 52.94) อัตราป่วยในกลุ่มผู้พิการร้อยละ 68.49 ผู้ป่วยยืนยันทั้ง 5 รายเป็นสายพันธุ์ A (H3N2) การเป็นผู้พิการเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะพิการซ้ำซ้อน (Adjusted OR=24.63, 95% CI= 2.65-583.06) แม้ศูนย์ฯ ได้ดำเนินมาตรการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด แต่มิได้ใช้อาการในการคัดกรอง การใช้และความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันโรคไม่เหมาะสม ขาดการฟื้นฟูทักษะและความรู้ ความครอบคลุมของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่เพียงพอ ศูนย์ฯ ควรเพิ่มอาการในการคัดกรอง และคัดกรองเจ้าหน้าที่และผู้มาเยี่ยมด้วย เฝ้าระวังเป็นพิเศษในผู้ที่มีความพิการสูง และจำกัดกิจกรรมในช่วงการระบาด หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรสนับสนุนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การอบรมทักษะความรู้ และการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล</p>
ดรัณภพ ศรีธรรมวงศ์
นพรัตน์ คำใจ
สราลี ศรีชัยยะ
กชมน ชำหา
ณิชนันทน์ กันชนะ
นัฐพนธ์ เอกรักษ์รุ่งเรือง
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา
2024-06-28
2024-06-28
20 1
144
156