วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ <p><strong>Focus and Scope (นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์)</strong></p> <p>วารสารสาธารณสุขล้านนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ยินดีรับบทความวิชาการและผลงานวิชาการที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และภัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเน้นเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่หน่วยงานด้านการแพทย์ สาธารณสุข และผู้สนใจ โดยเรื่องที่จะส่งตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน ทั้งนี้กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานแก้ไขต้นฉบับ และพิจารณาตามลำดับก่อน หลัง</p> <p> </p> <p><strong>Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</span></p> <p> </p> <p><strong>Types of articles (ประเภทของบทความ) </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทความวิชาการทั่วไป (General article) รายงานผู้ป่วย (Case report) และการสอบสวนโรค (Outbreak investigation) </span></p> <p> </p> <p><strong>Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาไทย</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ภาษาอังกฤษ</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publication Frequency (กำหนดออก)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;">วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี โดยไม่เก็บค่าธรมเนียมการตีพิมพ์</span></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน</span></li> </ul> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</span></li> </ul> <p> </p> <p><strong>Publisher (เจ้าของวารสาร)</strong></p> <ul> <li class="show" style="font-weight: 400;"><span style="font-weight: 400;">สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข</span></li> </ul> th-TH lannadpc10@gmail.com (ดร.นารถลดา ขันธิกุล) lannadpc10@gmail.com (นางสาวเรณุกา เขียวงามและนางสาวอรวรรณ นามวงศ์) Sat, 28 Dec 2024 12:19:06 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ของเกษตรกรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269167 <p>ประชากรสูงอายุไม่เพียงแต่เผชิญกับการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินแต่ยังต้องเผชิญกับการตามให้ทันเทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สังคม และปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพกายและจิตใจ การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อม และปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของเกษตรกรก่อนวัยสูงอายุกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกร อายุ 50-59 ปี คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากฐานข้อมูลของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปี 2565 จำนวน 316 คน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังด้วยสถิติ Multivariable ordinal logistic regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.96 มีทัศนคติต่อการสูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.82 การรับรู้ความสามารถของตนต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.58 และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.39 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป (AOR=3.97, 95% CI=1.04-15.21, p&lt;0.05) อายุ 50-54 ปี (AOR=1.82, 95% CI=1.05-3.17, p&lt;0.05) การรับรู้ความสามารถของตนต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุระดับสูง (AOR=21.73, 95% CI=2.69-175.26, p&lt;0.05) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับสูง (OR=22.97, 95% CI=6.311-83.65, p&lt;0.05) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรมีการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-54 ปี โดยเน้นเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้เป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังและมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> สุรางค์รัตน์ พ้องพาน วท.ด. (ระบาดวิทยาคลินิก) , จุฑามาศ สิงห์แก้ว ส.ม. (สาธารณสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน) , สยัมภู ใสทา ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269167 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการใช้ชุดการสื่อสารเรื่องโรคไข้มาลาเรียและ ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/270318 <p>โรคไข้มาลาเรียเป็นปัญหาตามแนวชายแดนโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ชุดการสื่อสารเรื่องโรคไข้มาลาเรียและภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีก่อนและหลังการใช้ชุดการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ภาพพลิกและสมุดเล่มเล็กสำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร่วมกับการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 7-13 ปี กำลังศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 แห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งสิ้น 88 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องโรคไข้มาลาเรีย ความรู้เรื่องภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคไข้มาลาเรีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคไข้มาลาเรีย ความรู้เรื่องภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียสูงกว่าก่อนการใช้ชุดการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ดังนั้นการดำเนินการใช้ชุดการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับการให้ความรู้สำหรับนักเรียนในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียตามแนวชายแดน จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ มีการรับรู้ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียในการป้องกันยุงกัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการสลายเม็ดเลือดแดงเนื่องจากสาเหตุการพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี</p> ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) , นารถลดา ขันธิกุล ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) , อังคณา แซ่เจ็ง Ph.D. (Insect Immunity) , สมชาติ บุญคำมา ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) , มัลลิกา อิ่มวงศ์ ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/270318 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในการขับขี่รถยนต์สาธารณะ เพื่อความปลอดภัยทางท้องถนนของประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/272134 <p>การเกิดอุบัติเหตุทางจราจรในประเทศไทยมีเหตุการณ์เพิ่มมากขึ้นมาตลอดเป็นเวลายาวนาน การศึกษา<br />เชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์เพื่อการขับขี่รถยนต์สาธารณะ วิเคราะห์ประสบการณ์ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์เพื่อการขับขี่ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจากเอกสารและข้อมูลจากโครงการพัฒนาระบบการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการขับขี่ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและแบบจำแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษาพบว่ากรมควบคุมโรคมีการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยการนำองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์การจราจร การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนมีกระบวนการพัฒนาระบบการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และการออกใบรับรองแพทย์จัดบริการตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะ พร้อมทั้งตรวจสมรรถนะทางร่างกาย ปัจจัยความสำเร็จ พบว่ามีการพัฒนามาตรฐานการประเมินสมรรถนะ ความพร้อมในการขับขี่ และจัดตั้งคลินิกต้นแบบในประเทศไทย สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขควรมีการพัฒนาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความครอบคลุม ด้านพัฒนาคุณภาพการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพในระดับชาติ กรมการแพทย์ควรพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านอาชีวเวชศาสตร์ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ กรมควบคุมโรค และกรมการขนส่งทางบก ควรมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านสุขภาพและฐานข้อมูลการอนุญาตใบขับขี่ทุกประเภท เพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานะสุขภาพความพร้อมในการขับขี่ของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ และจัดตั้งคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ที่ได้มาตรฐาน</p> ภัคนี สิริปูชกะ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) , เวสารัช สรรพอาษา ส.ม. (การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) , วีณา ภักดีสิริวิชัย พ.ม. (สถิติประยุกต์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/272134 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะโภชนาการเกินในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/268698 <p>โรคอ้วนในเด็กเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่ท้าทายการแก้ไขทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกเพราะมีผลกระทบโดยตรงกับเด็กในวัยเรียน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองการวิจัยรูปแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 38 ราย ทำการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มที่ทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) คู่มือและสื่อ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวได้นำไปใช้เป็นต้นแบบการส่งเสริมการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้</p> อดิศักดิ์ อิ่นคำ พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) , วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข) , นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี วท.ด. (สรีรวิทยา) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/268698 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/270238 <p> การเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็กเป็นเรื่องใหญ่และอันตรายถึงชีวิตได้ การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 12 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 48 คน แบ่งกลุ่มควบคุม 24 คน กลุ่มทดลอง 24 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สื่อประกอบการบรรยายสื่อวีดิทัศน์ คู่มือ และชุดอุปกรณ์สาธิตการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กสำหรับครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ส่งเสริมพัฒนาให้ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถปฏิบัติการคัดกรองโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สุประวีณ์ วิภูศิริ พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) , วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข) , ศิวพร อึ้งวัฒนา ศศ.ด. (การวางแผนและพัฒนาชนบท) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/270238 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในการป้องกันวัณโรคปอดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพะเยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/271844 <p>การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคปอดให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันวัณโรคปอดของ อสม. จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ของอำเภอเมืองพะเยา อายุระหว่าง 25-59 ปี จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระยะเวลา6 สัปดาห์ 2) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันวัณโรคปอด และข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบทีคู่และอิสระ ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.01) บุคลากรสุขภาพสามารถนำโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในการส่งเสริมศักยภาพของ อสม.ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน ในแต่ละพื้นที่ได้</p> จิราวรรณ ศรีทองพิมพ์ พย.ม. (การพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน) , กนกรส โค้วจิริยะพันธุ์ พ.บ. , ศจิษฐา รีรักษ์ ส.ม. , อรัญญา นามวงศ์ ปร.ด. (พยาบาลศาสตร์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/271844 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/268210 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 รวมทั้งสิ้น 8 เดือน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ 2) แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต โดยวัดผลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวัง ในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) และกลุ่มทดลองมีค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและขณะหัวใจคลายตัวลดลงอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ดังนั้น เครือข่ายสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่อไป</p> ธนญญ์นภสสร์ ไชยมงคล ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) , สรวิศ บุญญฐี พ.บ. (วว.เวชศาสตร์ครอบครัว) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/268210 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/267093 <p> ผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การควบคุมพฤติกรรมจะนำไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้นการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเรียงตามค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงไปต่ำเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้าน ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Paired t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน</p> หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์ วท.ม. (สรีรวิทยา) , สิตา ฤทธิ์ธาธรรม วท.ม. (เภสัชวิทยา), ธัญญ์นลิน ไกรนรา ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์), สุดารัตน์ รำเพย วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) , สุวนันท์ ดาราพงษ์ วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) , ธารทิพย์ มากแก้ว วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/267093 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 อัตราการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำในคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269370 <p>ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาหายได้ แต่เป็นซ้ำได้อีก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำที่พบในคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยซิฟิลิสทั้งหมด จำนวน 1,014 ราย เลือกเฉพาะผู้ป่วยซิฟิลิสรายใหม่ที่เข้ามารับการวินิจฉัยรักษาที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี 2558-2563 โดยเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำ ได้แก่ รสนิยมทางเพศ จำนวนคู่นอน การใช้ถุงยางอนามัย การติดเชื้อเอชไอวี ระยะของโรคซิฟิลิส การติดตามคู่นอน และการติดตามผลหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสที่ถูกติดตาม จำนวน 942 ราย พบว่ามีการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำจำนวน125 ราย โดยมีอัตราการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำ ปี 2558 ร้อยละ 18.10 และพบลดลงในปี 2563ร้อยละ 5.00 ตลอดจนพบการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำมากในปีที่ 1-2 หลังการรักษา ดังนั้นผู้ที่รับการรักษาซิฟิลิสรวมถึงหน่วยงานที่รักษาควรให้ความสำคัญกับการมาติดตามผลหลังการรักษาเพื่อตรวจหาระดับของ Rapid Plasma Reagin (RPR) titer ซึ่งสามารถตรวจพบการติดเชื้อซ้ำ เน้นย้ำเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน และการติดตามคู่นอนมารักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสซ้ำ</p> พรนารา ธิเขียว พย.บ., สุทิพา วงศาโรจน์ พย.บ., จิราภรณ์ อรุโณทอง พย.บ., ฐิติพันธ์ อัครเสรีนนท์ พ.บ. , ชูสกุล พิริยะ พ.บ. , พัชณี สมุทรอาลัย พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269370 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชน ที่มารับบริการโรงพยาบาลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266535 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มารับบริการโรงพยาบาลฉลองอายุระหว่าง 20-69 ปีสุ่มตัวอย่างตามความสะดวกจำนวน 403 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะ และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อด้านสุขภาพในการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (Cramer’s V=0.12, p&lt;0.05) ระดับการศึกษา (Cramer’s V=0.21,p&lt;0.05) และความเชื่อด้านสุขภาพ (r=0.67, p&lt;0.05) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดอบรมหรือสร้างโปรแกรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมตามระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้รับบริการ โดยเฉพาะด้านการรับรู้อุปสรรคในการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงความแตกต่างระหว่างเพศ และระดับการศึกษาของผู้รับบริการ</p> อารยา ข้อค้า วท.ม. (เภสัชวิทยา) , อับเซ๊าะ นวลน้อย ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266535 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกาย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269909 <p>ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 401 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญตามสัดส่วนของนักศึกษาในแต่ละคณะ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและการประเมินดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านโภชนาการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.62 ความรอบรู้ด้านโภชนาการรายด้านพบว่า ด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.83 ด้านความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.86 ด้านทักษะในการสื่อสารด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.11 ด้านทักษะการจัดการตนเองด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง <br />ร้อยละ 68.08 ด้านทักษะการตัดสินใจการเลือกปฏิบัติด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.38 และด้านการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 66.33 พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีร้อยละ 0.50 และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 24.44 ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์และอ้วน ร้อยละ 29.17 การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการของวัยรุ่นและจัดกิจกรรมโดยเน้นการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านโภชนาการให้กับนักศึกษา ดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับการบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการจัดทำโปรแกรมการที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีดัชนีมวลกายตามเกณฑ์ปกติเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับดัชนีมวลกาย</p> อลงกต ประสานศรี ส.ม. (วิทยาการระบาดและการจัดการสารสนเทศทางสาธารณสุข) , นงนภัส รังศรี ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) , วริษา ถิ่นสำราญ ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) , อาดื้อ - ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/269909 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการในคลินิกหมอครอบครัวสันป๋อ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/272681 <p>โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทรัพยากรทางการแพทย์มีจำกัดไม่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคนในคลินิกโรคเรื้อรังได้จึงมีการส่งต่อผู้ป่วยสู่คลินิกหมอครอบครัว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่รักษาใน 3 หน่วยบริการ ได้แก่ คลินิกหมอครอบครัว คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสุ่มตัวอย่างจำนวนหน่วยละ 156 คนรวมทั้งหมด 468 คน เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียอิเล็กทรอนิกส์ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึงกันยายน 2567 ผลการศึกษาพบว่า คลินิกหมอครอบครัวมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคร่วมมากกว่าและมีการใช้ยามากกว่า รพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) และมีผลระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยดีกว่า รพ.สต. และคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือด 125.87, 127.6 และ 136.81 ตามลำดับ ซึ่งมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดไม่แตกต่างกัน และมีระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะดีกว่าคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแต่มากกว่ารพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยมีค่าเฉลี่ย 50.38, 64.74 และ 47.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ระดับอัตราการกรองของไตเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน รวมถึงมีระดับไขมันชนิดแอลดีแอลดีกว่า รพ.สต. และคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยมีค่าเฉลี่ย 72.08, 77.04 และ 88.76 ตามลำดับ การเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง ติดเชื้อ แผลเบาหวานไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังด้านหลอดเลือดสมองพบว่า คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบมากกว่าคลินิกหมอครอบครัว และ รพ.สต. ร้อยละ 9.6, 5.1 และ 1.2 ตามลำดับ โรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 5.8, 5.0 และ 0 ตามลำดับ ดังนั้นการให้บริการผู้ป่วยในคลินิกหมอครอบครัวมีความสามารถใน<br />การดูแลผู้ป่วยที่ความซับซ้อนกว่า รพ.สต. และผลการดูแลดีกว่า</p> พรทิพย์พา ถวี พ.บ.อว. เวชศาสตร์ครอบครัว Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/272681 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ผลลัพธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266270 <p>ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การศึกษานี้ได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเพื่อศึกษาผลลัพธ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและสรุปหลักฐานของผลลัพธ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง คณะผู้ศึกษาสืบค้นการศึกษารายงานวิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากฐานข้อมูล PubMed, Web of Science, Scopus, BMJ, EBSCO Open Dissertations, ISI, SPORTdiscus, ScienceDirect, Google Scholar, ThaiJo, Thailis ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2555 - 2564 จาก 856 การศึกษา โดยมีการศึกษา 127 การศึกษาได้รับการคัดเลือกซึ่งพิจารณาจากชื่อเรื่องและบทคัดย่อ และมี 18 การศึกษาที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรม ผลการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 4 ด้าน ดังนี้ ผลลัพธ์ทางคลินิก ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรม การสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ และผลลัพธ์อื่นๆ แม้ว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ หากแต่ผู้ป่วยดังกล่าวยังคงมีพฤติกรรมในการดูแลตนเอง มีความรู้โรคความดันโลหิตสูง มีความไว้วางใจแพทย์ผู้ทำการรักษา และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจรักษา อาจเพราะมีการรับรู้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องรักษาโดยรับประทานยา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อตนเองจึงทำให้สนใจดูแลตนเองและการรักษาโรค</p> บุษกร แก้วเขียว พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่), ชมพู่ หลั่งนาคม พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่), อัจฉรพรรณ ค้ายาดี ปร.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขล้านนา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/266270 Sat, 28 Dec 2024 00:00:00 +0700