https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/issue/feed วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2023-12-26T00:00:00+07:00 ดร.ภญ.กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม kamolnut@scphc.ac.th Open Journal Systems <p><strong>การรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ</strong></p> <p>วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ (Multidisciplinary Journal for Health) เป็นวารสารที่รวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และบทความปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ การแพทย์แผนไทย การสาธารณสุข การพยาบาล ทันตกรรม เภสัชกรรม และการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p><strong>กำหนดออก </strong><strong>2</strong><strong> ฉบับต่อปี </strong>ฉบับละ 5 บทความ<strong><br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN: 2673-0855</strong></p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/262354 การเฝ้าระวังผลกระทบต่อการแพร่โรคพยาธิใบไม้เลือด พยาธิใบไม้ตับ ที่มีหอยเป็นโฮสต์กึ่งกลางนำโรคและมีชีวิตครบวงจรในน้ำ ในพื้นที่โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2563 2023-04-19T16:48:57+07:00 นัทธ์ชวัล กัญญะลา nadchawankanyala@gmail.com กรรณิการ์ แก้วจันต๊ะ kanikak@gmail.com อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร adulsak10@yahoo.com <p>โครงการประตูระบายน้ำแม่สอย เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ตอนล่างพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยอยู่ในแผนการประเมินผลกระทบต้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของกรมชลประทาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดโรคหนอนพยาธิในประชาชนโฮสต์กึ่งกลางในธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ปลาน้ำจืดเกล็ดขาว และหอยน้ำจืดฝาเดียว ในพื้นที่ลำน้ำปิงฝั่งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีพื้นที่ศึกษาจำนวน 9 หมู่บ้าน ผู้ได้รับผลกระทบ 12,101 ราย ดำเนินการในช่วงปี 2563</p> <p>ผลการตรวจหาไข่ตัวอ่อนและปล้องสุกหนอนพยาธิในอุจจาระโดยการสุ่มตัวอย่าง 177 ราย ด้วยวิธี Formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT) พบว่าประชาชนติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ 2 ชนิด จำแนกเป็นไข่คล้ายพยาธิใบไม้ตับ <em>Opisthorchis viverrini</em>-like ร้อยละ 7.91 พยาธิ <em>Strongyloides stercoralis</em> ร้อยละ 2.82 การติดเชื้อหนอนพยาธิ 2 ชนิด ในคนเดียวกัน ร้อยละ 1.13 และพบโปรโตซัวในลำไส้ จำนวน 2 ชนิด จำแนกเป็น <em>Blastocystis hominis</em> ร้อยละ 1.69 และ <em>Giardia lamblia</em> ร้อยละ 0.56 การศึกษาโฮสต์พยาธิกึ่งกลางของพยาธิใบไม้ จากการสำรวจการติดเชื้อตัวอ่อนของพยาธิในระยะเซอคาเรียในหอยน้ำจืดด้วยวิธี Digestion method จากหอยน้ำจืดจำนวน 1,098 ตัวอย่าง พบการติดเชื้อหนอนพยาธิจำนวน 134 ตัวอย่าง ในหอยน้ำจืด 8 ชนิด มีค่าความชุกเท่ากับ 12.2 % การศึกษาตัวอ่อนระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดเกล็ดขาว พบการติดเชื้อ ในปลาน้ำจืด จำนวน 9 ชนิด ผลการศึกษาหาตัวอ่อนพยาธิในมูลสัตว์รังโรค (สุนัข แมว วัว และควาย) ด้วยวิธี FECT จำนวน 200 ตัวอย่าง พบสัตว์รังโรคติดเชื้อพยาธิจำนวน 89 ตัว คิดเป็นร้อยละ 44.50</p> <p>สรุปผลการศึกษา ยังพบการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิหลายชนิด ทั้งในประชาชนและโฮสต์กึ่งกลาง ในพื้นที่โครงการประตูน้ำแม่สอย ซึ่งเป็นชนิดของพยาธิที่มีความสำคัญ และเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ มีสาเหตุจากพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชนและสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติในพื้นที่ จึงควรต้องดำเนินการตรวจสอบตามแผนปฏิบัติงานโครงการ และให้มีการคืนข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายของโรคหนอนพยาธิที่เป็นปัญหาดังกล่าวหลังสิ้นสุดโครงการ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/265560 การพัฒนากระบวนการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโยธะกา 2023-10-14T11:20:41+07:00 เทวิกา นิลวงษ์ jubjang.naka@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโดยใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพของ Demming เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และเครือข่ายโดยเฉพาะเจาะจงจำนวน 95 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา </p> <p>ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2 วงรอบ ด้วยการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ การปฏิบัติการ และการประเมินผล ผลการพัฒนาพบว่าสามารถเพิ่มจำนวนเด็กปฐมวัยในการคัดกรองพัฒนาการได้มากขึ้น และเด็กที่มีภาวะผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการกระตุ้นพัฒนาการได้ตามกำหนด การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย คือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/265977 ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 2023-11-10T09:22:04+07:00 ศุภวรรณ พงศ์ทอง aoiizwhan.ta@hotmail.com <p>โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เป็นภาระต่อเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญในระดับโลก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 189 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามจากกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มีคะแนนเฉลี่ยระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. โดยรวมเพิ่มขึ้น (t = -11.71, p &lt; 0.05) และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. โดยรวมเพิ่มขึ้น (t = -15.16 , p &lt; 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านอื่น ๆ ของชุมชนต่อไป</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/265631 การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำรักษ์ 2023-10-02T12:10:28+07:00 สุทธิลักษณ์ มิตศิลปิน smit.sut@gmail.com <p>โรคไตเรื้อรังเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของโลก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำรักษ์ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรังตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขแต่ยังพบการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ป่วยโรคไตระยะ 3A อย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบและระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ในคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กรอบการวิจัยของ Kemmis &amp; McTaggart ศึกษาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3A ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงน้ำร้กษ์ จำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้ แบบสัมภาษณ์ การสังเกต และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการให้บริการแบบใหม่</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริการแบบใหม่ ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคไตเรื้อรัง และการพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นในทุกข้อคำถาม ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไต (eGFR) ดีขึ้นร้อยละ 100 เป็นผลมาจากการแยกคลินิกโรคไตเรื้อรังออกจากคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ทำให้ได้รับข้อมูลที่จำเพาะต่อโรคมากขึ้น มีการใช้สื่อประกอบการให้สุขศึกษาที่สนับสนุน กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจง่าย และชัดเจนการชี้ให้เห็นข้อจำกัด และอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหากไม่ปรับพฤติกรรม มีการวางแผน กำหนดเป้าหมายในการปรับพฤติกรรมร่วมกันเป็นการสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ใช้ความรู้ ทักษะ และกำจัดอุปสรรคได้ ทั้งนี้ทีมติดตามพฤติกรรมควรได้รับการอบรมเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ให้สามารถตอบข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน และในการติดตามควรมีแบบติดตามพฤติกรรมที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถสรุปผล รวมทั้งง่ายต่อผู้ที่ติดตามพฤติกรรมในขณะเยี่ยมบ้านด้วย</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/265275 การสอบสวนโรคเฉพาะรายกรณีผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอี: กรณีศึกษา ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2023-09-10T19:35:01+07:00 ชุติกาญจน์ ถาวรเจริญ chu_2515@yahoo.co.th ศุภร น้อยใจบุญ noijaiboon_su09@hotmail.com ธนวัฒน์ ศรีศักดิ์เจริญ eak1193@gmail.com พันธะกานต์ ยืนยง yy.phanthakan@gmail.com <p>วันที่ 11 สิงหาคม 2566 งานควบคุมโรค โรงพยาบาลบางคล้า ได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดวิทยาโรคติดต่อ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE) จำนวน 1 ราย ตรวจพบและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทีมสอบสวนโรค โรงพยาบาลบางคล้า จึงลงพื้นที่สอบสวนโรค ระหว่างวันที่ 11 – 17 สิงหาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ 3) เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรคและผู้สัมผัสโรค 4) เพื่อหามาตรการในการป้องกัน ควบคุมโรค การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยใช้แบบสอบสวนเฉพาะรายโรคไข้สมองอักเสบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากแฟ้มบันทึกรายงานการรักษาของผู้ป่วย และการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง </p> <p>ผลการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 3 ปี 7 เดือน สัญชาติไทย ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE) เมื่อวันที่9 กรกฎาคม 2566 เริ่มมีอาการไข้ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก คลื่นไส้ อาเจียนเป็นน้ำ 2 ครั้ง ถ่ายเหลว 1 ครั้ง และรับประทานอาหารได้น้อยลง เข้ารับการรักษาที่คลินิกในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้นวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 มีอาการไข้ กระสับกระส่าย ซึม หลับ ไม่พูดคุย จึงไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคาม และส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธโสธร และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตามลำดับ ผลตรวจห้องปฏิบัติการ พบว่า Anti-Japanese Encephalitis IgM 65 unit (ค่าปกติ 0-39 unit) Anti-Dengue IgM 6 unit (ค่าปกติ 0-39 unit) Anti-Dengue IgG 9 unit (ค่าปกติ 0-99 unit) ผลการสำรวจสิ่งแวดล้อมลักษณะบ้าน หน้าต่างมีมุ้งลวด แต่ประตูไม่มีมุ้งลวด นอนไม่กางมุ้ง บริเวณรอบบ้านมีขยะจำนวนมาก เป็นทุ่งนาที่อยู่ระหว่างเตรียมปลูกและมีน้ำขัง ข้อเสนอแนะในการป้องกันควบคุมโรคครั้งนี้ ควรมีการดำเนินการให้ภูมิคุ้มกันโรคเชิงรุก โดยการสำรวจเด็กกลุ่มเป้าหมาย ที่พักอาศัยในพื้นที่และติดตามการให้วัคซีนให้ครอบคลุม และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรำคาญตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ