วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ <p><strong>การรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ</strong></p> <p>วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ (Multidisciplinary Journal for Health) เป็นวารสารที่รวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และบทความปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ การแพทย์แผนไทย การสาธารณสุข การพยาบาล ทันตกรรม เภสัชกรรม และการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p><strong>กำหนดออก </strong><strong>2</strong><strong> ฉบับต่อปี </strong>ฉบับละ 5 บทความ<strong><br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN: 2673-0855</strong></p> Sirindhorn College of Public Health Chonburi th-TH วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2673-0855 การศึกษาการลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยใช้สมุนไพรพอกเข่า https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/271285 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ เป็นการศึกษาการลดระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดเข่าโดยใช้สมุนไพรพอกเข่าลดอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 41 ราย แล้วพอกเข่าด้วยสมุนไพร ติดต่อกัน 3 ครั้ง ประเมินอาการผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับการพอกเข่า โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม Oxford knee score และแบบประเมินความเจ็บปวด Visual pain core วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัย มีระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยลงกว่าก่อนการพอกเข่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังพอกเข่าครบ 3 ครั้ง เท่ากับ 34.90 คะแนนเปรียบเทียบกับก่อนพอกเข่า ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.78 คะแนน และเมื่อประเมินโดยใช้ Visual pain score ระดับความปวดคะแนนเฉลี่ยน้อยลงกว่าก่อนการพอกเข่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความเจ็บปวดหลังพอกเข่าครบ 3 ครั้ง เท่ากับ 3.98 เปรียบเทียบกับก่อนพอกเข่า 6.83 คะแนน สมุนไพรพอกเข่าจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานพยาบาลเพื่อรักษาอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ธนวัฒน์ งามศรี สุพจน์ เมืองมณี สงกรานต์ สักลอ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-18 2024-12-18 6 2 11 19 การบรรเทาอาการไข้และผื่นบริเวณผิวหนังของโรคมือ เท้า ปาก ด้วยตำรับยาเขียวหอม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/270129 <p>โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease; HFMD) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโร (Enteroviruses) ส่วนใหญ่เกิดการติดเชื้อในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยผู้ป่วยมักมีอาการไข้ร่วมกับมีตุ่มแดงอักเสบที่บริเวณลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม รวมถึงมีตุ่มนูนแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า เข่า หรือก้น ซึ่งโรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของเด็กเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี การรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันเน้นการบรรเทาอาการของผู้ป่วย ในทางการแพทย์แผนไทยมีการกล่าวถึงโรคที่มีอาการไข้ร่วมกับมีอาการผื่นผุดขึ้นมาเป็นตุ่มบริเวณผิวหนังและยังกล่าวถึงยาที่ใช้ในการรักษา คือ ยาเขียวหอม ซึ่งตำรับยานี้มีระบุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรสำหรับใช้รักษาโรคไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ทั้งนี้ยังมีรายงานการวิจัยว่า ยาเขียวหอมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ ส่วนฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส พบว่า สามารถยับยั้ง Enterovirus 71 และ Herpes simplex virus ไม่ให้เข้าสู่เซลล์ได้ นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ต้านการอักเสบจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง รวมถึงมีงานวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับการรักษาแผลร้อนในด้วย ตำรับยาเขียวหอมจึงเป็นตำรับยาที่มีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษา และบรรเทาอาการโรคมือ เท้า ปาก การศึกษาฤทธิ์ของตำรับยาเขียวหอม และการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลของตำรับยาเขียวหอม จึงมีความสำคัญในการประยุกต์ใช้ตำรับยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคมือ เท้า ปาก อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> นภาลัย มากโหน จิรภัทร เล่ห์สิงห์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-16 2024-12-16 6 2 1 10