วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ <p><strong>การรับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ</strong></p> <p>วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ (Multidisciplinary Journal for Health) เป็นวารสารที่รวบรวมและเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ กรณีศึกษา บทวิจารณ์ และบทความปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ การแพทย์แผนไทย การสาธารณสุข การพยาบาล ทันตกรรม เภสัชกรรม และการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p><strong>กำหนดออก </strong><strong>2</strong><strong> ฉบับต่อปี </strong>ฉบับละ 5 บทความ<strong><br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN: 2673-0855</strong></p> th-TH kamolnut@scphc.ac.th (ดร.ภญ.กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม) orarat@scphc.ac.th (ดร.ภญ.อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ) Wed, 19 Jun 2024 11:28:40 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักที่มีแผลเปิด และกระดูกต้นขาขวาหักที่มีแผลปิดร่วมกับการมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด: กรณีศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/266171 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักทั้งชนิดที่มีแผลเปิดและแผลปิด ร่วมกับการมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ได้ถูกต้อง เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตั้งแต่แรกรับจนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ จากกรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี สถานภาพสมรส สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ โรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง รักษาสม่ำเสมอที่โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ประสบอุบัติเหตุขับขี่รถจักรยานยนต์ชนกับรถบรรทุก หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ โดยให้การดูแลผู้รับบริการแบบมองให้ครบทุกด้านของความเป็นมนุษย์ ไม่แยกส่วน ให้การดูแลโดยคำนึงถึงองค์ประกอบในร่างกาย ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะโรคที่เป็นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่พิจารณาจากความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ด้านให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งความมีสุขภาวะที่ดี และวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบของสมาคมวินิจฉัยการพยาบาลของอเมริกาเหนือ (NANDA)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาการพยาบาลที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1) ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการเสียเลือด เนื่องจากมีกระดูกต้นขาซ้ายหักบาดแผลเปิดขนาดใหญ่และต้นขาขวาบวมผิดรูป ไม่มีบาดแผล 2) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดในปอดจากการมีกระดูกต้นขาหักทั้ง 2 ข้าง 3) เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ต้นขาซ้ายเนื่องจากมีกล้ามเนื้อและไขมันฉีกขาด จากการทิ่มแทงของกระดูกหักแบบเปิด 4) ผู้ป่วยมีอาการปวดขา 2 ข้างมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ การปวดเป็นแบบ Nociceptive pain และ Neuropathic pain และเกิดความไม่สุขสบาย และ 5) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลกับอาการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ป่วยได้รับการดูแลให้การพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะช็อกจากการเสียเลือด ตั้งแต่แรกรับ ณ จุดเกิดเหตุ และดูแลต่อเนื่องจนถึงห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ อาการช็อกจากการเสียเลือดดีขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย และสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อการรักษาต่อเนื่อง</p> อรนุช มากรด, สุริยา ฟองเกิด Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/266171 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัลและความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการทางสายตาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ Computer Vision Syndrome (CVS) ของบุคลากร ที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมควบคุมโรค https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269301 <p>ประเทศไทยมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการใช้สมาร์ทโฟนอยู่ในระดับสูง พบปัญหาทางด้านการมองเห็นสูงถึง 24 ล้านครัวเรือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัล และความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการ Computer vision syndrome (CVS) ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 75 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติ Chi-Square และ Multiple regession analysis </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มอาการ CVS ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการมาก ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องมองเห็นภาพซ้อน 47 คน ตาสู้แสงไม่ได้ 21 คน ตาแห้ง 20 คน และพบว่าการหยุดพักสายตาน้อยกว่า 20 นาทีหลังจากทำงานหน้าจอ และพบว่าการมีแสงสว่างที่เพียงพอในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดกลุ่มอาการ CVS (p &lt; 0.01) นอกจากนี้ ความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัล อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.70 และทักษะการตัดสินใจที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการ CVS อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยง (p &lt; 0.01) การตัดสินใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพ (p &lt; 0.01) การคำนึงถึงความเสี่ยงและตัดสินใจที่จะหาวิธีป้องกัน รวมถึงตัดสินใจที่จะทำงานต่อ หรือหยุดทำงาน (p &lt; 0.05) จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านดิจิทัล โดยเฉพาะด้านการตัดสินใจ การสื่อสารความเสี่ยงรวมถึงการให้องค์กรตรวจสุขภาพสายตา และจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในกลุ่มเสี่ยง ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนสร้างความรอบรู้ให้กับองค์กร และหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป</p> พงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ระพีพรรณ เสมอใจ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269301 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 สังเคราะห์งานเภสัชสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามหลักธรรมาภิบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269041 <p>การสังเคราะห์งานเภสัชสาธารณสุข ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์พื่อสังเคราะห์โครงสร้าง บทบาท ภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุขในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ความสำคัญของบทบาท ภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุข ตามหลักธรรมาภิบาล และจัดทำข้อเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายงานเภสัชสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานเภสัชสาธารณสุข ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย คือประธานคณะกรรมการชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย 1 คน และระดับภาค 4 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขจากอดีตถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 งานหลัก คือ งานคุ้มครองผู้บริโภค และงานเภสัชสาธารณสุข ระดับความคิดเห็นเรื่องความสำคัญตามบทบาทภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุข พบว่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.38 ± 0.76 คะแนน) ระดับความคิดเห็นต่อบทบาทภารกิจของงานเภสัชสาธารณสุขตามหลักธรรมภิบาล พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.32 ± 0.83 คะแนน) ด้านปัญหา อุปสรรค พบว่ามีปัญหาโครงสร้างและบทบาทภารกิจที่กลับด้าน และฉากทัศน์อนาคตของงานเภสัชสาธารณสุข จึงมีข้อเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการ ดังนี้ 1) ทบทวนและปรับชื่อ “กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข” เป็น “กลุ่มงานเภสัชสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ” 2) ยกระดับการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในงานเภสัชสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง และ 3) ยกระดับกรอบอัตรากำลังให้เพียงพอและส่งเสริมความก้าวหน้าและความมั่นคงในวิชาชีพเภสัชกรให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง</p> นุชน้อย ประภาโส Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269041 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการ TO BE NUMBER ONE https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269453 <p>ข้อมูลจำนวนชมรมศูนย์เพื่อนใจ และสมาชิก TO BE NUMBER ONE ประเภทต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังมีความซ้ำซ้อน คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และระบบการจัดเก็บยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การพัฒนานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลโครงการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีศูนย์รวมรายงานที่ได้ข้อมูลถูกต้อง น่าเชื่อถือในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยนำแนวคิดวงจรพัฒนาระบบแบบ System Development Life Cycle (SDLC) มาปรับใช้ในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2563-2566</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า มีระบบฐานข้อมูลโครงการ TO BE NUMBER ONE ที่พัฒนาเป็น Web-based application ทำงานตามที่กำหนดผ่านทาง Web Browser มีช่องทางการเข้าสู่ระบบ 2 ส่วน คือ หน้าเว็บไซต์หลักของระบบ (Frontend) หรือส่วนหน้าบ้านผ่าน URL: https://tobenumberone.dmh.go.th/ สำหรับสมาชิกเข้าไปปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของโครงการ และส่วนหลังบ้าน ผ่าน URL: https://data.dmh.go.th/ สำหรับผู้ดูแลระบบ เช่น ประธานชมรม ผู้ดูแลระบบของอำเภอ จังหวัด หน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานส่วนกลาง บริหารจัดการข้อมูลและเข้าดูสถิติของโครงการ โดยข้อมูลประกอบด้วย 1) สมาชิกชมรมและสมาชิกใครติดยายกมือขึ้น 2) ชมรมและศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE 3) กิจกรรมของชมรมและโครงการ ซึ่งข้อมูลจะรายงานผ่านระบบทุกไตรมาสและการติดตามผลหลังการใช้ระบบ 4 เดือน จากผู้ใช้งานระดับจังหวัด ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร พบความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวม ร้อยละ 59.3 และมีข้อมูลจากการบันทึกและรายงานในระบบคือ สมาชิกรายบุคคล 220,339 คน ชมรม 6,881 แห่ง และศูนย์เพื่อนใจ 899 แห่ง ข้อมูลการจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจวัยรุ่นและเยาวชน และสาเหตุการใช้ยาเสพติดของสมาชิกใครติดยายกมือขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องตามระบบแล้ว แต่มีจำนวนน้อย เนื่องจากการใช้ระบบฐานข้อมูลยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงานและชมรม จึงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> <p> </p> เนตรชนก บัวเล็ก, ชัยพร เชื้อเมืองพาน, ไพฑูรย์ นูสีหา, นิตยา ฉวยกระโทก Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269453 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต ของพยาบาลหัวหน้าแผนก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269463 <p>ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกับประสิทธิผลขององค์กร เจตคติ ความพึงพอใจ รวมถึงความผูกพันต่อองค์กร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มุมมองหรือรูปแบบการปฏิบัติงาน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต ของพยาบาลหัวหน้าแผนก โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรากลุ่มตัวอย่าง พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต มีค่าความตรง 0.87 ค่าความเที่ยง 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.02, S.D. = 0.62) การดำเนินการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.62, S.D. = 0.71) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.768, p &lt; .001) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่งผลต่อการบริหารยุทธศาสตร์งานสุขภาพจิต อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 58.9 (R<sup>2</sup>= 0.589) ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพก่อนเป็นหัวหน้าแผนก หน่วยงานต้นสังกัดต้องมีการสนับสนุนการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ตามงานที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล เพื่อทำให้ได้แนวทางการปฏิบัติ และประสบการณ์ที่พร้อมถ่ายทอดสู่ผู้ตาม</p> เกศิริน เชื้อภักดี Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MDHJ/article/view/269463 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700