@article{ศุขแจ้ง_เกษมสุข_บุ้งทอง_2022, title={ประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษ}, volume={37}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/257331}, abstractNote={<p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นการนำแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มในส่วนของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ และแนวคิดการวางแผนจำหน่ายแบบ D-METHOD มาบูรณาการโดยมีพยาบาลทำหน้าที่ขับเคลื่อนดำเนินงาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวมต่อ 1) ความรู้และทักษะของผู้ดูแล 2) การกลับมารักษาซ้ำ 3) ค่าใช้จ่ายในการรักษา และ 4) ความพึงพอใจของผู้ดูแล<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบอายุ 1 เดือน – 5 ปี 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ จำนวนกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่มๆละเท่าๆกัน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลโดยใช้การวางแผนจำหน่ายแบบองค์รวม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทำการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2564–มกราคม พ.ศ.2565 ณ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจำหน่ายแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 2) แบบบันทึกการเก็บข้อมูลทั่วไป 3 ) แบบทดสอบความรู้ 4) แบบประเมินทักษะการดูแล 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test, Mann Whitney U test, Wilcoxon signed-rank test <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะด้านการดูแลเมื่อเด็กมีไข้ การดูแลเมื่อไอ มีน้ำมูกหรือเสมหะ การสังเกตอาการผิดปกติ และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการกลับมารักษาซ้ำในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการดูแลเรื่องยา การดูแลสิ่งแวดล้อม การดูแลเรื่องอาหาร พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br /><strong>สรุป:</strong> ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือโรงพยาบาลควรสร้างแนวปฏิบัติที่มีมาตรฐานในการจำหน่าย แบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและพัฒนาให้ครอบคลุมในกลุ่มโรคสำคัญอื่นๆ</p>}, number={1}, journal={วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์}, author={ศุขแจ้ง อารี and เกษมสุข พัชรา and บุ้งทอง จรินญา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={217–230} }