TY - JOUR AU - ใจกล้า, อธิคม AU - ใจกล้า, ปัฐมาพร AU - แซงบุญนาง, สุติมา PY - 2022/04/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์หลัง 72 ชั่วโมง ของเด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา JF - วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ JA - Med J Sisaket Surin Buriram Hosp. VL - 37 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/256328 SP - 159-169 AB - <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา จำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์โดยเร็วภายหลังเกิดเหตุเพื่อให้แพทย์ได้ตรวจร่างกายเก็บหลักฐานทางคดีพิจารณาให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและยาป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งยาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และป้องกันการตั้งครรภ์ภายใน 72 ชั่วโมงและ 120 ชั่วโมงแรก<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์หลัง 72 ชั่วโมง ของเด็กและวัยรุ่นหญิง ภายหลังถูกกระทำชำเรา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษา etiognostic research รูปแบบ retrospective cohort design ศึกษาในเด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเราและมารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2563 ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่เข้ารับบริการศูนย์พึ่งได้ เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล สิ่งแวดล้อม และลักษณะเหตุการณ์การกระทำชำเรา ระหว่างกลุ่มผู้เสียหายที่มาเข้ารับบริการหลัง 72 ชั่วโมง กับกลุ่มที่เข้ารับบริการภายใน 72 ชั่วโมง ภายหลังเกิดเหตุกระทำชำเราวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยด้วย univariableและ multivariable logistic regression<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ด็กและวัยรุ่นหญิงที่ถูกกระทำชำเรา จำนวน 221 ราย เข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลสุรินทร์หลัง 72 ชั่วโมง 109 คน (ร้อยละ 49.3)และภายใน 72 ชั่วโมง 112 คน (ร้อยละ 50.7) พบปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการหลัง 72 ชั่วโมง คือ มีประวัติเคยถูกกระทำชำเรามาก่อน และถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหลังกระทำชำเราในขณะที่เด็กอายุ ≤8 ปี จะเข้าถึงบริการภายใน 72 ชั่วโมงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น<br /><strong>สรุป:</strong> เด็กที่มีประวัติเคยถูกกระทำชำเรามาก่อนและถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวหลังกระทำชำเราทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ควรติดตามเสริมพลังแก่ผู้ที่ถูกกระทำชำเรา ครอบครัวและผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องและจัดให้มีช่องทางติดต่อช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการได้รวดเร็วหากถูกกระทำชำเราซ้ำอีก</p> ER -