https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/issue/feed วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2023-12-29T00:00:00+07:00 นงนุช รักชื่อดี nongnuchbr14@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารการแพทย์ MJSSBH เป็นวารสารทางวิชาการด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความที่น่าสนใจอันเป็นองค์ความรู้ใหม่ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มค.-เมย.)&nbsp; ฉบับที่ 2 (พ.ค. – ส.ค.)&nbsp; และฉบับที่ 3 (ก.ย. – ธ.ค.) และเผยแพร่ทาง website <a href="Https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index">https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index</a></p> <p>โดยปัจจุบันวารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ได้รับการยอมรับและผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2 และอยู่ในฐานข้อมูล TCI</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266765 บทบรรณาธิการ 2023-12-15T15:06:49+07:00 เชาว์วัศ พิมพ์รัตน์ nongnuchbr14@gmail.com 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266996 สารบัญ 2023-12-28T21:58:12+07:00 นงนุช รักชื่อดี nongnuchbr14@gmail.com 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266719 การรักษาทางทันตกรรมพร้อมมูลในผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์: รายงานผู้ป่วย 2023-12-13T21:47:24+07:00 ญาณิศา กัลยพฤกษ์ kampoo.oo@hotmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคทางโครโมโซมที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มที่มีปัญหาทางสติปัญญา โดยพบว่ามีจำนวนโครโมโซมเกิน ซึ่งมักพบที่โครโมโซมคู่ที่ 21 ผู้ป่วยกลุ่มอาการดังกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มะเร็งเลือดขาว ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ บทความนี้ได้รายงานผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 9 ปี ถูกส่งมาทำฟันเนื่องจากมีฟันผุหลายซี่ ทันตแพทย์จึงวางแผนการรักษาทางทันตกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะโรคทางระบบและประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยเพื่อให้วางแผนการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยรายนี้อารมณ์ดี มีความเป็นมิตรและให้ความร่วมมือในการรักษาทางทันตกรรมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ทันตแพทย์จึงให้การรักษาทางทันตกรรมพร้อมมูล ทำการรักษาจำนวน 4 ครั้ง อีกทั้งมีการให้ทันตกรรมป้องกันและติดตามเป็นระยะเพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป </p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/264721 วัณโรคหลังโพรงจมูกในผู้ป่วยที่รักษามะเร็งหลังโพรงจมูกครบ : รายงานผู้ป่วย 2023-08-16T18:35:28+07:00 สุขุมาภรณ์ ผาลิวงศ์ jay3507097@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้แพร่หลาย แต่ที่บริเวณหลังโพรงจมูกพบได้น้อยมาก<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อแสดงอาการทางคลินิก ลักษณะทางรังสี และการวินิจฉัย วัณโรคหลังโพรงจมูกที่เกิดภายหลังการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษารายกรณี โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยซึ่งเก็บประวัติ อาการแสดง ผลทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางรังสีวิทยา การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และผลการรักษา<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยชายอายุ 38 ปี มาด้วยอาการหูอื้อข้างเดียว มีอาการหลังรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก ครบประมาณ 9 เดือน เอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบก้อนที่หลังโพรงจมูก ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ไม่พบรอยโรคในปอด ได้รับการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนส่งตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่าเป็นวัณโรคที่หลังโพรงจมูก ผู้ป่วยอาการดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาต้านวัณโรค ครบ 6 เดือน<br /><strong>สรุป:</strong> วัณโรคเป็นโรคที่ควรนึกถึง และควรทำการตรวจชิ้นเนื้อในผู้ป่วยทุกราย ที่พบความผิดปกติบริเวณหลังโพรงจมูก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266738 การผ่าตัดปลูกกระดูกขากรรไกรล่าง โดยใช้ถาดตาข่ายไทเทเนียม และ ไขกระดูก: รายงานผู้ป่วย 1 ราย 2023-12-14T14:49:23+07:00 วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน dtwiwat@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสร้างกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นใหม่โดยใช้ถาดตาข่ายไทเทเนียม ทำเฉพาะบุคคล ร่วมกับไขกระดูก <br /><strong>รายงานผู้ป่วย:</strong> ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น โอดอนโตเจนิก เคอราโตซีสต์ ที่กระดูกขากรรไกรล่าง การจำลองเสมือนจริง โดยใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จากข้อมูลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนการผ่าตัด การสร้างแบบจำลองกะโหลกศีรษะ 3 มิติโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผลิตถาดตาข่ายไทเทเนียม เฉพาะบุคคล หลังจากการเก็บเกี่ยวไขกระดูก จากกระดูกอุ้งเชิงกราน ถาดตาข่ายไทเทเนียม ถูกยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกรล่าง หลังผ่าตัด 2 ปี โครงร่างของขากรรไกรล่างและกระดูก ที่สร้างขึ้นใหม่ได้รับการประเมินทางรังสีวิทยา ติดตามผลการรักษา พบว่ามีผลการรักษาที่ดี ผู้ป่วยมีรูปร่างใบหน้าใกล้เคียงก่อนผ่าตัด <br /><strong>สรุป:</strong> การผ่าตัดปลูกกระดูกขากรรไกรล่าง โดยใช้ถาดตาข่ายไทเทเนียม ที่สั่งทำเฉพาะบุคคล ร่วมกับไขกระดูก ให้ผลการรักษาที่ดี</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266740 การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโอดอนโทมา : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย 2023-12-14T14:59:50+07:00 ธิดา รัตนวิไลศักดิ์ Thida0195@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โอดอนโทมา เป็นเนื้องอกต้นกำเนิดจากฟันชนิดไม่ร้ายแรงซึ่งพบมากทั่วโลก สัมพันธ์กับการมีฟันน้ำนมคงค้างและฟันถาวรที่ถูกขัดขวางการขึ้นมาในช่องปาก เนื่องจากไม่มีอาการ ผู้ป่วยจึงมักจะได้รับการวินิจฉัยในระหว่างการตรวจสุขภาพช่องปาก การตรวจพบเนื้องอกนี้แต่แรกเริ่มเป็นสิ่งจําเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาแก้ไขความผิดปกติการสบฟันที่ยาวนานและยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษารายกรณี (Case study) โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยซึ่งเก็บข้อมูลอาการ อาการแสดง ผลการตรวจทางรังสีวิทยาและการตรวจชิ้นเนื้อทางจุลพยาธิวิทยา การรักษาและการติดตามผล<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กรณีศึกษาผู้ป่วยรายที่ 1 หญิงไทยอายุ 22 ปี ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อจัดฟัน พบฟันตัดข้างและฟันเขี้ยวน้ำนมคงค้าง ร่วมกับเนื้องอกโอดอนโทมา ฟันตัดข้างและฟันเขี้ยวถาวรบนขวาที่ยังไม่ขึ้น ผู้ป่วยรายที่ 2 เด็กชายอายุเก้าขวบรายงานว่าตรวจสุขภาพฟัน พบโอดอนโทมาร่วมกับฟันเขี้ยวถาวรล่างซ้ายและฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง ที่ยังไม่ขึ้น ลักษณะทางคลินิก ภาพถ่ายรังสี และจุลพยาธิวิทยาของรอยโรคในผู้ป่วยทั้ง 2 รายนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่เคยมีมาจากการทบทวนวรรณกรรม การรักษาทางศัลยกรรม ได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ โดยมีหนึ่งรายที่ต้องส่งต่อเพื่อรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันต่อ เพื่อดึงฟันถาวรคุดขึ้นสู่ตำแหน่งในช่องปาก <br /><strong>สรุป:</strong> โอดอนโทมา เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่มีกำเนิดจากฟัน ซึ่งอาจไปมีผลรบกวนการขึ้นของฟัน ทำให้ฟันขึ้นช้า หรือไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ การตรวจวินิฉัยโอดอนโทมาได้อย่างรวดเร็วและรักษาใน</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265463 รายงานผู้ป่วยเรื่องการรักษาคลองรากฟันตัดหน้ากลางที่มีการเชื่อมกับฟันเกินร่วมกับภาวะฟันในฟัน 2023-09-21T22:11:58+07:00 พิชชานันท์ ลังการ์พินธุ์ amamtown@gmail.com <p> บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อรายงานแนวทางการรักษาคลองรากฟันโดยไม่ใช้วิธีศัลยกรรมในฟันตัดหน้ากลางที่มีการเชื่อมกับฟันเกินร่วมกับภาวะฟันในฟันประเภทที่ 3 ลักษณะทางคลินิกและภาพถ่ายรังสีพบลักษณะตัวฟันและระบบคลองรากฟันที่ซับซ้อน มีรูเปิดคลองราก 2 ตำแหน่งและระบบคลองรากเชื่อมกันทั้งหมด จึงมีการใช้เครื่องมือและเทคนิคที่มีความทันสมัยในระหว่างขั้นตอนการรักษา ได้แก่ เครื่องมืออัลตราโซนิกส์ กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง เทคนิคการอุดคลองรากฟันด้วยความร้อน ซึ่งมีส่วนช่วยในการกำจัดเชื้อจุลชีพในคลองรากฟันและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อออกสู่เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันได้ดีมากขึ้น จากรายงานกรณีศึกษาฟันซี่นี้มีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างดี และเมื่อติดตามผลการรักษา 7 เดือนต่อมาผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ ตรวจทางภาพรังสีพบการหายรอยโรคปลายราก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265695 การผ่าตัดเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง ประสบการณ์ 10 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2023-10-02T10:13:44+07:00 สหชาติ ลีลามโนธรรม sahachartlee@yahoo.com <p><strong>บทนำ:</strong> ปัจจุบันการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องถือว่าเป็นวิธีการรักษาแบบมาตรฐาน (Gold Standard) หน่วยศัลยกรรมยูโรวิทยา โรงพยายาลมหาราชนครราชสีมาได้เริ่มทำการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลผลการรักษาของผู้วิจัย (อัตราการสำเร็จของการผ่าตัด ผลการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ขนาดของเนื้องอก ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ปริมาณการเสียเลือด ภาวะแทรกซ้อน) และเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ผ่าตัด, ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ปริมาณการเสียเลือดระหว่างประสบการณ์ช่วงแรกและช่วงหลัง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective) ระหว่างตุลาคม พ.ศ.2555 ถึงกันยายน พ.ศ.2565 ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้องหน่วยศัลยกรรมยูโรวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 80 รายเพศชาย 22 ราย (ร้อยละ 28.7) เพศหญิง 58 ราย (ร้อยละ 71.3) อายุเฉลี่ย 46.5 ปี (23-74) การวินิจฉัย Aldosterone Producing adenoma (APA) 63 ราย (ร้อยละ 78.7) Pheochromocytoma 6 ราย (ร้อยละ 7.5) Cushing syndrome 6 ราย(ร้อยละ 7.5) อัตราประสบความสำเร็จในการผ่าตัด ร้อยละ 97.5 อัตราการเปลี่ยนเป็นผ่าตัดเปิด ร้อยละ 2.5 (2 ราย) ขนาดเนื้องอกเฉลี่ย 2.3 เซนติเมตร (0.7–6) ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 138 นาที (72-310) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.7 วัน (2-10) ปริมาณเสียเลือดเฉลี่ย 86.6 มิลลิลิตร pancreatic injury ร้อยละ 1.3 (1 ราย) เวลาที่ใช้ผ่าตัด,ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดและปริมาณการเสียเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ระหว่างประสบการณ์ช่วงแรกและช่วงหลัง สรุปการผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค และผลการผ่าตัดจะดีขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ผ่าตัด 40 รายขึ้นไป<br /><strong>สรุป:</strong> การผ่าตัดผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไตด้วยวิธีส่องกล้อง สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคและผลการผ่าตัดจะดีขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ผ่าตัด 40 รายขึ้นไป</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265478 ประสิทธิภาพการคัดกรองผู้ป่วยนอกของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2023-09-23T15:20:27+07:00 นภัสวรรณ ศุภทิน kungnuc@hotmail.com ณัฐวุฒิ กกกระโทก nattawut.numchok@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> บทบาทสำคัญในการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินเป็นหน้าที่หลักของพยาบาลวิชาชีพ โดยแนวทางการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินที่มีมาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในการประเมินคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติได้ทันเวลา อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดในการคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยนอกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 คน และผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินประสิทธิภาพการคัดกรองรายบุคคล และ แนวทางการตรวจคัดกรองผู้ป่วยนอกตามเกณฑ์ของ Emergency Severity Index (ESI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองด้วยสถิติ Wilcoxon matched-pairs signed-rank test<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> หลังได้รับแนวทางการตรวจคัดกรองผู้ป่วยนอกตามเกณฑ์ของ Emergency Severity Index (ESI) พยาบาลวิชาชีพทั้งหมดมีความสามารถในการคัดกรองผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินวิกฤติ (Emergency) และกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน (Urgency) อยู่ในระดับสูง และพยาบาลวิชาชีพทุกคนมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)<br /><strong>สรุป:</strong> แนวทางการตรวจคัดกรองผู้ป่วยนอก ตามเกณฑ์ของ Emergency Severity Index (ESI) มีส่วนช่วยในการเพิ่มความสามารถในการตรวจคัดกรองของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266721 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2023-12-13T23:03:01+07:00 กุลลดา เลียวเสถียรวงค์ patthamapornapaijitt@gmail.com ปทมพร อภัยจิตต์ patthamapornapaijitt@gmail.com <p><strong>หลักการเหตุผล:</strong> ประชากรโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติสังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมทางสังคม ที่ส่งผล ต่อสุขภาพ การบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดโรคที่ซับซ้อน จากอาหารที่มีโซเดียมสูง น้ำตาลสูงหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ จึงเกิดภาวะไตเสื่อม จนถึงโรคไตเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทั้งแง่ปริมาณ และความรุนแรง <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวางย้อนหลัง โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง จำนวน 170 คน ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ในคลินิกรักษ์ไต โรงพยาบาลนางรอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher’s exact และ Binary logistic regression analysis<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่า 1) กลุ่มไม่มีภาวะไตเสื่อม จำนวน 77 คน (ร้อยละ 45.3) และกลุ่มมีภาวะไตเสื่อมจำนวน 93 คน (ร้อยละ 54.7) โดยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคร่วม (OR 2.083, 95% CI (1.482 - 9.011)), โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 (OR 18.736, 95% CI (7.378 -27.577)), โรคความดันโลหิตสูง (OR 7.775, 95% CI (1.915-66.049)), โรคเกาต์ (OR 10.358, 95% CI (12.282 – 14.455)), ภาวะไขมันในเลือดสูง (OR 1.225, 95% CI (1.624 – 2.402)) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (OR 1.249, 95% CI (1.174 – 2.316)) เรียงตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (p&lt;0.05) ได้แก่ โรคร่วม โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และภาวะไขมันในเลือดสูง ได้ร่วมกันทำนายโอกาสเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ร้อยละ 88.2 (p&lt;0.05)<br /><strong>สรุป:</strong> 1. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ภาวะไขมันในเลือดสูง และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด <br />2. ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้แก่ โรคร่วม โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และภาวะไขมันในเลือดสูง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266723 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2023-12-13T23:24:00+07:00 ปัณณทัต บนขุนทด iampun1976@gmail.com ปิยลักษณ์ จันทร์สม iampun1976@gmail.com ชญานิศ เขียวสด iampun1976@gmail.com วาสนา จันทร์ดี iampun1976@gmail.com กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร iampun1976@gmail.com กัลยา มั่นล้วน iampun1976@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของคนไทย การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้สามารถวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหานี้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ<br /><strong>วิธีการวิจัย:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 217 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2565 และสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด และการตรวจสุขภาพประจำปี มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 66.6 และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ แรงจูงใจด้านสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 42 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01<br /><strong>สรุป:</strong> การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในบุคคลกลุ่มเสี่ยง โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของโรค และลดอุปสรรคที่ขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสำคัญ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266724 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 2023-12-13T23:48:19+07:00 อรกัญญา ฟังสูงเนิน ornkanyaooy@gmail.com ระวีวัฒน์ นุมานิต ornkanyaooy@gmail.com ศิริพร ชมงาม ornkanyaooy@gmail.com อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ ornkanyaooy@gmail.com โสภา บุตรดา ornkanyaooy@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ที่ผ่านมา พบว่าการดูแลส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลทางด้านร่างกาย ให้ยาตามแผนการรักษา และคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์ตระหนักในการดูแลตนเอง ทำให้อัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นทุกปี<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research &amp; Development) ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์ 26-36 สัปดาห์ เข้ารับการรักษาระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2566 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2566 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพการณ์ และศึกษากรอบแนวคิดหน้าที่หลักทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ศึกษาผลลัพธ์ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 23 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบได้แก่ ความรู้เรื่องภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำ อายุครรภ์เมื่อคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และ ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่าง วิเคราะห์ด้วย Independent t-test และ Chi square test<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> 1) ได้รูปแบบการพยาบาลที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการพยาบาลแบบองค์รวมและพยาบาลได้ปฏิบัติบทบาทอิสระชัดเจน 2) ผลการพัฒนาพบว่า 2.1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังการทดลองระหว่างกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) 2.2) พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองระหว่างกลุ่มแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) 2.3) การกลับมารักษาซ้ำกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) 2.4) ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์เมื่อคลอดกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) 2.5) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกแรกเกิดกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) 3) ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อการได้รับการพยาบาลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.23, SD = 2.14) 4) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.52, SD = 0.51)<br /><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการพยาบาลตามหน้าที่หลักทางคลินิก ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสามารถยืดอายุครรภ์ให้คลอดครบกำหนดและน้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266730 ผลของโปรแกรมสนับสนุนญาติดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 2023-12-14T12:52:33+07:00 ปภาวรินทร์ มีชนะ iampun1976@gmail.com สุภารัตน์ ลัทธ์ธรรม iampun1976@gmail.com ชุมศรี ต้นเกตุ iampun1976@gmail.com ปัณณทัต บนขุนทด iampun1976@gmail.com สุกัญญา บุรวงศ์ iampun1976@gmail.com ถาวรีย์ แสงงาม iampun1976@gmail.com รังสันต์ ไชยคำ iampun1976@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจสังคมและจิตวิญญาณ เนื่องจากมีปัญหาซับซ้อนต่างจากผู้ป่วยทั่วไป ดังนั้นการตระหนักถึงความสำคัญของความผาสุกด้านจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลและเป้าหมายของชีวิตของผู้ดูแล เพื่อความเบิกบานในการทำหน้าที่และการใช้ชีวิตผู้ดูแลมีความต้องการการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณเพื่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนญาติดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย<br /><strong>วิธีการวิจัย:</strong> การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่แผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายในกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะก่อนการทดลองแตกต่างกับระยะหลังการทดลองและญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม<br /><strong>สรุป:</strong> พยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมการสอนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ไปใช้เป็นแนวทางในการสอนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ให้เกิดความเชื่อมั่น ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพิ่มความเชื่อมั่นในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ได้อย่างปลอดภัยและก่อให้มีความผาสุก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265840 อัตราส่วนของนิวโทรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ และเกล็ดเลือดต่อลิมโฟซัยท์ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเทพรัตน์ จังหวัดนครราชสีมา 2023-10-10T17:39:55+07:00 อรากรณ์ วงษ์ฟูเกียรติ arakorn.w@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis) เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิด การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงควรมีค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการช่วยวินิจฉัยการเกิดภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสามารถในการวินิจฉัยอัตราส่วนของนิวโทรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ (NLR) และเกล็ดเลือดต่อลิมโฟซัยท์ (PLR) ในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลเทพรัตน์ จังหวัดนครราชสีมา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษารูปแบบย้อนหลัง ทำการศึกษาค่านิวโทรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ (NLR) และเกล็ดเลือดต่อลิมโฟซัยท์ (PLR) ในทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อในระยะแรก ที่รักษาในโรงพยาบาลเทพรัตน์ จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 จำนวน 183 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ diagnostic test แสดงค่าความไว ความจำเพาะ และพื้นที่ใต้เส้นโค้ง ROC<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ทารกแรกเกิดเข้าร่วมการศึกษา 183 ราย มีทารกแรกเกิดที่สงสัยติดเชื้อระยะแรก 158 ราย และทารกแรกเกิดที่ยืนยันการติดเชื้อระยะแรก 25 ราย วิเคราะห์จุดตัดที่เหมาะสมค่าอัตราส่วนของนิวโทรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ (NLR) เท่ากับ 3.015 มีค่าความไวร้อยละ 48.0 ความจำเพาะร้อยละ 61.4 และพื้นที่ใต้เส้นโค้ง ROC 0.547 (95% CI: 0.440–0.654) ค่าอัตราส่วนเกล็ดเลือดต่อลิมโฟซัยท์ (PLR) เท่ากับ 74.795 มีค่าความไว ร้อยละ 40.0 ความจำเพาะร้อยละ 62.0 และพื้นที่ใต้เส้นโค้ง ROC 0.510 (95% CI: 0.405–0.615)<br /><strong>สรุป:</strong> ค่าพื้นที่ใต้เส้นโค้งของ NLR และ PLR ยังเชื่อถือไม่ได้ ดังนั้นค่าดังกล่าวจึงไม่สามารถช่วยในวินิจฉัยการติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรกได้ ควรมีการทบทวนวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูลเพิ่มเติม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266741 การศึกษาการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง (Differentiation) ทางพยาธิวิทยา ของมะเร็งริมฝีปากชนิดมะเร็งเซลล์สความัส (Squamous Cell Carcinoma) ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2023-12-14T15:13:44+07:00 พัชราภรณ์ เจียงจริยานนท์ moomoochillchill@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มะเร็งริมฝีปาก พบได้มากถึงร้อยละ 30 ของมะเร็งช่องปากทั้งหมด ชนิดของมะเร็งริมฝีปากที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์สความัส (squamous cell carcinoma) พบได้ถึงร้อยละ 90 งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ของผู้ป่วยมะเร็งริมฝีปากชนิด squamous cell carcinoma ที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ การรู้ความชุกของชิ้นเนื้อมะเร็งความรุนแรงระดับสูง (high-grade) เป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ศัลยแพทย์วางแผนการรักษา และการพยากรณ์โรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาหาความชุกของชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งระดับ high-grade ตามลักษณะของ tumor differentiation ของมะเร็งริมฝีปากชนิด squamous cell carcinoma<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเชิงพรรณนา แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยและผลชิ้นเนื้อมะเร็งริมฝีปากทางพยาธิวิทยาที่ได้รับการวินิจฉัยและผ่าตัดมะเร็งริมฝีปากและส่งตรวจชิ้นเนื้อ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เก็บข้อมูลด้านอายุ เพศ ตำแหน่งมะเร็ง ผลตรวจทางพยาธิวิทยา ด้านขนาดของมะเร็ง การเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การลุกลามเข้าเส้นเลือดหรือท่อน้ำเหลือง และการลุกลาม เข้าไปรอบๆ เส้นประสาท จำแนกผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง แสดงข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 111 ราย ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบลักษณะ well differentiated จำนวน 99 ราย (ร้อยละ 89.2) moderately differentiated จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 9.9) และ poorly differentiated จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 0.9) พบการลุกลามเข้าเส้นเลือดหรือท่อน้ำเหลือง จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 3.6) ใน well differentiated จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 3) และmoderately differentiated จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 9.1) และพบการลุกลามเข้าไปรอบๆ เส้นประสาทใน poorly differentiated จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 100) <br />moderately differentiated จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 18.2) และ well differentiated จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 1)<br /><strong>สรุป:</strong> ความชุกของชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็งระดับ high-grade ตามลักษณะของ tumor differentiation ของมะเร็งริม ฝีปากชนิด squamous cell carcinoma ในผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์คือ ร้อยละ 0.9</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265244 ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลแก้งคร้อจังหวัดชัยภูมิ 2023-09-07T14:13:27+07:00 เอมอร ส่วยสม emornsueysom@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การหกล้มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงและส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุ ครอบครัวและสังคมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลและวางแผนในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังให้เหมาะสมกับบริบทสังคมของผู้สูงอายุได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาอัตราการเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2566–30 กรกฎาคม พ.ศ 2566 จำนวน 347 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ (Binary Logistic Regression)<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่าการประเมินโดย Thai-FRAT มีผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มร้อยละ 51.8 และไม่มีความเสี่ยงร้อยละ 48.1 ส่วนการประเมินด้วย Time Up and Go Testพบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 54.4 และไม่มีความเสี่ยงร้อยละ 45.5 และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะพลัดตกหกล้มประกอบด้วยเพศ (Adj.OR=2.1, 95% CI=1.1-3.7) ความดันโลหิต (Adj.OR=1.9, 95% CI=1.1-3.4) การเดินในบ้าน (Adj.OR=2.6, 95% CI=1.1-6.1) และลักษณะพื้นในตัวบ้าน (Adj.OR=0.4, 95% CI=0.2-0.9) และสามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 33.8<br /><strong>สรุป:</strong> การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าการประเมินโดย TUGT มีความเสี่ยงร้อยละ 54.5 และการประเมินโดย Thai-FRAT มีความเสี่ยงร้อยละ 51.9 ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้แก่เพศ ความดันโลหิตการเดินในบ้าน และลักษณะพื้นในตัวบ้านเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265153 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของเทปยืดหยุ่นเพื่อการบำบัด กับการออกกำลังกายแบบแมคเคนซี่ในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจง : การทดลองแบบสุ่ม 2023-09-05T17:04:36+07:00 วีระพงศ์ สีหาปัญญา seehapanya.wee@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพในระยะยาวและ ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก เป้าหมายในการรักษาคือ ลดปวด และช่วยทำให้การทำกิจวัตร ประจำวันดีขึ้น การรักษามีมากมาย แต่ยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของ Kinesiotaping (KT) กับการออกกำลังกายแบบ McKenzie ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยการสุ่ม (Randomization) ได้แก่ กลุ่ม KT (n= 12) และกลุ่ม McKenzie (n= 12) ทำการวัดระดับความปวดด้วย Numeric rating scale (NRS) และภาวะทุพพลภาพประเมินด้วย Oswestry disability index (ODI) ก่อนและหลังการทดลอง 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> เมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการรักษาเป็นระยะเวลา 5 วัน พบว่า NRS ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.210) ในกลุ่ม KT มีค่าเฉลี่ยของ NRS ที่เปลี่ยนแปลง 1.25 ± 1.36 (NRS ก่อน 5.42 ± 1.88 หลัง 4.17 ± 1.59) และกลุ่ม McKenzie เปลี่ยนแปลง 0.67 ± 0.78 (NRS ก่อน 5.00 ± 1.28 หลัง 4.33 ± 1.30) แต่ ODI ในทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.035) โดยพบว่าในกลุ่ม KT มีค่าเฉลี่ยของ ODI เปลี่ยนแปลง 2.09 ± 2.86 (ODI ก่อน 43.33 ± 16.99 หลัง 41.24 ± 17.08) และกลุ่ม McKenzie เปลี่ยนแปลง 0.19 ± 0.64 (ก่อน 37.17 ± 18.86 หลัง 36.98 ± 19.03)<br /><strong>สรุป:</strong> หลังจาก 5 วันระดับความปวดในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจงลดลงทั้งในกลุ่ม KT และ McKenzie ส่วนภาวะทุพพลภาพในทั้ง 2 กลุ่มก็ลดลงเช่นกัน แต่ภาวะทุพพลภาพในกลุ่ม KT ลดลงมากกว่ากลุ่ม McKenzie</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266743 การดำเนินโรคและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย Patent Ductus Arteriosus ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2023-12-14T15:49:15+07:00 อาวุธ แก้วภมร avutkaew@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> Patent ductus arteriosus(PDA) หรือเส้นเลือดหัวใจเกิน เป็นหนึ่งในโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบมากในเด็ก มีการดำเนินของโรคหลายแบบ แต่ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ยังไม่พบว่ามีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การรักษาและผลลัพธ์มาก่อน<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและอาการแสดงของผู้ป่วย PDA ปัจจัยที่มีผลต่อการปิดของ PDA และผลลัพธ์ของการรักษาด้วยวิธีการต่างๆในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาครั้งแรกที่อายุน้อยกว่า 15 ปี<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยทำการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในคลินิกโรคหัวใจเด็กที่ได้รับการวินิจฉัย PDA เพียงอย่างเดียวระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ.2548 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2557<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> มีผู้ป่วย 384 คน ค่ามัธยฐานของอายุในการวินิจฉัย 30 วัน(1-5,232) เพศหญิง 227 คน(ร้อยละ 59.1) มีความผิดปกติทางโครโมโซมร่วมด้วย 60 คน(ร้อยละ 15.6) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ (ร้อยละ 96.7) มีอาการหัวใจล้มเหลว 211 คน(ร้อยละ 54.9) ได้รับการรักษาด้วยการปิดเส้นเลือด 153 คน(ร้อยละ 39.8) มีอัตราการปิดสำเร็จในครั้งเดียวร้อยละ 96.7 (148 คน) โดยใช้อุปกรณ์ปิด104 คน (ร้อยละ 70.3) และผ่าตัดปิด 44 คน(ร้อยละ 29.7) มี 5 คน (ร้อยละ 3.3) ที่ต้องปิดซ้ำ ทั้งหมดนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ป่วยมีการปิดของเส้นเลือดได้เอง 143 คน(ร้อยละ 37.2) มีค่ามัธยฐานของอายุ 220 วัน (30-6,589) โดยพบความสัมพันธ์ของขนาดเฉลี่ย ≤3 มิลลิเมตร(เมื่อเทียบกับขนาด เฉลี่ย &gt;3 มิลลิเมตร) จะมีโอกาสปิดเองเพิ่มเป็น 5 เท่า(95% CI= 2.05-12.49) <br /><strong>สรุป:</strong> การดำเนินโรคของผู้ป่วย PDA สามารถปิดได้เองร้อยละ 37.2 โดยมีขนาด PDA เฉลี่ยขณะวินิจฉัยน้อยกว่ากลุ่มที่ยังไม่สามารถปิดเองอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าเมื่อ PDA มีขนาดน้อยกว่า 3 มิลลิเมตรเป็นปัจจัยทำนายว่ามีโอกาสปิดเองเพิ่มเป็น 5 เท่า การรักษาขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิกของผู้ป่วย ถ้าพิจารณาแล้วจำเป็นต้องปิดเส้นเลือด การตัดสินใจปิดโดยการผ่าตัดหรือใช้อุปกรณ์ปิดขึ้นอยู่กับลักษณะของเส้นเลือด อาการทางคลินิก อายุและน้ำหนักของผู้ป่วย และการยอมรับในวิธีการรักษาของญาติ โดยการรักษาทั้งสองวิธีได้ผลดีมีอัตราการปิดสำเร็จสูง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265803 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึก 2023-10-09T09:48:07+07:00 วรเวทย์ โรจน์จรัสไพศาล ong120@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การติดเชื้อลำคอส่วนลึก เป็นการอักเสบติดเชื้อในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มลำคอ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เพราะโรคลุกลามได้เร็วเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลสุรินทร์<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่ได้รับการวินิจฉัยติดเชื้อลำคอส่วนลึกที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวนทั้งหมด 627 ราย โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานเป็นตัวแปรต้น ได้แก่ อายุ เพศ การมารับบริการ จำนวนวันนอน วินิจฉัย โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน วิธีการรักษา ผลการรักษา ตัวแปรตาม คือ การเสียชีวิต<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 627 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 335 ราย (ร้อยละ 53.4) อายุเฉลี่ย 52 ปี ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ย 5 วัน การวินิจฉัยที่พบมากที่สุดคือ Submandibular abscess, Ludwig’s Angina และ Peritonsillar abscess ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากสุดคือ Upper airway obstruction การรักษาส่วนใหญ่เป็นการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับผ่าตัด มีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 3.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อลำคอส่วนลึกในโรงพยาบาลสุรินทร์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่ามี 5 ปัจจัย คือ Chronic kidney disease (OR 8.1; 95% CI, 1.54-42.58; p 0.015), Liver cirrhosis (OR 11.4; 95% CI, 1.16-112.52; p 0.046), Septic shock (OR 81.28; 95% CI, 16.95-389.7; p &lt;0.001), Acute respiratory failure (OR 82.18; 95% CI, 16.65-405.58; p &lt;0.001) และ กลุ่มได้ยาปฏิชีวนะอย่างเดียว (OR 0.2; 95% CI, 0.05-0.83; p 0.02)<br /><strong>สรุป:</strong> ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต ได้แก่ Chronic kidney disease, Liver cirrhosis, Septic shock, Acute respiratory failure และ การให้ยาปฏิชีวนะอย่างเดียว</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265719 การประเมินประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน เชิงคุณภาพและกึ่งปริมาณด้วยหลักการ DRI immunoassay ด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ ของโรงพยาบาลสุรินทร์ 2023-10-03T11:54:10+07:00 ณัฐพัชร์ บุญมาก channathapat@gmail.com อำไพ หวังวก ampai.w@kkumail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> เรื่องของปัญหาการแพร่ระบาด การจำหน่าย การใช้ และผลกระทบจากยาเสพติด ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญทั้งในประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะสารเมทแอมเฟตามีน ที่มีผลกกระทบวงกว้างส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศมาเป็นระยะเวลานาน การทดสอบเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจหาสารเสพติดเพื่อการป้องปราม กำกับดูแล บำบัดรักษา และการลงโทษตามกฎหมาย การตรวจเบื้องต้นด้วยเทคนิคอิมมูโนแอสเสย์เป็นวิธีที่กำหนดให้ใช้ตรวจคัดกรองตามกฎหมาย เพื่อค้นหาผู้เสพติดก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาต่อไป ปัจจุบันการตรวจคัดกรองสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติด้วยเทคนิค immunoassay reagent based หลักการ Homogenous enzyme immunoassay (EIA) เรียกว่า Diagnostic Reagent Incorporate Enzyme Immunoassay Reagent (DRI reagent) ที่ให้ผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้ควบคู่กัน <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> การศึกษาครั้งนี้ต้องการประเมินประสิทธิภาพและประโยชน์ของวิธีการตรวจคัดกรองเมทแอมเฟตามีนโดยวิธี Immunochromatography (IC) และ DRI immunoassay (DRI) เปรียบเทียบกับวิธี Thin layer chromatography (TLC) ของงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสุรินทร์ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ใช้ตัวอย่างปัสสาวะที่รู้ผลการตรวจยืนยันจากการทดสอบด้วยเทคนิควิธี TLC ระหว่างวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 – วันที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 รวม 178 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์และประเมิน performance characteristic ของการทดสอบระหว่าง IC และ DRI โดยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Indiko กับ TLC ควบคู่กับการใช้แบบสอบถามประเมินความต้องการและประโยชน์ที่จะได้รับของผู้ใช้ในการจัดบริการตรวจคัดกรองสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนที่มีการรายงานผลได้ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผลการศึกษาเปรียบเทียบ performance characteristic พบว่าเทคนิควิธี Immunochromatography เทียบกับวิธี TLC ให้ค่าความไว (sensitivity) ร้อยละ 98.1 ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 100 ความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 98.3 ผลบวกลวง (false positive) ร้อยละ 0 ผลลบลวง (false negative) ร้อยละ 1.9 ค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวก (positive predictive value) ร้อยละ 100 ค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบ (negative predictive value) ร้อยละ 87.5 และ DRI Immunoassay เทียบกับวิธี TLC ให้ค่าความไว (sensitivity) ร้อยละ 100, ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 100 ความถูกต้อง (accuracy) ร้อยละ 100 ผลบวกลวง (false positive) ร้อยละ 0 ผลลบลวง (false negative) ร้อยละ 0 ค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวก (positive predictive value) ร้อยละ 100 ค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบ (negative predictive value) ร้อยละ 100 ตามลำดับ ในเรื่องการใช้ประโยชน์ของการบริการที่มีการรายงานค่าเชิงคุณภาพบวก (positive) หรือ ลบ (negative) และเชิงปริมาณ (ความเข้มข้น) พบว่าเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุด<br /><strong>สรุป:</strong> การตรวจคัดกรองสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน โดยใช้หลักการ DRI immunoassay ที่สามารถรายงานผลเชิงคุณภาพบวก (positive) หรือ ลบ (negative) และเชิงปริมาณ (ความเข้มข้น) สามารถให้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพสูงให้เกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการได้ โดยเฉพาะการไม่พบผลบวกลวง (false positive) และสามารถใช้ในการป้องปรามหรือติดตามการบำบัดรักษาได้ถึงผลยังคงให้เป็นลบ (negative) แต่ปรากฏค่าความเข้มข้นในสิ่งตัวอย่าง อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับการตรวจคัดกรองสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ สร้างความมั่นใจในการรับบริการของผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลการตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ในขั้นของการตรวจคัดกรองเท่านั้น ในกรณีที่ยังไม่สิ้นสุดในการดำเนินการยังคงต้องได้รับการตรวจยืนยันต่อไป</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266734 เชื้อดื้อยา Klebsiella pneumoniae กับโอกาสในการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีสะเกษ 2023-12-14T14:03:16+07:00 เอนก จัดดี ajaddee@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> เชื้อดื้อยา Klebsiella pneumoniae (K. pneumoniae) เป็นเชื้อดื้อยาที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดในเขตสุขภาพที่10 ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ จะช่วยวางแผนการรักษาพยาบาล เพื่อลดการเสียชีวิตได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้าน เพศ อายุ หอผู้ป่วย ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ชนิดของเชื้อดื้อยา ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาล การใส่ท่อช่วยหายใจกับโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา K. pneumoniae <br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ประชากรคือ ผู้ป่วยติดเชื้อ K. pneumoniae จำนวนทั้งสิ้น 766 รายเครื่องมือการวิจัย คือหอ ผู้ป่วยตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ชนิดของเชื้อดื้อยา ผลการทดสอบยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาล การใส่ท่อช่วยหายใจ สถิติที่ใช้ข้อมูลทั่วไป คือจำนวน ร้อยละ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้สถิติวิเคราะห์ Chi Square Test, Phi correlation, Cramer’V และ Contingency Coefficient<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 59 อายุมากกว่า 61 ปี ร้อยละ 55.6 ระยะเวลาการนอนรักษาพยาบาลน้อยกว่า 10 วัน ร้อยละ 38.9 เข้ารักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 56.1 ตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ ร้อยละ 68.4 ใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 42.9 และเสียชีวิต ร้อยละ 27.6 เชื้อดื้อยา K. pneumoniae มีความไวต่อยา Netilmicin, Amikacin, Meropenem, Imipenem, Doripenem และ Ertapenem ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.1 มีอายุมากกว่า 61 ปี ร้อยละ 59.6 นอนรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 51.3 ตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ ร้อยละ 70.4 และใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 59.6 และการเสียชีวิตของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ และใส่ท่อ ช่วยหายใจขณะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่<br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยา K. pneumoniae เป็นผู้ที่มีตัวอย่างส่งตรวจเป็นเสมหะ และใส่ท่อช่วยหายใจขณะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265298 การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงการป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลกาบเชิง 2023-09-11T11:32:18+07:00 ธวัชชัย ทยานรัมย์ bothawat@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> วัณโรคยังเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่และมีความชุกของการกลับมาเป็นซ้ำเป็นประจำทุกปี ผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาโรงพยาบาลกาบเชิง มีทั้งมีโรคประจำตัวโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และไม่มีโรคประจำตัว<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาความชุกของการเกิดวัณโรค และปัจจัยเสี่ยงของการป่วยวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลกาบเชิง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยวัณโรคที่วินิจฉัย รักษา และขึ้นทะเบียน ที่โรงพยาบาลเชิงจังหวัดสุรินทร์ ในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 - 30 กันยายน พ.ศ.2565 สืบค้นจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลกาบเชิงและฐานข้อมูล (National Tuberculosis Information Program; NTIP) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ความชุกของการเกิดโรควัณโรค และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรควัณโรคกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ความชุกของการเกิดวัณโรคที่รักษาในโรงพยาบาลกาบเชิงพบว่า อัตราความชุกของการเกิดวัณโรคปี 2560 2561 2562 2563 และ 2564 พบเป็น 127.9 126.2 105.4 98.7 และ 113.8 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุเฉลี่ย (AOR= 1.020 [95% CI 1.007-1.033]) ในขณะที่ปัจจัยด้าน เพศ น้ำหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ <br /><strong>สรุป:</strong> ความชุกของการเกิดวัณโรคที่พบในโรงพยาบาลกาบเชิงมีแนวโน้มลดลง และปัจจัยเสี่ยงในการป่วยวัณโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลกาบเชิงที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุเฉลี่ย</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266753 เปรียบเทียบผลการวางสายระบายช่องท้องแบบป้องกันกับไม่วางสายระบายช่องท้องแบบป้องกันในผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน 2023-12-15T12:18:02+07:00 พชร เตโชพิริยะกุล tee_abacus@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทะลุ เป็นสาเหตุของภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่พบได้บ่อยและต้องการการผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน ภายหลังการผ่าตัดรักษาศัลยแพทย์มักจะวางสายระบายในช่องท้องแบบป้องกันเพื่อใช้ตรวจภาวการณ์รั่วของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ทำการเย็บซ่อมไว้ แต่ในปัจจุบันการวางสายระบายช่องท้องแบบป้องกัน ภายหลังการผ่าตัด ไม่ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่ชัดเจนบาง สถาบันในต่างประเทศก็ไม่ได้สนับสนุนให้ทำการวางสายระบายช่องท้องในผู้ป่วยทุกราย<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาเปรียบเทียบ ผลการรักษาระหว่างกลุ่มที่ใส่สายระบายป้องกันและไม่ใส่สายระบายป้องกันในแง่มุมต่างๆ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทะลุตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการศึกษาทั้งสิ้น 70 ราย โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการวางสายระบายในช่องท้อง (Drain) จำนวน 46 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับการวางสายระบาย (No drain) จำนวน 24 ราย โดยศึกษาเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, เวลาที่ใช้ในการผ่าตัด, ความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เช่น อายุเฉลี่ย, ดัชนีมูลกาย (BMI), และ ASA score ระหว่างกลุ่ม Drain และ No drain ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อายุ 59.7±12.2 ปีกับ 53.8±13.4 ปี; p= 0.069, ตามลำดับ, BMI 20.7±2.0 กับ 21.3±3.5; p= 0.493, ตามลำดับ, และ ASA score 11.4% กับ 88.6%; p= 0.320, ตามลำดับ) ในด้านผลการรักษาพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Hospital stay) และความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก (Post-operative pain) มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม Drain และ No drain อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (Hospital stay 7.1±1.6 วัน กับ 5.7±0.7; p= &lt;0.001, ตามลำดับ, คะแนน Post-operative pain 4.8±2.1 กับ 3.1±1.9; p= &lt;0.001, ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการผ่าตัด ขนาดของแผล และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (Operative duration 43.1±9.6 นาที กับ 40.6±8.7 นาที; p= 0.300, ตามลำดับ Perforation size 0.5±0.1ซม. กับ 0.4±0.1 ซม.; p= 0.064, ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 17.4 กับร้อยละ 8.3; p= 0.304)<br /><strong>สรุป:</strong> จากการศึกษานี้ผู้ป่วยที่ไม่ได้วางสายระบายภายหลังการผ่าตัดกระเพาะและลำไส้เล็กทะลุ มีเวลาที่ใช้ในการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลที่สั้นกว่ากลุ่มที่วางสายระบายและมีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวางสายระบายอย่างมีนัยสำคัญ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266756 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2023-12-15T13:15:54+07:00 ชนิตา ปิยะรัมย์ chanitapiya@gmail.com นวภัทร แสงใสแก้ว chanitapiya@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 70-80 มีความรุนแรงระดับไม่รุนแรง อาการบาดเจ็บทางร่างกายไม่รุนแรง แต่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง ทำให้โครงสร้าง และการทำหน้าที่ของสมองเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยจากการเฝ้าระวังมากกว่าผู้ป่วยบาดเจ็บสมองปานกลาง และรุนแรง ทำให้ได้รับการรักษาล่าช้าและมีอาการทรุดลง<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง และเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 52 คน และผู้ป่วย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบบันทึกผลลัพธ์ด้านคุณภาพการบริการผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent T-test<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เป็นการจัดระบบการพยาบาล ตั้งแต่แรกรับต่อเนื่องจนถึงหลังจำหน่าย ผลการพัฒนา พบว่า การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงมีคุณภาพมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) พยาบาลมีสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 79.8 เป็น 90.3 มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 84.2 ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงมีความพึงพอใจต่อการดูแลโดยใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรงในระดับมากที่สุด ร้อยละ 91.0 <br /><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยบาดเจ็บสมองไม่รุนแรง ตั้งแต่แรกรับจนถึงหลังการจำหน่าย ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265265 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบ และผลติดตามสมรรถภาพปอด ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด 19 ที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา 2023-09-08T09:20:42+07:00 วิภาวี เที่ยงจรรยา w.thiangjunya@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะปอดอักเสบจากเชื้อโควิด 19 ถือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบความ รุนแรงต่อสุขภาพผู้ป่วยเด็กที่แตกต่างกัน ข้อมูลปัจจัยที่สัมพันธ์ภาวะปอดอักเสบที่ รุนแรงในเด็กและผลการติดตามอาการผู้ป่วยในระยะยาวยังค่อนข้างจำกัด <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยง และติดตามผลการรักษาของภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ทุกราย ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 214 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ Independent t-test, Wilcoxon signed ranks test, chi square test และ Multivariate logistic regression <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ความชุกผู้ป่วยเด็กมีภาวะปอดอักเสบ จำนวน 99 ราย (ร้อยละ 46.3) ผลการตรวจ ภาพรังสีทรวงอก (CXR) ได้แก่ Bilateral perihilar infiltration ร้อยละ 29.9 multilobar infiltrates lung ร้อยละ 18.7 และ Ground glass opacity (GGO) ร้อยละ 11.7 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ภาวะโภชนาการ (น้ำหนักเกิน/อ้วน) (Adj.OR = 2.2, 95% CI = 1.0-4.8), ไข้ (Adj.OR = 2.5, 95% CI = 1.3-4.8), อัตราการเต้นของหัวใจ (Adj.OR = 1.0, 95% CI = 1.0-1.0), ระดับ c-reactive protein(CRP) สูง (Adj.OR = 1.9, 95% CI = 1.0-3.9) <br /><strong>สรุป:</strong> ความชุกผู้ป่วยเด็กมีภาวะปอดอักเสบร้อยละ 46.3 พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบ ได้แก่ ภาวะโภชนาการ (น้ำหนักเกิน/อ้วน) ไข้ อัตราการเต้นของหัวใจ CRP สูงในกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 และหลังจากหายโควิดมาแล้ว 3 เดือน อาจพบอาการผิดปกติทั่วไปและพบภาวะสมรรถภาพปอดผิดปกติได้</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265465 การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วน ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ 2023-09-21T23:50:12+07:00 ศศิธร กระจายกลาง sk_map@yahoo.com สายรุ้ง กะลีพัด sasithorn8719@gmail.com สิริมาส ผลเจริญ sasithorn8719@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ เป็นหัตถการที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วย จากสถานการณ์ ปี พ.ศ. 2560-2562 ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 10.9, 14.6 และ 10.0 ตามลำดับ รูปแบบบริการพยาบาลเดิมไม่ชัดเจน และการเข้าถึงบริการมีความล่าช้า<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลและประเมินผลของการใช้รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ<br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> การวิจัยและพัฒนา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2566 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบการพยาบาล 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน บุคลากรทางการแพทย์ 39 คน และผู้ป่วย 609 คน (ได้ข้อมูลจากเวชระเบียนและจากผู้ป่วยโดยตรง) ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมโรงพยาบาลสุรินทร์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวัดคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกคุณภาพบริการ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบตรวจสอบการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ได้รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจที่พัฒนาขึ้น และประเมินผลของการใช้รูปแบบบริการพยาบาล พบว่า พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยกับรูปแบบบริการพยาบาลที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />= 4.7, SD= 0.4) ปฏิบัติตามร้อยละ 99.5 ผู้ป่วยเข้าช่องทางผ่านด่วนทันเวลาเพิ่มจากร้อยละ 65.6 เป็น 77 Onset to door time ลดลงจาก 123 นาที เป็น 112 นาที Door to EKG time ลดลงจาก 6 นาทีเหลือ 4 นาที Diagnosis to PPCI time ลดลงจาก 85 นาที เหลือ 68 นาที อัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 13.4 เป็น 6.3 ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 14.7 เป็น 19.8 (p &lt;0.001) รวมทั้งพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />= 4.6, SD= 0.2) มีคุณภาพชีวิตระดับดี (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />= 5.0, SD= 0.8) และพึงพอใจต่อบริการช่องทางผ่านด่วนอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />= 4.8, SD= 0.3) <br /><strong>สรุป:</strong> รูปแบบบริการพยาบาลช่องทางผ่านด่วน ส่งผลให้มีกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสวนหลอดเลือดหัวใจได้เร็วขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอัตราการเสียชีวิตลดลง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265996 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2023-10-24T14:59:02+07:00 วัชรพล ในอรุณ der2546@hotmail.com ยอดชาย สุวรรณวงษ์ yodchai53@hotmail.com สุวิมล พลวรรณ yodchai53@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> จังหวัดสระบุรีมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 29.45 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนปีงประมาณ 2561-2565 การแก้ไขปัญหาที่มีรากฐานจากพฤติกรรมและความหลากหลายในบริบทแวดล้อมต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอที่เข้าใจปัญหาและมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ศึกษาในเดือนกันยายน พ.ศ.2665–กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน โดยเลือกแบบเจาะจง แบบลูกโซ่ และสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต แบบมีส่วนร่วม แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มี 9 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดนโยบายโดยมติร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน สื่อสารมวลชน และภาคประชาชน 2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเชิงโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และชุมชน 4) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และเชื่อมโยงใช้ประโยชน์เพื่อบริหารความปลอดภัยทางถนน 5) การจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงรุก และมีเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ให้กับชุมชน 6) เสริมสร้างความรอบรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน 7) จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ความรอบรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน 8) ยกย่องแบบอย่างที่ดีและประกาศความสำเร็จต่อสาธารณะ และ 9) ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและค่านิยมด้านความปลอดภัยทางถนนในครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา และสถานที่ทำงาน โดยภาพรวมรูปแบบฯ มีความเหมาะสมด้านประโยชน์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" /> = 4.1, S.D. = 0.5) และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ปฏิบัติจริง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" /> = 4.1, S.D.= 0.4) ในระดับมาก ซึ่งอำเภอแก่งคอย หนองแค และพระพุทธบาท มีความคิดเห็นต่อประโยชน์และความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงไม่ต่างกัน<br /><strong>สรุปผล:</strong> รูปแบบฯ มี 9 ขั้นตอนสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมศักยภาพและการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ให้เป็นองค์กรแห่งความรอบรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในจังหวัดสระบุรีได้</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266762 อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2023-12-15T14:12:30+07:00 ปวีณนุช กาญจนการุณ kanjanakaroon.p@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ต้อเนื้อเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยโดยเฉพาะแถบชนบท อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดแตกต่างกันในแต่ละการศึกษาขึ้นกับลักษณะประชากรและวิธีผ่าตัดที่ต่างกัน<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาอัตราการกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบ Prospective cohort study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ช่วง พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ถึง กรกฎาคม พ.ศ.2566 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่วิเคราะห์ประกอบด้วย อายุ เพศ ขนาดและชนิดของต้อเนื้อ แพทย์ผู้ผ่าตัด วิธีผ่าตัด การใช้ adjuvant treatment ภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการติดตามหลังผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และสถิไคสแควร์ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ และอื่นๆกับการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 87 ราย อายุเฉลี่ย 62.7±10.1 ปี เป็นการผ่าตัดต้อเนื้อครั้งแรก 84 ตา (ร้อยละ 96.6) ใช้เทคนิคผ่าตัด 3 วิธี ได้แก่ Bare sclera technique 41 ตา (ร้อยละ 47.1) Pterygium excision with amniotic membrane graft 29 ตา (ร้อยละ 33.3) Pterygium excision with conjunctival autograft 17 ตา (ร้อยละ 19.5) มี 1 ราย (ร้อยละ 1.1) ที่ได้รับ adjuvant treatment ระหว่างผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ 33 ตา (ร้อยละ 37.9) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิด 13.6±8.8 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ความดันลูกตาสูง 6 ตา (ร้อยละ 6.8) แกรนูโลมาที่เยื่อบุตา 2 ตา (ร้อยละ 2.3) corneal dellen 2 ตา (ร้อยละ 2.3) ไม่พบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อ แต่พบว่าปัจจัยด้านอายุ (p &lt;0.001) เพศ (p= 0.026) ชนิดของต้อเนื้อ (p= 0.045) มีผลต่อการเลือกเทคนิคผ่าตัดของแพทย์<br /><strong>สรุป:</strong> พบอุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำของต้อเนื้อในจังหวัดบุรีรัมย์ร้อยละ 37.9 มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เล็กน้อย ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการกลับเป็นซ้ำ แต่พบว่าอายุ เพศ และชนิดของต้อเนื้อ มีผลต่อการเลือกเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266735 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test จังหวัดศรีสะเกษ 2023-12-14T14:18:46+07:00 เอนก จัดดี ajaddee@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหากไม่ถูกตรวจพบหรือรักษาแต่เนิ่นๆ มะเร็งจะลามจากปากมดลูกไปยังอวัยวะเพศและเนื้อเยื่อชั้นในรอบๆ มดลูก จากนั้นจะแพร่ลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะ ตับ และปอดทำงานผิดปกติ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยของผู้ป่วย (อายุ การตั้งครรภ์ การคลอดลูก การแท้งลูก การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การผ่าตัด การคุมกำเนิด การมีประจำเดือน ผลตรวจ Liquid-based cytology (LBC) ผลตรวจชิ้นเนื้อ ดัชนีมวลกาย และ โรคประจำตัว กับผลตรวจ HPV DNA test<br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ประชากร คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 5,250 ราย เครื่องมือการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียนที่ประกอบด้วยข้อมูล อายุ การตั้งครรภ์ การคลอดลูก การแท้งลูก การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การผ่าตัด การคุมกำเนิด การมีประจำเดือน ผลตรวจ LBC ผลตรวจชิ้นเนื้อ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัว สถิติที่ใช้ข้อมูลทั่วไป คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรใช้สถิติวิเคราะห์ Chi Square Test, Phi correlation, Cramer’V และ Contingency Coefficient<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> 1) ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี อายุน้อยที่สุด 19 ปี อายุมากที่สุด 77 ปี ผู้ป่วยเคยตั้งครรภ์มาแล้ว ร้อยละ 47.7 ผู้ป่วยที่เคยคลอดมาแล้ว ร้อยละ 47.5 ผู้ป่วยแท้งลูก ร้อยละ 4.2 ผู้ป่วยมีลูก ร้อยละ 47.5 ผู้ป่วยใช้การคุมกำเนิด ร้อยละ 18.4 ผู้ป่วยยังมีประจำเดือนอยู่ ร้อยละ 44.6<br />2) ผลตรวจ HPV DNA test ให้ผลบวก ร้อยละ 5.5 ผลตรวจชิ้นเนื้อเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด adenocarcinoma ร้อยละ 0.3 และเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิด Squamous cell carcinoma ร้อยละ 0.4 ผลตรวจ LBC เป็นเซลล์ผิดปกติ ร้อยละ 4.0 ดัชนีมวลกายของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เฉลี่ย 23.4 <br />3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของผลตรวจ HPV DNA test พบว่าผู้ป่วยที่มีผลตรวจเป็นบวกมีความสัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HPV จะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน <br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มีผลตรวจ HPV DNA test เป็นบวกจะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่เคยคลอดลูก ผู้ป่วยที่มีลูก และผู้ป่วยที่ยังมีประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266761 ปัจจัยที่มีผลต่อระยะพักรักษาตัวผู้ป่วยภาวะขาดสุราโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ.2563-2565 2023-12-15T14:02:14+07:00 กิตติยา ฉัตรดำรงสกุล maniocsnow@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะขาดสุราเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การประเมินหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุราในโรงพยาบาลศรีสะเกษ<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ทำการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Case cohort study) โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะขาดสุราตามการวินิจฉัย ICD-10 ในกลุ่มที่มีภาวะขาดสุราไม่รุนแรง Alcohol withdrawal state(F103) และ กลุ่มที่มีภาวะขาดสุราระดับรุนแรง Alcohol withdrawal delirium(F104) ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2565 โดยข้อมูลที่บันทึกประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ระยะเวลานอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โรคหลักที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลการใช้สุรา ยาเสพติดอื่นที่ใช้ร่วม ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ และภาวะแทรกซ้อน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Multiple regression <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุราทั้งหมด จำนวน 273 คน พบว่ามีระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 4.2±3.9 วัน มีภาวะขาดสุราแบบรุนแรง 135 คน(ร้อยละ 49.5) ระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 5.9 วัน สำหรับภาวะขาด สุราแบบไม่รุนแรง 138 คน(ร้อยละ 50.5) ระยะพักรักษาตัวเฉลี่ย 2.5 วัน เมื่อวิเคราะห์แบบ multiple regression พบปัจจัยที่มีผลต่อระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล คือ ภาวะขาดสุรารุนแรงมีระยะพักรักษาตัวนานกว่า 2.3 วันเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นแล้ว คะแนน AWS แรกรับที่เพิ่มขึ้นทุก 1 คะแนนจะทำให้นอนพัก รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น 0.2 วัน และระดับเอนไซม์ AST ที่ผิดปกติ (P &lt;0.05)<br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุรารุนแรง คะแนน AWS แรกรับสูง และระดับเอนไซม์ AST ที่ผิดปกติ จะมีระยะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265140 การศึกษาผลความดันลูกตาที่เปลี่ยนแปลงหลังการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาระหว่างผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิที่เป็นต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา 2023-08-31T21:30:22+07:00 วิสาร์กร วงษ์วิจิตสุข swisakorn@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ต้อหินเป็นโรคความเสื่อมของขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตาบอดรองจากต้อกระจก การรักษาโรคต้อหิน คือการลดความดันลูกตาตามเป้าหมายเพื่อให้โรคมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของความดันลูกตาที่เปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตา โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียม <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง Retrospective descriptive study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาผลหลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิที่ได้รับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาทั้งหมด ในโรงพยาบาลเทพรัตน์ นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำใช้ Repeated measurement data analysis และใช้ Generalized Estimating Equation กำหนดช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่าผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิดแบบปฐมภูมิระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกจำนวน 13 ราย(ร้อยละ 52.0) และผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมจำนวน 12 ราย(ร้อยละ 48.0) เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความดันลูกตาระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียม หลังผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาที่ระยะเวลา 6 เดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับการมองเห็นที่ดีที่สุดหลังผ่าตัดและระดับความดันลูกตาอย่างน้อย 1 คู่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p &lt;0.001) มีการสลายพังผืดหลังผ่าตัดอย่างน้อย 1 คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.013)<br />ส<strong>รุป:</strong> หลังการผ่าตัดทำทางระบายน้ำช่องหน้าม่านตาที่ระยะเวลา 6 เดือน การเปลี่ยนแปลงของความดันลูกตาระหว่างผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกและผู้ป่วยที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมลดลงจากก่อนผ่าตัดทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265432 การเปรียบเทียบคะแนน qSOFA, SIRS และ National Early Warning Score เพื่อทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แผนกห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2023-09-20T07:42:55+07:00 พัลลภา อินทร์เหลา panlapar21856@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การเลือกใช้เครื่องมือในการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพในการทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่แผนกฉุกเฉิน จะช่วยประเมินภาวะติดเชื้อได้รวดเร็วทำให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพและลดอัตราตาย <br /><strong>วัตถุประสงค์</strong> เปรียบเทียบ Quick Sequential Organ Failure(qSOFA) Systemic Inflammatory Response Syndrome(SIRS) และ National Early Warning Score(NEWS) และหาปัจจัยเพื่อทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือด<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดที่แผนกฉุกเฉิน จำนวน 216 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 และวิเคราะห์สถิติโดย แสดงค่าความไว ความจำเพาะ positive predictive value(PPV), negative predictive value(NPV), positive likelihood ratio, negative likelihood ratio แล area under the receiver operating characteristic curve(AUROC) และใช้ Logistic regression ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ศึกษาในผู้ป่วย 216 ราย มีภาวะ septic shock 56 ราย (ร้อยละ 25) ผลเพาะเชื้อ positive 94 ราย (ร้อยละ 43.5) เสียชีวิตภายใน 10 วัน 19 ราย (ร้อยละ 8.8) เสียชีวิตภายใน 30 วัน 34 ราย (ร้อยละ 15.7) อัตราตายภายใน 30 วันในผู้ป่วย septic shock ร้อยละ 35.3 (n= 12) ความไว qSOFA ≥2, SIRS ≥2 และ NEWS ≥5 ในการทำนายการเสียชีวิตภายใน 30 วัน คือ ร้อยละ 64.7, ร้อยละ 97.1 และร้อยละ 97.1 ความจำเพาะ ร้อยละ 82.4, ร้อยละ 15.9 และร้อยละ 60.4 ตามลำดับ พื้นที่ใต้เส้นโค้ง (AUROC) คือ 0.74 ,0.56 ,0.79 ตามลำดับ เมื่อทดสอบเปรียบเทียบจุดตัดที่เหมาะสม เพื่อพยากรณ์การเสียชีวิตภายใน 30 วัน พบว่าจุดตัดที่ qSOFA ≥1.5, SIRS ≥2.5 และ NEWS ≥7.5 มี AUC คือ 0.74, 0.64, 0.92 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดภายใน 30 วัน พบว่า อายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี (OR 1.02, 95% CI 1.00-1.05) คะแนน NEWS (OR 3.46, 95% CI 2.19-5.47) คะแนน SIRS (OR 2.24, 95% CI 1.44-3.49) คะแนน QSOFA (OR 5.03, 95% CI 2.76-9.19) และเมื่อวิเคราะห์โดยวิธีพหุ นามโดยนำเฉพาะตัวแปรที่ให้ค่า p-value &lt;0.05 ไปวิเคราะห์ต่อ พบว่า NEWS เป็นปัจจัยที่มี ผลต่อการเสียชีวิต (adj. OR 3.67, 95% CI 2.22-6.09 P value &lt;0.01)<br /><strong>สรุป:</strong> NEWS สามารถคาดการณ์การเสียชีวิตใน 10 และ 30 วันได้แม่นยำกว่า qSOFA และ SIRS นอกจากนี้ยังพบว่า NEWS เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต 30 วันในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดหลังการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติคพหุนาม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/265875 การหาความหนาของน้ำที่สะสมที่อยู่เหนือชั้นพังผืดของกล้ามเนื้อโดยใช้อัลตราซาวด์ เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน 2023-10-12T17:05:39+07:00 คณาฤทธิ์ พฤฒิพันธ์พิศุทธ์ trigun7415@gmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> Necrotizing fasciitis(NF) เป็นโรคติดเชื้อเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue infection) ชนิดที่ รุนแรง โดยมีโอกาสพิการได้ตั้งแต่ร้อยละ 12-83 และพบอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 34 ถ้าได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่เร็วจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และพิการได้เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยได้เร็ว และถูกต้องจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่เร็ว และลดอัตราการเสียชีวิตได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อหาความหนาของน้ำ ที่สะสมที่อยู่เหนือชั้นพังผืดของกล้ามเนื้อ โดยใช้อัลตราซาวด์ เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค Necrotizing fasciitis ที่มีมีค่าความไว (sensitivity) และ ค่าความจำเพาะ (specificity) ที่ดีที่สุด <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบ Retrospective observational study โดยค้นหาผู้ป่วยสงสัย Soft tissue infection และได้ทำอัตราซาวด์ในการช่วยวินิจฉัย Necrotizing fasciitis ที่ห้องฉุกเฉิน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์หาความหนาของน้ำที่สะสมที่อยู่เหนือชั้นพังผืดของกล้ามเนื้อ มีค่าความไว และ ค่าความจำเพาะ ที่ช่วยวินิจฉัย Necrotizing fasciitis <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยตรงตามเกณฑ์ทั้งหมด 99 ราย วินิจฉัยเป็น Necrotizing fasciitis 50 ราย และไม่ใช่ Necrotizing fasciitis 49 ราย พบว่าค่าความหนาของน้ำที่อยู่เหนือชั้นพังผืดของกล้ามเนื้อ ในการวินิจฉัยโรค Necrotizing fasciitis คือ มากกว่า 2 มม. โดยมีมีค่าความไว ร้อยละ 84, ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 67<br /><strong>สรุป:</strong> ค่าที่เหมาะสมในการช่วยวินิจฉัย Necrotizing fasciitis มากที่สุด ได้แก่ ความหนาของน้ำที่อยู่เหนือชั้นพังผืดของกล้ามเนื้อ มากกว่า 2 มม.</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266763 ความชุกและผลการรักษาวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือในโรงพยาบาลศรีสะเกษ 2023-12-15T14:34:22+07:00 ชวลิต โพธิ์งาม porjung2000@yahoo.com <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรควัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ ลักษณะของประชากร อาการแสดง และผลการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับกินยาต้านวัณโรค<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 10 ปีในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบที่มือและข้อมือ (Tuberculous tenosynovitis of hand and wrist) ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดและกินยาต้านวัณโรคในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงกันยายน พ.ศ.2565 <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อวัณโรคทุกระบบที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาลศรีสะเกษระหว่างตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงกันยายน พ.ศ.2565 ทั้งหมด 5,561 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคระบบกระดูกและข้อ 771 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.9 และเป็นผู้ป่วยวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของกลุ่มผู้ติดเชื้อวัณโรคทั้งหมดที่เข้ารับบริการ พบมีผู้ป่วยวัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือที่เข้าเกณฑ์การศึกษาวิจัยจำนวน 29 ราย เป็นชาย 17 คน หญิง 12 คน อายุเฉลี่ย 60.2 ปี ส่วนใหญ่มาด้วยก้อนที่บริเวณข้อมือ (ร้อยละ 75.9) ชามือ และกำมือได้ไม่สุด มักพบเป็นการติดเชื้อวัณโรคเฉพาะที่ข้อมือ (ร้อยละ 72.4) แต่ยังคงพบวัณโรคในระบบอื่นร่วมด้วย ได้แก่ วัณโรคปอด 6 ราย วัณโรคกระดูกสันหลัง 1 ราย และวัณโรคข้อเท้า 1 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นและกินยาต้านวัณโรคนาน 9–12 เดือน พบว่าทุกรายที่รักษาครบหายดีและไม่มีประวัติติดเชื้อวัณโรคเส้นเอ็นซ้ำจากการติดตามข้อมูลการรักษาในระยะเวลา 10 ปี อีกทั้งภาวะข้อนิ้วติดและความสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนรักษา อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยหรือเริ่มการรักษาล่าช้าและผู้ป่วยที่กินยาต้านวัณโรคไม่ต่อเนื่องเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้บ่อย เช่น แผลแยก เป็นหนองเรื้อรัง เส้นเอ็นฉีกขาด รวมถึงการติดเชื้อวัณโรคหลายระบบจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยพบมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนแต่แรกมีจำนวนถึง 13 ราย (ร้อยละ 44.8) และผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะเส้นเอ็นฉีกขาด จะมีผลการรักษาที่ไม่ดีนัก<br /><strong>สรุป:</strong> วัณโรคเส้นเอ็นอักเสบบริเวณมือและข้อมือ เป็นการติดเชื้อที่พบน้อยมาก แต่สามารถพบได้มากขึ้น ในพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูง การได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมีความสำคัญต่อผลการรักษา การผ่าตัดร่วมกับการกินยาต้านวัณโรคอย่างสม่ำเสมอนาน 9-12 เดือนยังคงเป็นมาตรฐานการรักษา ซึ่งพบว่าได้ผลการรักษาที่ดี และสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคได้</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266764 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกเปรียบเทียบกับการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดาในโรงพยาบาลชุมชน 2023-12-15T14:49:43+07:00 นภาพงษ์ ประดับสุข Igloo_ploy12@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะไส้ติ่งอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในรพ.ชุนชน การศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีปัจจัยใด ที่สามารถแยกระหว่างภาวะไส้ติ่งแตกกับภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดาได้ การศึกษานี้จึงทำการศึกษาย้อนหลังเพื่อให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่แตกต่างกัน<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษา Retrospective study ศึกษาผู้ป่วยจำนวน 139 คน เปรียบเทียบกลุ่มที่เกิดภาวะไส้ติ่งแตก 46 คน กับกลุ่มที่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบธรรมดา 93 คน ในโรงพยาบาลลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวแปรต้นได้แก่ อายุ เพศ โรคประจำตัว ลักษณะทางกายภาพของร่างกาย Vital sigh แรกรับ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ WBC, PMN, Platelet, BUN, Cr, Imaging และปัจจัยอื่นๆได้แก่ อาการอย่างอื่นที่ตรวจพบร่วมด้วย ระยะเวลาที่ปวดท้อง ระยะเวลาในการผ่าตัดล่าช้า ตัวแปรตามก็คือการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกหรือไส้ติ่งธรรมดา โดยใช้การวิเคาระห์ความสัมพันธ์แบบ logistic regression<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 139 คนพบภาวะไส้ติ่งธรรมดา 93 คน(66%) และพบภาวะไส้ติ่งแตก 46 คน(33%) พบว่าอายุเฉลี่ยของภาวะไส่ติ่งแตกอยู่ที่ 53.43±14.53 ปี และภาวะไส้ติ่งธรรมดา 47.12±17.07 ปี จากการวิเคราะห์แบบ Mutilogistic regression พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งแตกพบว่าระยะเวลาการปวดท้อง AOR= 1.05 (95% CI 1.01, 1.08) การตรวจร่างกายพบการปวดท้องแบบทั่วๆ AOR= 35.67 (95% CI 6.7, 189.82) และการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาว AOR=1.09 (95% CI 1.01, 1.19).<br /><strong>สรุป:</strong> ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไส้ติ่งแตก ได้แก่ ระยะเวลาการปวดท้อง การตรวร่างกายพบการปวดท้องทั่วๆ และการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์