วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH <p>วารสารการแพทย์ MJSSBH เป็นวารสารทางวิชาการด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความที่น่าสนใจอันเป็นองค์ความรู้ใหม่ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มค.-เมย.)&nbsp; ฉบับที่ 2 (พ.ค. – ส.ค.)&nbsp; และฉบับที่ 3 (ก.ย. – ธ.ค.) และเผยแพร่ทาง website <a href="Https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index">https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index</a></p> <p>โดยปัจจุบันวารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ได้รับการยอมรับและผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2 และอยู่ในฐานข้อมูล TCI</p> ห้องสมุดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 10/1 ถนนหน้าสถานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 th-TH วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 0857-2895 บทบรรณาธิการ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270651 เชาน์วัศ พิมพ์รัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 (1) (1) แนวทางการตัดสินใจเพื่อเลือกใช้ไหมขัดฟันพลังน้ำหรือไหมขัดฟันธรรมดา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269117 <p> ข้อถกเถียงระหว่างการเลือกใช้ไหมขัดฟันพลังน้ำ (Water flosser) กับไหมขัดฟันธรรมดา (Dental floss/String floss) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการอ้างว่าไหมขัดฟันพลังน้ำถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าไหมขัดฟันธรรมดาในการทำความสะอาดบริเวณที่เข้าถึงยาก เช่นบริเวณซอกฟัน หรือบริเวณใต้เหงือก ซึ่งไหมขัดฟันพลังน้ำจะช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ (Plaque) และลดการอักเสบของเหงือกในบริเวณเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ไหมขัดฟันพลังน้ำยังมีจุดเด่นในเรื่องนวัตกรรมที่ทันสมัยและใช้งานง่าย ในทางกลับกัน ไหมขัดฟันธรรมดาก็ถือเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน และมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์บริเวณซอกฟันอย่างเป็นที่ประจักษ์ นอกจากนี้ยังมีราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึงได้ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์หลักของบทความฟื้นฟูวิชาการฉบับนี้ ที่ผู้เขียนต้องการจะรวบรวมข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และราคา ระหว่างการใช้ไหมขัดฟันพลังน้ำกับการใช้ไหมขัดฟันธรรมดา เพื่อให้ผู้อ่านได้มีแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างนี้อย่างสมเหตุสมผล</p> ฟ้าใส สุจินพรัหม Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 339 347 การใช้ยาไอบูโพรเฟนแก้ปวดล่วงหน้าก่อนผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดหลังถอดยาฝังคุมกำเนิด: การศึกษาวิจัยแบบสุ่ม ปกปิดสองชั้น https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270471 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝังเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและสตรีอายุ 20 ปีขึ้นไปเฉพาะกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์ การใช้ยาแก้ปวดล่วงหน้าเพื่อการลดความเจ็บปวดจากการผ่าตัดถอดยาฝังคุมกำเนิด อาจช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีประสบการณ์ที่ดีและตัดสินใจเลือกใช้วิธีนี้ในการคุมกำเนิดมากขึ้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวดของการรับประทานยาไอบูโพรเฟนก่อนการผ่าตัดถอดยาฝังคุมกำเนิด<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ปกปิดสองชั้น ศึกษาในผู้ป่วยหญิงอายุ 18-30 ปี จำนวน 76 ราย ที่มารับบริการผ่าตัดถอดยาฝังคุมกำเนิดที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมถูกสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม (1:1) กลุ่มศึกษาได้รับไอบูโพรเฟนก่อนและยาหลอกหลังการผ่าตัด ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับยาหลอกก่อนการผ่าตัดและไอบูโพรเฟนหลังการผ่าตัด มีการบันทึกคะแนนความเจ็บปวดระหว่างการฉีดยาชาเฉพาะที่ หลังการผ่าตัดทันที และที่ 1 8 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด นอกจากนี้ยังบันทึกจำนวนเม็ดยาพาราเซตามอลที่ผู้ป่วยใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมวิจัย เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย และระยะเวลาการผ่าตัด มีค่าใกล้เคียงกันในทั้งสองกลุ่ม สำหรับผลลัพธ์หลัก: การศึกษานี้เปรียบเทียบคะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระหว่างสองกลุ่มโดยใช้สถิติ GEE พบว่าคะแนนความปวดโดยเฉลี่ยของกลุ่มรักษามีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ยต่างกัน 0.6 (p-value = 0.014) หลังควบคุมปัจจัยอื่นๆ ผลลัพธ์รอง: กลุ่มรักษาใช้พาราเซตามอลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (0.6 เม็ด และ 1.6 เม็ด, p-value = 0.001) และไม่พบหลักฐานของผลไม่พึงประสงค์ในทั้งสองกลุ่ม<br /><strong>สรุป:</strong> การให้ยาไอบูโพรเฟนรับประทานก่อนผ่าตัด สามารถลดคะแนนความปวดและลดปริมาณการใช้ยาพาราเซตามอลหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่มารับบริการถอดยาฝังคุมกำเนิด</p> สิริเพ็ญ อึงพินิจพงษ์ วรยศ ดาราสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 351 325 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลชัยภูมิ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270527 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การบาดเจ็บของอวัยวะตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป มีสาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ การประเมินผู้ป่วยไม่เหมาะสมและเฝ้าระวังไม่เพียงพอ ทำให้อาการทรุดลงและเสียชีวิตได้<br><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลชัยภูมิ<br><strong>วิธีการวิจัย:</strong> การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 26 คน และผู้ป่วย 180 คน ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วย 2) แบบวัด ความรู้ 3) แบบตรวจสอบการปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และ Independent t-test<br><strong>ผลการศึกษา:</strong> 1. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ประกอบด้วย การบริหารจัดการทางการพยาบาล และแผนการดูตามมาตรฐานการดูแล 7 Aspects of multiple trauma care 3) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ 2. ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย 1) ด้านผู้ให้บริการพบว่ามีการปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ 99.4 มีคะแนนความรู้หลังการพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-8.2, p &lt; 0.001) 2) ด้านผลลัพธ์ พบว่าความพึงพอใจต่อบริการสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-7.3, p &lt; 0.001) การจัดการความปวดอย่างเหมาะสมมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MC=5.2, p&lt;0.05)<br><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแล มีประสิทธิผลทั้งในด้านกระบวนการและผลลัพธ์ทางการพยาบาล</p> รักรุ่ง ด่านภักดี รัศมี ชาลีวรรณ นวพร คำพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 327 337 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะปากมดลูกสั้นกับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาครรภ์แรกและครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำในโรงพยาบาลชัยภูมิ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270482 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะปากมดลูกสั้นในหญิงตั้งครรภ์แรกหรือครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำ กับการคลอดก่อนกำหนดและผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาติดตามไปข้างหน้า เก็บข้อมูลในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จำนวน 144 คน เก็บข้อมูลโดยการวัดความยาวปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์ 16 ถึง 24 สัปดาห์และติดตามไปจนคลอด ทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-squared test หรือ Fisher’s exact test <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่า ค่าเฉลี่ยของความยาวปากมดลูกในกลุ่มครรภ์แรกมีค่าเท่ากับ 34.0 ± 0.7 มิลลิเมตร ในกลุ่มครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำมีค่าเท่ากับ 38.0 ± 0.9 มิลลิเมตร กลุ่มครรภ์แรกตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้น 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 กลุ่มครรภ์หลังความเสี่ยงต่ำตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้น 6 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 พบว่าภาวะปากมดลูกสั้นมีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดในประชากรกลุ่มที่ตั้งครรภ์แรก และมีความ สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของมารดาขณะคลอด เช่น ภาวะทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด<br /><strong>สรุปผล:</strong> ค่าเฉลี่ยความยาวปากมดลูกของประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การตรวจพบภาวะปากมดลูกสั้นในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ถือว่ามีประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในกลุ่มตั้งครรภ์ครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อช่วยให้แพทย์มีความตระหนักในเรื่องความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด นำไปสู่การรักษาด้วยยากลุ่มโปรเจสเตอโรนในครรภ์นี้และป้องกันการเกิดการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ต่อไป </p> วาทินี วิภูภิญโญ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 349 356 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีไตรกลีเซอไรด์-กลูโคสต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลโนนสูง: การติดตามระยะเวลา 10 ปี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267754 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ความต้านทานต่ออินซูลิน (IR) เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง (CKD) และโรคเบาหวาน ดัชนีไตรกลีเซอไรด์-กลูโคส (TyG) ถือเป็นทางเลือกในการทำนายความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี TyG และความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีไตรกลีเซอไรด์-กลูโคสต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลโนนสูง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาข้อมูลแบบ retrospective study ศึกษาในประชากรผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลโนนสูง ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557 และถูกติดตามค่าผลทางห้องปฏิบัติการ ค่าดัชนีไตรกลีเซอไรด์-กลูโคส โดยการ TyG, triglyceride-glucose index = (TyG = ln [Fasting triglyceride (mg / dl) x Fasting glucose (mg / dl)] / 2) ไปข้างหน้าอีก 10 ปี เพื่อดูการพัฒนาการเกิดโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลแบบ survival analysis<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถติดตามได้ครบระยะเวลา 10 ปี จำนวน 115 ราย พบผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง 70 รายคิดเป็นร้อยละ 60.9 มัธยฐานการพัฒนาโรคเป็นโรคไตเรื้อรัง 5.2 ปี จุดตัดที่เหมาะสมในการทำนายค่า baseline triglyceride-glucose index คือ 5.1 ซึ่งมีความไว ร้อยละ 54.0 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 58.0 ค่า ROC = 0.6 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยแบบ multiple cox regression พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลผู้ป่วยเบาหวานต่อการพัฒนาป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังคือ อายุมากกว่า 60 ปี (ad.HR=3.4 เท่า; 95%CI 1.8-6.5; p-value &lt;0.01) โรคประจำตัวความดันโลหิตสูง (ad.HR=2.0 เท่า; 95%CI 1.0-3.7; p-value =0.03) และค่า triglyceride-glucose index ในปีแรกทีเพิ่มขึ้น (ad.HR=2.5 เท่า; 95%CI= 1.0-6.3; p-value =0.04) <br /><strong>สรุปผล:</strong> เมื่อป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ระยะเวลา 5.2 ปี สามารถพัฒนาเป็นโรคไตเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามควรเฝ้าระวังผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง และค่า baseline ของไตรกลีเซอไรด์-กลูโคสเพื่อลดโอกาสการพัฒนาการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานได้ </p> สุคนธา เมืองจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 357 368 ประสิทธิผลของระบบบริการการแพทย์ทางไกลในการส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคช่องทางด่วนจังหวัดสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269499 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ระบบส่งต่อผู้ป่วยเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉิน แต่บุคลากรเฉพาะทางในเครือข่ายมีจำกัด จึงอาจเกิดการดูแลที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโรคช่องทางด่วนซึ่งมีความซับซ้อนในการดูแล การนำระบบบริการการแพทย์ทางไกลมาใช้ในการส่งต่อจะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแล<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบบริการการแพทย์ทางไกลที่ใช้ระหว่างโรงพยาบาลสุรินทร์และโรงพยาบาลอำเภอถึงความเหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคช่องทางด่วนในช่วงก่อนและขณะส่งต่อ, ความรุนแรงของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปหลังส่งต่อ, อัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง และ 30 วันหลังส่งต่อ<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคช่องทางด่วนที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลอำเภอมาโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม ถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เก็บข้อมูลก่อนและหลังดำเนินการระบบบริการการแพทย์ทางไกล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Student's t-test, Wilcoxon rank-sum test, Pearson's Chi-squared test, Fisher's exact test และ Relative risk (95% CI)<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วย 1,022 คน เป็นกลุ่มก่อนดำเนินการระบบ 495 คน และหลังดำเนินการ 527 คน พบว่าหลังดำเนินการการดูแลเหมาะสมมากกว่า (93.7% vs 78.6%, RR 1.19, 95% CI 1.13-1.25, p-value &lt; 0.001) ค่ามัธยฐานของ Modified Early Warning Score ที่ลดลงหลังส่งต่อมีค่ามากกว่า (2 vs 0, p-value &lt; 0.001) ส่วนอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงและ 30 วันไม่แตกต่างกัน (p-value 0.268, 0.465)<br /><strong>สรุป:</strong> การใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกลช่วยเพิ่มความเหมาะสมในการดูแลและลดความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยกลุ่มโรคช่องทางด่วนที่ได้รับการส่งต่อ</p> ศันยวิทย์ พึงประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 369 379 ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยไซนัสอักเสบในโรงพยาบาลและปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การรักษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270483 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ไซนัสอักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้ ซึ่งสามารถก่อเกิดภาวะอันตรายต่อชีวิตและเกิดทุพลลภาพตามมาได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยไซนัสอักเสบ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน และผลลัพธ์การรักษา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้เป็น Retrospective cohort study โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไซนัสอักเสบตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ยกเว้นผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งหรือเนื้องอกในโพรงจมูก ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดหรือฉายแสงในโพรงจมูก <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยในทั้งหมดที่นอนโรงพยาบาลด้วยไซนัสอักเสบ 65 ราย พบมีภาวะแทรกซ้อน 26 ราย (ร้อยละ 40.0) ส่วนใหญ่เป็น Orbital complication มากที่สุด 13 ราย ( ร้อยละ 50.0) รองลงมาคือ Intracranial complication 9 ราย (ร้อยละ 6.2) Local complication 7 ราย (ร้อยละ 10.8) และ Isolate cranial nerve palsy 3 ราย ( ร้อยละ 4.6) มีผู้ป่วย 6 รายที่มีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า 1 อย่าง (ร้อยละ 9.2) ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีผลต่อจำนวนวันนอนรพ.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย (p &lt;0.05) และจากการศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่ 3 เดือนพบมีผู้ป่วยที่หายเป็นปกติ 17 ราย อาการดีขึ้น 1 ราย และอาการไม่ดีขึ้นเลย 8 ราย (ร้อยละ 65.4 3.8 และ 30.8) พบเป็นตาบอด 3 ราย มองเห็นแย่ลง 1 ราย เกิด oroantral fistula 1 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โดยกลุ่ม intracranial complication มีผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าภาวะแทรกซ้อนชนิดอื่น และการติดเชื้อรานั้นมีผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p &lt;0.05) การรักษาภาวะแทรกซ้อนด้วยการผ่าตัดไซนัสภายใน 72 ชั่วโมงสัมพันธ์กับการเกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ ( p &lt;0.05)<br /><strong>สรุป:</strong> ไซนัสอักเสบนั้นเกิดได้ทุกช่วงอายุ และสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ โดยพบ Orbital complication มากที่สุด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและเบาหวานที่คุมไม่ดีนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไซนัสอักเสบ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษานั้นขึ้นกับชนิดของภาวะแทรกซ้อนและชนิดการติดเชื้อ ซึ่งภาวะ Orbital complication แม้พบบ่อยที่สุดแต่ผลลัพธ์การรักษาดี แต่ Intracranial complication พบน้อยแต่ผลลัพธ์การรักษาแย่กว่า อีกทั้งการติดเชื้อราสัมพันธ์กับเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลลัพธ์การรักษาแย่เช่นกัน และการรักษาโดยการผ่าตัดไซนัสที่อักเสบเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างทันท่วงทีนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีได้</p> กรภัทร์ เอกัคคตาจิต Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 381 389 การศึกษาความเที่ยงตรงและความแม่นยำของการวัดมุมแอ่นของกระดูกสันหลังส่วนเอวด้วยการใช้โปรแกรมจากโทรศัพท์มือถือเทียบกับการวัดโดยใช้โปรแกรมวัดระบบ Picture Archiving and Communication System (PACS) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269812 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มุมแอ่นกระดูกสันหลังช่วงเอวเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง อย่างไรก็ตามศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ใช้การประเมินโดยการประมาณจากการดูภาพถ่ายจากเครื่องฟลูออโรสโคปี้ระหว่างผ่าตัดซึ่งขาดความแม่นยำ ทางคณะผู้วิจัยจึงพัฒนาเทคนิคคอบบ์เตอร์ วิธีใหม่ซึ่งช่วยให้การวัดมุมง่ายขึ้นเพียงอาศัยแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งมาแล้วในสมาร์ทโฟน<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำและเที่ยงตรงของเทคนิคคอบบ์เตอร์เทียบกับมาตรฐานการวัดมุมภาพถ่ายรังสีโดยใช้เครื่องมือวัดมุมในระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ PACS (Picture Archiving and Communication System)<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลังภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการผ่าตัดรักษาทึ่แผนกออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลสุรินทร์ รังสีด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนเอวในท่ายืน ผู้วิจัย 2 คนวัดภาพถ่ายรังสีด้วยวิธีทั้ง 2 วิธีอย่างเป็นอิสระต่อกัน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วย 32 ราย ได้รับการวัดและวิเคราะห์ผล พบว่าวิธีคอบบ์เตอร์ไม่ได้มีความแตกต่างจากวิธีมาตรฐานผ่านระบบ PACS ในด้านความแม่นยำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.26) แม้ว่านำผู้ป่วยกลุ่มที่มุมแอ่นสูงมากกว่า 40 องศามาวิเคราะห์แยกส่วนแล้วก็ตาม (p=0.517) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงของวิธีคอบบ์เตอร์อยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยม ทั้งความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน (ICC=0.946) และความเชื่อมั่นเมื่อประเมินซ้ำ (ICC=0.998)<br /><strong>สรุป:</strong> วิธีวัดมุมด้วยเทคนิคคอบบ์เตอร์มีความแม่นยำและเที่ยงสูง สำหรับการวัดมุมแอ่นของกระดูกสันหลังส่วนเอวหากภาพถ่ายเป็นไปตามวิธีที่กำหนด สามารถใช้ได้ในทางคลินิกโดยเฉพาะในห้องผ่าตัดร่วมกับเครื่องฟลูออโรสโคปี้ อย่างไรก็ตามหากจะนำไปใช้วัดมุมอื่นๆ เช่นมุมหลังคด อาจจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ </p> ณัฐปวีณ์ ตัณฑประภา สุธาวี คงสวัสดิ์ ภูมิชาย สุวรักษ์สกุล Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 391 398 ปัจจัยทำนายโอกาสการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดของการใช้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ในคนไข้หัวใจขาดเลือดชนิด Acute ST Segment Elevation Myocardial Infarction https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270487 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วย Acute ST segment elevation myocardial infarction (STEMI) ในจังหวัดศรีสะเกษมีระบบเครือข่ายปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจให้แก่ทุกโรงพยาบาลชุมชนผ่านทางไลน์กลุ่มปรึกษา เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและไม่มีข้อห้ามในการให้ยา Streptokinase (SK) ผู้ป่วยจะได้ยาตั้งแต่ที่โรงพยาบาลชุมชนและประเมินที่ 60-90 นาที หลังให้ยาว่าหลอดเลือดโคโรนารีเปิดหรือไม่ ถ้าหลอดเลือดโคโรนารีไม่เปิด ผู้ป่วยจะถูกนำส่งมาห้องสวนหัวใจโรงพยาบาลศรีสะเกษเพื่อทำ Rescue percutaneous coronary angioplasty (Rescue PCI) ในจังหวัดศรีสะเกษมีอำเภอที่อยู่ห่างจากจังหวัดใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที ประมาณ 6 อำเภอ ถ้าสามารถทำนายโอกาสที่หลังจากใช้ยา SK ในผู้ป่วย STEMI แล้วโอกาสที่หลอดเลือดโคโรนารีจะไม่เปิดสูง ในโรงพยาบาลชุมชนที่ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 60 นาที กลุ่มนี้ควรจะเลือก Primary percutaneous coronary angioplasty (Primary PCI) โรงพยาบาลที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที อาจเริ่มให้ยาในรถฉุกเฉินพร้อมส่งตัวมาโรงพยาบาลศรีสะเกษเลยโดยไม่ต้องรอยาครบ 60-90 นาที เพื่อลดโอกาสเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการเสียชีวิตและลดภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อทราบปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด SK ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> Retrospective Cohort Study เก็บข้อมูลตั้งแต่กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566- กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จำนวน 140 คน<br />โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ถูกรับไว้ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายใน 12 ชั่วโมง หลังเริ่มมีอาการและได้รับ SK ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดศรีสะเกษ<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 140 คน เพศชายร้อยละ 66.4 ผู้ป่วยที่ล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดหลังให้ยา SK ร้อยละ 31.4 ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของ SK ได้แก่ผู้ป่วย Killip class 4 มี การเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 5.1 เท่า(95%CI 1.8-15.0, p-value 0.003) ของผู้ป่วยที่มี Killip class 1 เมื่อควบคุม left ventricular ejection fraction (LVEF) และระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ผู้ป่วย LVEF&lt; 40% มีการเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 5.9 เท่า (95%CI 1.6-21.9, p-value 0.008) ของผู้ป่วยที่มี LVEF≥ 40% เมื่อควบคุม Killip และระดับ น้ำตาลในเลือดแล้ว ผู้ป่วยระดับ random blood sugar ≥ 200 mg/dl มีการเพิ่มขึ้นของการล้มเหลวในการเปิดหลอดเลือดเป็น 3.0 เท่า (95%CI 1.2-8.0, p-value 0.03) ของผู้ป่วยที่ มี random blood sugar &lt; 200 mg/dl เมื่อควบคุม Killip และ LVEF แล้ว <br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่หลอดเลือดโคโรนารีไม่เปิดสูงหลังให้ยา SK คือผู้ป่วย STEMI ที่มีภาวะ Killip class 4, LVEF &lt;40% และมีภาวะน้ำตาลในเลือด (Random blood sugar≥200 mg/dl) ในกรณีที่โรงพยาบาลชุมชนเดินทางน้อยกว่า 60 นาทีอาจพิจารณาทำ Primary PCI หรือในกรณีที่โรงพยาบาลชุมชุมที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 60 นาที พิจารณาให้ยา SK ในรถฉุกเฉินพร้อมส่งตัวมาโรงพยาบาลศรีสะเกษเลย </p> จินดาพร ไชยโคตร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 399 408 ผลการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที และได้รักษาในโรงพยาบาลประโคนชัย ช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รักษา ช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270488 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาทีสามารถลดความพิการและอัตราเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ ที่ผ่านมาโรงพยาบาลประโคนชัยมีศักยภาพไม่เพียงพอจึงได้ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลประโคนชัยได้พัฒนาศักยภาพให้สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินผลการรักษาด้วย modified Rankin score ที่สัปดาห์ที่ 1 และ 8 ของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รักษาในโรงพยาบาลประโคนชัยช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 เทียบกับช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลและผลการรักษาผู้ป่วยจำนวน 370 คน ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รักษาในช่วงมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 218 คน กับช่วงตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 152 คน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุโลจิสติก ทวินามหรือปัวซองตามความเหมาะสมของข้อมูล โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่รักษาในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2565 มี unfavorable outcome (modified Rankin score มากกว่า 1 คะแนน) ที่ระยะเวลา 1 และ 8 สัปดาห์ร้อยละ 81.2 และ 61 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2567 มี unfavorable outcome ที่ระยะเวลา 1 และ 8 สัปดาห์ร้อยละ 68.4 และ 46.7 ตามลำดับ มีโอกาสเสี่ยงเป็น 0.8 เท่า (Adjusted RR = 0.8, 95%CI: 0.7 – 0.9, p-value = 0.003) และ 0.8 เท่า (Adjusted RR = 0.8, 95%CI: 0.6 – 0.9, p-value = 0.006) ตามลำดับ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br /><strong>สรุป:</strong> การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลประโคนชัยให้ผลการรักษาดี สามารถลดความพิการรุนแรงได้</p> ณัฐสุดา อนรรฆรจิต Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 409 418 การป้องกันการจ่ายยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง โดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270489 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การสั่งยาซ้ำซ้อน จัดเป็นความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาชนิดหนึ่งและเป็นการสั่งใช้ยาไม่สมเหตุสมผล อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา และอาจนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อป้องกันและดักจับคำสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง โดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน และศึกษาผลลัพธ์การดำเนินการ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ โดยการศึกษาลักษณะและขนาดของปัญหาการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน ระยะที่ 2 ดำเนินการโดยออกแบบระบบแจ้งเตือนในโปรแกรมและดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square test ผลการวิจัยมีดังนี้<br /><strong>ผลการศึกษ:</strong> การศึกษาในปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีการสั่งยาซ้ำซ้อนจำนวน 74 รายงาน คิดเป็นร้อยละ 5.0 โดยมี 2 เหตุการณ์เป็นความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E จากสาเหตุผู้ป่วยได้รับยาซ้ำซ้อนในกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง หลังจัดทำโปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 พบว่าโปรแกรมสามารถดักจับการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกัน จำนวน 2,138 และ 2,596 ครั้ง คิดเป็นยากลุ่ม Dihydropyridine Calcium Channel Blockers (DHP-CCBs) 1,023 (ร้อยละ 47.8) 1,349 (ร้อยละ 51.9) Angiotensin Receptor Blockers (ARBs) 53 (ร้อยละ 2.5) 119 (ร้อยละ 4.6) Beta blockers 493 (ร้อยละ 23.1) 627 (ร้อยละ 24.2) Alfa-blockers 569 (ร้อยละ 26.6) 501 (ร้อยละ 19.3) ตามลำดับ เภสัชกร consult แพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยา จำนวน 15 และ 31 ครั้ง แพทย์ปรับคำสั่งการใช้ยาตามคำแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 100.0 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของโปรแกรมแจ้งเตือน HOMC ต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในการสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนของกลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) จาก Chi-square test มีดังนี้คือ ความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ B เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2565 (OR 2.59 95%CI 1.30-5.14 p=0.008) ความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ C ขึ้นไป ที่ลดลงในปีงบประมาณ 2564 (OR 0.17 95%CI 0.04-0.76 p=0.019) และปีงบประมาณ 2565 (OR 0.17 95%CI 0.04-0.75 p=0.017)<br /><strong>สรุป:</strong> การป้องกันการสั่งยาซ้ำซ้อนโดยใช้โปรแกรมตั้งระบบแจ้งเตือน อาจจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาจากการจ่ายยาซ้ำซ้อนในกลุ่มเดียวกันได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ยังต้องใช้องค์ความรู้ของทีมสหสาขาวิชาชีพในการช่วยคัดกรองคำสั่งใช้ยาของแพทย์ </p> กัญปภัส มัชฌิมาภิโร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 419 428 การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างยา Triamcinolone เทียบกับ Ketorolac โดยฉีดเข้าข้อไหล่ในผู้ป่วยเอ็นหัวไหล่อักเสบเรื้อรัง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269185 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะเอ็นหัวไหล่อักเสบเรื้อรังทำให้เกิดอาการปวดและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อ การรักษาที่นิยมคือการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เข้าข้อ <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างยา Triamcinolone เทียบกับ Ketorolac โดยฉีดเข้าข้อไหล่ในผู้ป่วยเอ็นหัวไหล่อักเสบเรื้อรัง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบ Randomized clinical trial กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย เอ็นหัวไหล่อักเสบเรื้อรัง ในแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงมกราคม พ.ศ.2567 จำนวน 40 คน สุ่มตัวอย่างย่างง่าย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฉีดยา Triamcinolone (n=20) และกลุ่มที่ 2 ฉีดยา Ketorolac (n=20) ติดตามหลังการรักษาที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือนประเมินผลโดย Constant score (CS) และ American Shoulder and Elbow Surgeons score (ASES score) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างยาสองกลุ่ม<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่าที่ 1 สัปดาห์ กลุ่มที่ฉีดยา Triamcinolone มีค่าเฉลี่ยคะแนน ASES score สูงกว่ากลุ่มที่ฉีดยา Ketorolac อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Triamcinolone: 80.7 ± 16.0 Ketorolac: 70.0 ± 16.1, p=0.04) แต่เมื่อติดตามการรักษาที่ 1 เและ 3 เดือน ทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกัน (1 เดือน pcs= 0.68, pASES=0.88 3 เดือน pcs= 0.23, pASES=0.37) <br /><strong>สรุป:</strong> การฉีดยาเข้าภายในข้อไหล่ทั้ง Triamcinolone และ Ketorolac มีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย โดย Triamcinolone มีข้อได้เปรียบเล็กน้อยในแง่การลดปวด แต่การเลือกใช้ยาตัวใดนั้นควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น การศึกษาในอนาคตควรเพิ่มระยะเวลาการติดตาม และอาจใช้การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมในการประเมินผลการรักษา</p> ภุชงค์ กุลรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 429 438 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270502 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆในร่างกาย รวมถึงมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง ทำให้เกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ช่วงกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2567 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจมวลกล้ามเนื้อด้วยเครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดแรงบีบมือ ตรวจสมรรถภาพทางกายด้วยการวัดอัตราเร็วในการเดินระยะ 6 เมตรและการลุกนั่งเก้าอี้ 5 ครั้ง วินิจฉัยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ตามเกณฑ์ Asian Working Group for Sarcopenia 2019 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติิเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ chi2, independent t-test, univariable และ multiple logistic regression<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้เข้าร่วมการวิจัย 154 ราย ผ่านเกณฑ์คัดเลือก 150 ราย (ร้อยละ 97.4) พบว่ามีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) 78 ราย (ร้อยละ 52.0) และมีภาวะมวล กล้ามเนื้อน้อยชนิดรุนแรง (Severe sarcopenia) 28 ราย (ร้อยละ 18.7) พิจารณาแยกรายปัจจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ดัชนีมวลกาย OR=0.80(P&lt;0.001) รอบต้นแขน OR=0.78(P&lt;0.001) รอบเอว OR=0.95(P=0.01) รอบน่อง OR=0.81 (P&lt;0.001) และโรคประจำตัว OR=0.38 (P=0.03) พิจารณาปัจจัยร่วมพบว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ aOR=1.09(P=0.02) และดัชนีมวลกาย aOR=0.79(P&lt;0.001) ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางคลินิกได้แก่ การไม่มีผู้ดูแล(aOR=2.10) และผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม (aOR=3.43)<br /><strong>สรุป:</strong> 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย อายุที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ปัจจัยป้องกันคือดัชนีมวลกาย</p> ณิชานันท์ พิทักษา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 439 450 ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270503 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหัก มีสองวิธีหลักๆคือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล(close reduction with maxillo-mandibular fixation) และ การรักษาแบบผ่าตัดเปิดแผล (open reduction with plate &amp; screws with maxillo-mandibular fixation) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปว่าวิธีใดดีกว่ากัน เพราะทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียทำให้เกิด ผลแทรกซ้อนหลังการรักษาได้ การรักษาจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์เจ้าของไข้ว่าจะเลือกใช้วิธีใด โดยในปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการตัดสินวิธีการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหัก หากทราบได้ว่าผลแทรกซ้อนหลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมีอะไรบ้าง มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจของแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผล เหมาะสม และคุ้มค่าต่อไป<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาว่า มีผลแทรกซ้อนอะไรบ้างที่เกิดขึ้น หลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของแพทย์ในการเลือกวิธีการรักษา <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง Retrospective cohort study จากใบบันทึกประวัติการรักษา ของผู้ป่วยกระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ. ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ. ศ. 2566 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 52 ราย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วย 52 ราย อายุเฉลี่ย 33.0(+15.2) ปี ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 80.0 เพศหญิงร้อยละ 20.0 สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ร้อยละ 80.0พบการบาดเจ็บร่วมคือสมองกระทบกระเทือนเล็กน้อยและปานกลางรวมกันได้ร้อยละ 40.0 พบว่าผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล ที่พบมากที่สุด คือเวลาคนไข้อ้าปาก คางผู้ป่วยจะเอียงไปทางฝั่งที่มีกระดูกกรามแตกหัก (Chin swaying) ร้อยละ 40.0 พบผู้ป่วยที่ไม่มีผลแทรกซ้อนใด ๆ หลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผลร้อย ละ 25.6 พบการสบฟันที่ผิดไปจากเดิมเล็กน้อย (Poor occlusion) ร้อยละ 19.2 พบTMJ pain ร้อยละ 9.5 และ Abnormal inter incisive distance ร้อยละ 5.7 <br /><strong>สรุป:</strong> ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล ที่พบมากที่สุด คือ Chin swaying รองลงมาคือ ไม่พบผลแทรกซ้อนใด ๆ Poor occlusion TMJ pain และ Abnormal inter incisive distance ตามลำดับ การบาดเจ็บร่วม</p> คชา อริยะธุกันต์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 451 458 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle โรงพยาบาลศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270509 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia : VAP) เป็นปัญหาที่สำคัญในผู้ป่วยวิกฤตซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิด VAP ส่งผลให้อุบัติการณ์การเกิด VAP ลดลงได้<br><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด VAP โดยการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle<br><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาล 13 คน และผู้ป่วย 133 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบวัดความรู้ แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา<br><strong>ผลการศึกษา:</strong> แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นคือ การใช้วิธีดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางร่วมกับ WHAPPCEE bundle ได้แก่ 1) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ 2) การทำความสะอาดมือ 3) การป้องกันการสูดสำลัก 4) การป้องกันการปนเปื้อน 5) การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล 6) การสรีระบำบัดทรวงอก 7) การให้ความรู้ และ 8) การประเมินผลและติดตามการปฏิบัติงาน ผลการพัฒนาพบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean±SD, 8.6±0.3) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (Mean±SD, 4.1±0.8) และความพึงพอใจอยู่ในระดับมา (Mean±SD, 4.1±0.8) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยพบว่า อัตราการเกิด VAP ลดลงจาก 7.5 ต่อ 1,000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เหลือร้อยละ 3.7 ต่อ 1,000 วันของการใช้เครื่องช่วยหายใจ<br><strong>สรุป:</strong> แนวปฏิบัตินี้มีประสิทธิภาพในการลดการเกิด VAP ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจได้ ดังนั้นจึงควรมีการสนับสนุนให้นำแนวปฏิบัติใช้ในการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป</p> จุฬาลักษณ์ ดวนใหญ่ จรูญศรี มีหนองหว้า ศุนัญญา มีทอง ไวยพร พรมวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 469 477 การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลระดับอำเภอในเขตชุมชนเมือง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269765 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปี 2565 นโยบายกระทรวงสาธารณสุขมุ่งสู่ประเทศใช้ยาสมเหตุผล โดยกำหนดเป้าหมายให้จังหวัดมีอำเภอใช้ยาสมเหตุผล ซึ่งอำเภอเมืองสุรินทร์ยังไม่บรรลุเป้าหมายจึงเกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพและชุมชนในการแก้ปัญหาดังกล่าว<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลลัพท์การดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลและพัฒนาระบบบริการเป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผลในเขตชุมชนเมือง<br /><strong>วิธีการวิจัย:</strong> การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในประชากร 3 กลุ่ม 1) ผู้ป่วยโรงพยาบาลสุรินทร์ที่ได้รับวินิจฉัยโรคใน 12 ตัวชี้วัด 2) ผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน 2 ตัวชี้วัด 3) ประชาชนในตำบลนาดีและตะเปียงจรัง มีระยะเวลา 12 เดือน (กรกฎาคม พ.ศ.2565- มิถุนายน พ.ศ.2566) โดยแบ่ง 4 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์จากตัวชี้วัดเทียบกับเป้าหมาย ระยะที่ 2 พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลโดยใช้นโยบาย 1) PLEASE 2) 9มาตรการก้าวหน้าก้าวด้วยกัน 3) เชิงรุกชุมชนใช้ยาสมเหตุผล ระยะที่ 3 ดำเนินการ ระยะที่ 4 ประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Chi-square และ t-test <br /><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผลลัพธ์หลังพัฒนา อำเภอเมืองสุรินทร์เป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผล โดย1)โรงพยาบาลสุรินทร์ใช้ยาสมเหตุผลระดับ 3 ผ่านเกณฑ์12 ตัวชี้วัดโดยการใช้ยาห้ามใช้ Statin ในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0 และ การใช้ยา Inhaled corticosteroid ในผู้ป่วยหืดเรื้อรังจากร้อยละ 82.3 มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p value&lt;.001) 2)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใช้ยาสมเหตุผลระดับ3 ครบ 27 แห่ง 3) และมีชุมชนใช้ยาสมเหตุผล 2 ชุมชน) ในการพัฒนาพบปัญหาก่อนพัฒนาคือการกำหนดนโยบายการสื่อสารและกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และได้พัฒนากลไก PLEASE 9มาตรการก้าวหน้าก้าวด้วยกัน และเชิงรุกชุมชนใช้ยาสมเหตุผล <br /><strong>สรุป:</strong> อำเภอเมืองสุรินทร์เป็นอำเภอใช้ยาสมเหตุผล ที่ประกอบด้วยโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระดับ3 ทุกแห่ง และชุมชนใช้ยาสมเหตุผล 2 ชุมชน จากที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลขึ้น</p> พัชฎาพร เสาทอง วราภรณ์ เพิ่มเพียร ธีรวัฒน์ บุญเลิศ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 479 490 ผลของโปรแกรมเข่ายิ้มต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270514 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมทางร่างกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อม พบมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความเจ็บปวด และจำกัดการเคลื่อนไหวอาจนำไปสู่ความพิการได้ <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเข่ายิ้ม โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมิน Modified WOMAC Score วัดระดับความปวด ความฝืดข้อ การใช้งานข้อ และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าโดยใช้โกนิโอมิเตอร์ <br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 30 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จะได้รับโปรแกรมทั้งหมด 8 สัปดาห์ ดังนี้ 1) ตรวจประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยแพทย์ 2) การออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาและการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว 3) การพอกเข่าด้วยสมุนไพรโดยแพทย์แผนไทย 4) การติดตามเยี่ยมบ้าน โดยทีมพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข และนักกายภาพบำบัด เพื่อทบทวนการออกกำลังกายรวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อีกทั้งเสริมกำลังใจในการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้สูงอายุมีอาการปวดลดลง ความฝืดข้อลดลง การใช้งานข้อดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ρ&lt;0.05) <br /><strong>สรุป:</strong> หลังได้รับโปรแกรมเข่ายิ้ม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดอาการปวด เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้</p> ชมพูนุท ชีวะกุล วิธวินท์ ฝักเจริญผล กลิ่นสุดา เร่งพิมาย จิดาภา ปิจะยัง สุดารัตน์ ยารัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 491 497 การศึกษาแบบย้อนหลังประสิทธิภาพการบริบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 โรงพยาบาลศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270515 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นปัญหาที่รุนแรงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ผู้ป่วยมีความลำบากในการเข้าถึงการรักษา นอกจากนั้นพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วย จะส่งผลให้เกิดการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> การศึกษานี้จัดทำเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ การบริบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ของโรงพยาบาลศรีสะเกษ จากการจัดการบริบาลโดยให้ความรู้ Diabetes Self-Management Program (DSMP) และ สนับสนุนการใช้อุปกรณ์เจาะน้ำตาลด้วยตัวเอง (SMBG) <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง จัดทำที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยนำข้อมูลของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 1 ที่เข้าร่วมการบริบาลดังกล่าว ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ค่า low-density lipoprotein (LDL) ประวัติการนอนโรงพยาบาล ด้วยภาวะ Diabetes ketoacidosis (DKA) และ hypoglycemia ชนิดของยาอินซูลินที่ผู้ป่วยได้รับและทำการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังได้รับการบริบาลเป็นระยะเวลา 1 ปี <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของ HbA1C ครั้งสุดท้าย ก่อนรับการบริบาล ร้อยละ 10.6 โดยมีผู้ป่วย 5 คน (ร้อยละ 7.7) มี HbA1C &lt;7% ค่าเฉลี่ยของ HbA1C ของผู้ป่วย เมื่อทำการติดตามหลังได้รับการบริบาลเป็นเวลา 1 ปี ร้อยละ 9.2 โดยมีผู้ป่วย 15 คน (ร้อยละ 23) ที่มี HbA1C &lt;7% <br /><strong>สรุป:</strong> การบริบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยการให้ความรู้ DSMP และ การสนับสนุนการเจาะปลายนิ้วด้วยตนเอง เป็นเวลา 1 ปี เป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถลด HbA1C ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญ</p> ณัฐวุฒิ เพิ่มศิริพันธุ์ ภัทรวดี บุญแซม พิชามญชุ ์ กุลธีรวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 499 509 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270116 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลละหานทรายมีปัจจัยหลายอย่างที่ควรพัฒนาและปรับปรุง เช่น CPG ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บุคลากรใหม่ไม่เข้าใจแนวปฏิบัติที่วางไว้ และมีผู้ป่วยมารับยาไม่ต่อเนื่อง ขาดความรู้เรื่องการใช้ยา การพัฒนาระบบให้มีคุณภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบริการตามมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยจากการใช้ยา<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลละหานทราย<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ช่วงเวลา พฤษภาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2567 มีผู้ร่วมกระบวนการวิจัยคือ ทีมพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก 13 คน ประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ และกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี 100 คน โดยนำการวิเคราะห์สถานการณ์ของสภาพปัญหาของผู้ป่วย/รูปแบบการบริการของเจ้าหน้าที่ มาใช้ในการประชุมวางแผน การพัฒนาแนวปฏิบัติ และติดตามประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความรู้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสเปรียบเทียบก่อนและหลังศึกษาด้วยสถิติทดสอบที (Paired t-test)<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ประเมินผลหลังปรับรูปแบบใหม่พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความรู้ที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (x = 7.5) เป็นระดับมาก (x = 12.8) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.001) ความพึงพอใจมีภาพรวมค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 81.5 และอัตราของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาต้านไวรัสสามารถกดไวรัสได้สำเร็จคิดเป็นร้อยละ 99.7<br /><strong>สรุป:</strong> การพัฒนารูปแบบทางการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลละหานทราย ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ด้านยาเพิ่มขึ้น มารับยาต่อเนื่อง พึงพอใจในการให้บริการ </p> ผการัตน์ รัตน์ประโคน Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 511 520 การวิเคราะห์แรงปฏิกิริยา ความเค้นหลักสูงสุดและการกระจายความเค้นวัสดุตะขอฟันเทียมบางส่วนถอดได้ 3 ชนิดด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ 3 มิติ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/270125 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> อะซีตอลเรซินและพีอีอีเคมีแนวโน้มที่ถูกนำมาทำตะของานฟันเทียมบางส่วนถอดได้มากขึ้น สิ่งที่ทันตแพทย์ต้องพิจารณาก่อนจะเลือกใช้วัสดุคือแรงปฏิกิริยา ความเค้นหลักสูงสุด และการกระจายความเค้นที่เกิดขึ้นเมื่อตะขอได้รับแรงโดยเฉพาะแรงจากการถอดใส่ฟันเทียม<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> วิเคราะห์แรงปฏิกิริยา ความเค้นหลักสูงสุดและการกระจายความเค้นที่เกิดขึ้นของวัสดุทำตะขอโคบอลต์โครเมียม อะซิตอลเรซิน และพีอีอีเคที่มีอัตราส่วนความสอบและระยะการกดต่างกันด้วยวิธีระเบียบไฟไนต์เอลิเมนต์<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> สร้างโมเดล 3 มิติของตะขอยาว 15 มม.ส่วนของโคนตะขอกว้าง 2 มม.และหนา 1.5 มม. และสร้างส่วนปลายให้มีอัตราส่วนความสอบแตกต่างกันคือ 0.6 0.8 และ 1 กดตะขอที่จุดห่างปลายตะขอ 3 มม.ที่ระยะ 0.5 1.0 และ 2.0 มม. วิเคราะห์ด้วยวิธีระเบียบไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อหาแรงปฏิกิริยา ความเค้นหลักสูงสุดและการกระจายความเค้น<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> แรงปฏิกริยาเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนความสอบของตะขอที่เพิ่มขึ้นและตามระยะการกดที่เพิ่มขึ้นในทุกวัสดุ เรียงลำดับจากมากสุดไปน้อยสุดคือโคบอลต์โครเมียม พีอีอีเค และอะซีตอลเรซินตามลำดับ สำหรับความเค้นหลักสูงสุดพบว่าสูงขึ้นตามอัตราส่วนความสอบและสูงขึ้นตามระยะการกดในทุกวัสดุ โดยเรียงลำดับจากมากสุดไปน้อยสุดคือโคบอลต์โครเมียม พีอีอีเค และอะซีตอลเรซินตามลำดับ ซี่งพบว่าทุกกลุ่มของโคบอลต์โครเมียมให้ค่ามากกว่าค่าความเค้นคราก สำหรับรูปแบบการกระจายความเค้นพบว่าทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันคือมีความเค้นสะสมอยู่ที่บริเวณส่วนโคนของตะขอ<br /><strong>สรุป:</strong> พีอีอีเคและอะซีตอลเรซินนั้นสามารถเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการทำตะของานฟันเทียมบางส่วนถอดได้โดยการเพิ่มขนาดตะขอและใช้ในฟันหลักที่มีความคอดมากกว่า</p> ศศิชานันท์ ธรรมกรบัญญัติ เมทินี วิวัฒนาสิทธิพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 521 529 การใช้เครื่องมือปรับแต่งจมูกและสันเหงือกก่อนการผ่าตัดสำหรับทารกปากแหว่งเพดานโหว่ : รายงานผู้ป่วย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267925 <p> ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ป่วย ได้แก่ ปัญหาด้านความสวยงาม ปัญหาการดูดนม โครงสร้างจมูกและขากรรไกรบนผิดปกติ และปัญหาการพูด การใช้เครื่องมือปรับแต่งจมูกและสันเหงือกก่อนการผ่าตัด ทำให้ผลของการผ่าตัดแต่งริมฝีปากและจมูกดีขึ้น บทความนี้ รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยทารกเพศหญิงไทยหนึ่งราย อายุ 10 วัน มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านซ้ายแบบสมบูรณ์ ได้รับการใส่เครื่องมือปรับแต่งจมูกและสันเหงือกก่อนการผ่าตัดริมฝีปากและจมูก ผลการรักษาเป็นที่พอใจ ผู้ป่วยดูดนมได้ดี กระดูกพรีแมกซิลลาถูกดึงเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โครงสร้างจมูกดีขึ้น</p> รัศมีจันทร์ กีรติสุขสกุล Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-27 2024-08-27 39 2 459 468 สารบัญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269036 เชาน์วัศ พิมพ์รัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 39 2 (2) (3)