วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH <p>วารสารการแพทย์ MJSSBH เป็นวารสารทางวิชาการด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการวิจัย รายงานผู้ป่วย บทความที่น่าสนใจอันเป็นองค์ความรู้ใหม่ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มค.-เมย.)&nbsp; ฉบับที่ 2 (พ.ค. – ส.ค.)&nbsp; และฉบับที่ 3 (ก.ย. – ธ.ค.) และเผยแพร่ทาง website <a href="Https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index">https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/index</a></p> <p>โดยปัจจุบันวารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ได้รับการยอมรับและผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2 และอยู่ในฐานข้อมูล TCI</p> th-TH nongnuchbr14@gmail.com (นงนุช รักชื่อดี) dechapon1960@gmail.com (เดชพล กุลัตถ์นาม) Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269035 นงนุช รักชื่อดี Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269035 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269036 นงนุช รักชื่อดี Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/269036 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางในการสกัดแขนงประสาทบริเวณรักแร้ในผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณแขน โรงพยาบาลนางรอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268786 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การฉีดยาชาสกัดกั้นข่ายประสาทแขนโดยใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทางในการผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกรยางค์บน เป็นมาตรฐานทางวิสัญญีวิทยา ด้วยการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยยาชา ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นสู่ภาวะปกติได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน และลดระยะวันนอนโรงพยาบาล<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางในการสกัดแขนงประสาทบริเวณรักแร้ในผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณแขน โรงพยาบาลนางรอง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> วิจัยภาคตัดขวางย้อนหลัง (Retrospective Cross-sectional study) ศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดที่แขนระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทาง จำนวน 62 คน ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 โดยศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย การประเมินความเสี่ยงหรือสภาพของผู้ป่วยตาม American association of Anesthesiologists และปัจจัยด้านเทคนิค ได้แก่ สูตรยา ระยะเวลาของการให้ยาระงับความรู้สึก ระยะเวลานอนในโรงพยาบาล และชนิดการผ่าตัด เลือกจากปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05)<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่าง 62 คน พบว่า อาการปวด อาการไข้ นอนไม่หลับ ปริมาณการสูญเสียเลือด และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ด้านระยะวันนอนในโรงพยาบาล คือ เพศ p-value = 0.008 (odds ratio 2.221) ระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.006 (odds ratio 1.765) ด้านการเสียเลือด ได้แก่ เพศ p-value = 0.003 (odds ratio 2.765) ช่วงอายุ p-value = 0.005 (odds ratio 2.664) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.006 (odds ratio 1.275) ด้านความปวด คือ เพศ p-value = 0.009 (odds ratio 1.765) ช่วงอายุ p-value = 0.005 (odds ratio 2.083) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.003 (odds ratio 1.057) ด้านอาการไข้ คือ เพศ p-value = 0.007 (odds ratio 1.500) ช่วงอายุ p-value = 0.001 (odds ratio 3.978) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.002 (odds ratio 5.556) ด้านการนอนไม่หลับ ได้แก่ เพศ p-value = 0.005 (odds ratio 1.195) และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก p-value = 0.005 (odds ratio 1.889) และปัจจัยที่มีผลร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R<sup>2</sup> = 0.130 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านความปวด ร้อยละ 96.8 ปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R<sup>2</sup> = 0.224 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านอาการไข้ ร้อยละ 77.4 ปัจจัยด้านช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึกมีค่า Nagelkerke R<sup>2</sup> = 0.219 ร่วมกันทำนายโอกาสการเกิดผลลัพธ์ด้านการเสียเลือด ร้อยละ 69.4 <br /><strong>ส<span style="font-size: 0.875rem;">รุป</span><span style="font-size: 0.875rem;">:</span></strong><span style="font-size: 0.875rem;"> ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์การระงับความรู้สึกด้วยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูงนำทางคือ เพศ ช่วงอายุ และระยะเวลาของการระงับความรู้สึก มีผลต่ออาการปวด ไข้ และนอนไม่หลับ ซึ่งทีมวิสัญญีต้องตระหนักถึงความปลอดภัย และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งในขณะให้การระงับความรู้สึก และหลังการระงับความรู้สึกต่อเนื่องไปจนถึง 48 ชั่วโมง และควรนำผลวิจัยไปสร้างแนวทางเวชปฏิบัติดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อไป</span></p> อนุพล ตั้งบุญนนท์, ปทมพร อภัยจิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268786 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266720 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมีผลต่ออัตราตายและความพิการที่เพิ่มสูงขึ้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เปรียบเทียบอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ประเมินการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดและเด็ก โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 12 ราย เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกแรกเกิด แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาล แบบบันทึกอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> หลังการใช้แนวปฏิบัติอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยทารกแรกเกิดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) พยาบาลวิชาชีพผู้ร่วมใช้แนวปฏิบัติ ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดได้ถูกต้องร้อยละ 92.1 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิดอยู่ในระดับมาก<br /><strong>สรุป:</strong> แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด</p> ศศิพรรณ จองวัฒนากิจ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266720 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม โดยใช้ Nakhonphanom clinical risk score (NP score) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268789 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนา clinical risk score (Nakhonphanom score; NP score) ในการทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชนที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลนครพนม<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษารูปแบบ case-control เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี จาก เวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนมด้วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้นในการศึกษานี้ คือ 1,006 ราย เป็นผู้ป่วยเสียชีวิต (Case) จำนวน 355 ราย รอดชีวิต (Control) จำนวน 651 ราย เลือกปัจจัยที่ทำนายความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ดีที่สุด ด้วยสถิติ multivariable logistic regression และพัฒนาเป็น Clinical risk score<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในทำนายการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชน ประกอบด้วยค่าคะแนน ECOG ≥ 3, WBC &lt; 4,000 cells/mm<sup>3</sup>, ระดับ lactate ในเลือด &gt; 4 mmol/L, ผลเอกซเรย์ปอด พบ multi-lobar หรือ bilateral pneumonia และมีภาวะ shock โดยค่าคะแนนที่ได้สามารถทำนายการเสียชีวิตในระดับ AuROC ร้อยละ 80.1 (95%CI; 77.30, 82.96) และเมื่อแปลงค่าคะแนนเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะพบความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อค่าคะแนนสูงขึ้น คำนวณค่า likelihood ratio of positive ต่อการเสียชีวิตได้เท่ากับ 0.52 (95%CI; 0.43, 0.62) ในช่วงคะแนนความเสี่ยงต่ำ 2.47 (95%CI; 2.04, 2.99) ช่วงคะแนนความเสี่ยงปานกลางและ 9.96 (95%CI; 2.93, 33.77) ในช่วงคะแนนความเสี่ยงสูง <br /><strong>สรุป:</strong> NP score เป็น clinical risk score ที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ มีประโยชน์ในการทำนายอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ที่รับไว้รักษาในรพ. อย่างไรก็ตาม ควรนำ NP score ไปศึกษาถึงความตรงภายนอก (External Validation) ก่อนนำไปใช้ในเวชปฏิบัติ ช่วยให้แพทย์และพยาบาลเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และนำสู่การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้</p> สุรธินีย์ คูสกุลวัฒน, เกรียงไกร ประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268789 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดนิ่วในไต ด้วยการส่องกล้องผ่านรูเจาะทางผิวหนัง โดยใช้อัลตราซาวด์ ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268790 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพและภาวะแทรกซ้อนของการทำ PCNL โดยใช้ Ultrasound เป็นตัวนำทาง ในท่า Flank <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort study ในผู้ป่วยโรคนิ่วในไตจำนวน 342 คน ที่ได้รับการผ่าตัด PCNL โดยใช้ Ultrasound เป็นตัวนำทาง ในท่า Flank ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึง ปี พ.ศ.2566 บันทึกขนาด ระยะเวลาผ่าตัด จำนวนวันนอนโรงพยาบาล ประเมินอัตราการหมดไปของนิ่วและภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด PCNL โดยใช้ Ultrasound-guide พบ Stone free rate ร้อยละ 30.7 จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 9 วัน ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดเฉลี่ย 100 นาที มีการให้ เลือดทดแทน 32 ราย (ร้อยละ9.4) พบการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและมีไข้หลังผ่าตัด 78 ราย (ร้อยละ 21.9) โดยมีภาวะ Septic shock 18 ราย (ร้อยละ 5.3) พบการทะลุเล็กน้อยของกรวย ไต 7 ราย (ร้อยละ2) และมีภาวะท่อไตอุดตันหลังผ่าตัด 46 ราย (ร้อยละ 13.5) ไม่พบการบาดเจ็บของช่องอกหรืออวัยวะในช่องท้อง ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต<br /><strong>สรุป:</strong> การผ่าตัด PCNL โดยใช้ Ultrasound เป็นตัวนำทาง ในท่า Flank สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดขนาดและจำนวนนิ่วในไต(Stone burden) ช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บของช่องอกหรืออวัยวะในช่องท้อง และช่วยลดการสัมผัสรังสีของบุคลากรทีมผ่าตัดจากการทำงาน</p> ศุภางค์ ศรีทอง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268790 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266235 <p>หลักการและเหตุผล: โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังพบได้ร้อยละ 2–3 ของประชากรทั่วโลก มักมีอาการสำคัญ ได้แก่ อาการปวด ตึงที่ผื่น อาการคัน อาการปวดข้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการนอนหลับของผู้ป่วย<br />วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการรบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา<br />วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ cross sectional study เก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 93 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน แบบสัมภาษณ์คุณภาพการนอนหลับ และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 9Q วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square test หรือ fisher exact, independent t-test, Mann-Whitney-U test, Simple logistic regression และ Multiple logistic regression<br />ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน 93 ราย มีความชุกคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 19.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์รายตัวแปร (Univariable) ได้แก่ อายุ (OR=1.06, 95%CI=1.01-1.11, p = 0.010), โรคประจำตัว (OR=5.95, 95%CI=1.27-27.76, p = 0.023) และคะแนนประเมิณคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป DLQI-score (&gt;10) (OR=4.00, 95%CI=1.35-11.82, p = 0.012) และจากการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร (Multivariable) ได้แก่ คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป DLQI-score (&gt;10) (Adj. OR=7.88, 95%CI=1.62-38.40, p = 0.011)<br />สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว คะแนนประเมินคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป DLQI-score (&gt;10)</p> กาญจนา เหลืองรังษิยากุล Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266235 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ความชุกของภาวะซึมเศร้าบุคลากรโรงพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266464 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานในเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในโรงพยาบาลซึ่งมีลักษณะงานเป็นงานบริการที่ต้องดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นหลัก ทางโรงพยาบาลกาบเชิงจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพจิตของบุคคลากรในโรงพยาบาล จึงมีการประเมินสุขภาพจิตประจำปีแก่บุคคลากร ซึ่งจากแบบประเมินสุขภาพจิตบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิง ปี พ.ศ. 2565 ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาโรคซึมเศร้า ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจจัดทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด เรื่องความชุกของภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การป้องกันในระยะยาว และนำไปสู่การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตต่อไปในอนาคต<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อหาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดของภาวะซึมเศร้าในบุคลากรโรงพยาบาลกาบเชิง <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาความชุกการเกิดภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิง คัดเลือกแบบคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive selection) โดยเก็บข้อมูลจากเฉพาะบุคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงเท่านั้น ที่ตอบกลับแบบประเมินสุขภาพจิตผ่านเว็บไซต์ Mental health check in ซึ่งผ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ตั้งแต่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2566 ถึง 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 โดยได้รับการตอบกลับแบบสอบถาม จำนวน 137 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามคัดกรองพลังใจ(RQ) แบบสอบถามคัดกรองภาวะหมดไฟ(Burn OUT) แบบสอบถามคัดกรองภาวะเครียด(ST-5) แบบสอบถามคัดกรองภาวะซึมเศร้า(2Q,9Q) แบบสอบถามคัดกรองภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย(8Q) วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาบรรยาย โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และใช้ fisher exact test เพื่อคำนวณหาความสัมพันธ์ของปัจจัยในการเกิดภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิง<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> การศึกษาพบว่าบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงมีภาวะซึมเศร้าจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 13.1 ผลเปรียบเทียบปัจจัยสัมพันธ์ของข้อมูลทั่วไประหว่างบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงที่มีภาวะซึมเศร้าและบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าโดยคำนวนด้วยสถิติฟิชเชอร์เอ็กแซก (Fisher’s exact) พบว่าปัจจัยด้านตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value 0.021) และปัจจัยด้านพลังใจ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภาวะเครียด มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P-value &lt; 0.001) ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส กลุ่มงาน โรคประจำตัว พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br /><strong>สรุป:</strong> การศึกษาพบว่าบุคคลากรโรงพยาบาลกาบเชิงมีภาวะซึมเศร้าจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 13.1 ดังนั้นจึงควรมีระบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าบุคคลากรโรงพยาบาลในทุกปี และประเมินอาการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง </p> เอกสิทธิ์ ทำนักสุข Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266464 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268792 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเกิดโรคในชุมชน<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม.จังหวัดสุรินทร์ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม.จังหวัดสุรินทร์ ตัวอย่างเป็นอสม.ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,332 คน คัดเลือกเป็นการสุ่มแบบอาสาสมัคร(Volunteer Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One- way ANOVA และ Multiple Regression<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอสม.จังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับสูง (M=4.29, SD.=0.55) ปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ปัจจัยเสริม (การได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจจากบุคคล) ความสามารถในการใช้ทรัพยากร ทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกและรายได้ต่อเดือน โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 29.4 (R<sup>2</sup>=0.294, p=0.015)<br /><strong>สรุปผล:</strong> ปัจจัยนำ (ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก) ปัจจัยเอื้อ(ความพอเพียงของทรัพยากรและความสามารถในการใช้ทรัพยากร) ปัจจัยเสริม (การได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจจากบุคคล) และปัจจัยส่วนบุคคล(รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็น อสม.) มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอสม.จังหวัดสุรินทร์</p> ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม, ปุริตา บุราคร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268792 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268793 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังมีปัญหาสุขภาพร่วมด้วยซึ่งหากได้รับการดูแลและฟื้นฟูจากทีมสุขภาพที่มีศักยภาพในด้านผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงจะทำให้มีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงที่ดีขึ้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 54 คนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 54 คน คัดเลือกเป็นการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เครื่องมือการวิจัย 2 ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมการศึกษาและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์การเปรียบเทียบก่อนและหลังการศึกษาของข้อมูลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ (ความดันโลหิต, ระดับน้ำตาลในเลือด, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, การประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ) และค่าคะแนนสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอสม.ด้วยสถิติทดสอบที (Paired t-test)<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ค่าคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ค่าคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพ(ภาวะสุขภาพปัจจุบัน) ค่าคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพ(ภาวะสุขภาพเทียบกับคนวัยเดียวกัน) และค่าคะแนนสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุหลังเข้าโปรแกรมเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt;0.001 <br /><strong>สรุปผล:</strong> การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในกลุ่มภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นและยังเพิ่มสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของอสม.ให้สูงขึ้น</p> จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268793 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268794 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเซลล์มะเร็งของเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงซึ่งชนิดที่พบบ่อยเกิด จากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า โพลิพ (Polyp) และใช้เวลาระยะหนึ่งในการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง โดยการตัดติ่งเนื้องอก (Polyp) ออกสามารถป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงนับว่ามีความสำคัญต่อการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มแรกได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> 1) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2561 – 2565 2) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องจำแนกตามพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2561 – 2565<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (Retrospective study) โดยดำเนินการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลทะเบียนของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ โรงพยาบาลสตึก โรงพยาบาลพุทไธสง โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ โรงพยาบาลแคนดง โรงพยาบาลบ้านด่าน และโรงพยาบาลคูเมือง วิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์ช่วง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์แนวโน้มและขนาดการเปลี่ยนแปลงอัตราอุบัติการณ์ (Average annual percent change) โดยวิธี join point regression analysis ทดสอบ model โดยวิธี Monte Carlo Permutation<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ โดยเพศชายมีร้อยละการป่วยมากกว่าเพศหญิง เพศชาย (ร้อยละ 55.5) มีค่าอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 40.8 ต่อประชากร 100,000 ราย และเพศหญิง (ร้อยละ 44.5) มีค่าอัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 30.3 ต่อประชากร 100,000 ราย ซึ่งปัจจัยด้านเพศยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประเด็นนี้ยังได้ถูกอธิบายเพิ่มเติมว่า การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับยีน ABCB11 ซึ่งเป็นยีนที่จะแสดงออกในเพศชายได้ดีกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า อายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละการเกิดโรคมากกว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 – 59 ปี ซึ่งปัจจัยด้านอายุ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคลที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประวัติการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ประวัติว่าไม่ได้สูบบุหรี่ ดังนั้นอาจขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิต ร้อยละ 12 และการสูบบุหรี่ในระยะยาวมีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตของ Adenomatous polyp <br /><strong>สรุป:</strong> สรุปผลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของผู้ที่มาเข้ารับการตรวจคัดกรองส่องกล้องในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เเก่ เพศ (p-value = 0.038) , อายุ (p-value = 0.022) ,และประวัติการสูบบุหรี่ (p-value = 0.005)</p> อุริษา วิทยาวราพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268794 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง : กรณีศึกษา 2 ราย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267283 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ส่งผลให้มารดาหลังคลอดเกิดอาการชักถือเป็นอุบัติการณ์ที่มีความสำคัญและรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั้งในมารดาและทารกในครรภ์<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการพยาบาลในมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายและหาแนวทางในการพยาบาลมารดาหลังคลอดมีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงให้มีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของมารดาหลังคลอด โรคเดียวกันทั้ง 2 รายที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาล สุรินทร์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ.2566 ขั้นตอนได้แก่ เลือกผู้ป่วยแบบจำเพาะเจาะจง ประเมินมารดาหลัง คลอดวิเคราะห์ข้อมูลปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล อภิปรายผล สรุปและให้ข้อเสนอแนะ <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด มีประวัติความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ได้มีการประเมินปัญหา กำหนด เป็นการพยาบาลในสามระยะคือ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูและระยะจำหน่าย โดยการมีการติดตามดูแลรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิดตามการ รักษาที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการรักษาและจำหน่ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย<br /><strong>สรุป:</strong> กระบวนการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> อมรรัตน์ มนตราภิบูลย์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267283 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความรู้และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266412 <p><strong>หลักการและเหตุ:</strong> อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนสุขภาพชุมชนอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณสุข มีบทบาทในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง นำความรู้ที่ถูกต้องไปถ่ายทอดให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความรู้และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา <br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> การศึกษากึ่งทดลอง <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน สำหรับเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสุ่มแบบอย่างง่ายร่วมกับสมัครใจเข้าร่วม ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามและแบบประเมินทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> 1) ภายหลังได้รับโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และทักษะการใช้เครื่องเออีดี (AED) 90.3 96.6 และ 98.8 (±11.9, ±9.2,±4.2) ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 62.7 30.0 30.6 (±17.0,±22.7,±21.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) 2) ภายหลังได้รับโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และและทักษะการใช้เครื่องเออีดี (AED 90.3 96.6 และ 98.8 (±11.9, ±9.2,±4.2) ดีกว่ากลุ่มควบคุม 63.9 28.0 31.0 (±18.7, ±22.7,±21.4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) <br /><strong>สรุป:</strong> โปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสามารถเพิ่มศักยภาพโปรแกรมการประยุกต์แรงจูงใจในการป้องกันโรคทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้ดีขึ้น ดังนั้น ควรนำโปรแกรมไปใช้กับอาสามาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือบุคคลในครอบครัว และชุมชนในเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินได้</p> ชิษณุสรณ์ มีพลัง, ธณกร ปัญญาใสโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266412 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามในพื้นที่เขตชนบท https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268795 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มะเร็งเต้านมระยะลุกลามพบอุบัติการณ์ได้สูงในพื้นที่เขตชนบทในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะเร็งเต้านมระยะลุกลามยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากพบอัตราการเสียชีวิตที่สูงและการพยากรณ์โรคไม่ดีเมื่อเทียบกับมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามของผู้ป่วยในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจะทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริง และจะได้วางแผนนโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective cohort observational study) โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ทำการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามประวัติก่อนการเข้ารับการรักษา ติดตามข้อมูลในระหว่างการรักษาและติดตามผลการรักษาต่อเนื่องอีก 1 ปีภายหลังการวินิจฉัย สิ้นสุดการเก็บข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2565<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 141 ราย ได้รับการวินิจฉัยในปี พ.ศ. 2563 ผู้ป่วย 20 รายถูกคัดออกตามเกณฑ์การคัดออกผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 121 ราย พบมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 52.9 ปี พบอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.3 (95%CI 37.2%, 55.6%) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามคือระยะเวลาที่มีอาการก่อนมารักษา (p &lt; 0.001) ผู้ที่ไม่มีบุตร (p = 0.037) ระดับของมะเร็ง (p = 0.026) และผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง (p = 0.022) อัตราการมีชีวิตรอดที่ 1 ปี ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (82.1% vs 100%, p &lt; 0.001)<br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาก่อนการมารักษาที่นาน ผู้ที่ไม่มีบุตร ระดับของมะเร็งที่สูง และผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามในพื้นที่เขตชนบท การวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการลดระยะเวลาก่อนมารักษา ให้ผู้ป่วยเข้ารับรักษาได้เร็วขึ้นอาจสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามได้</p> นาวิน ขันธรักษา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268795 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ค่าความคลาดเคลื่อนในการจัดตำแหน่ง สำหรับการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ โดยใช้เทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม ในโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266457 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ค่าความคลาดเคลื่อนในการจัดท่าผู้ป่วยในแต่ละครั้งส่งผลต่อความเที่ยงตรงในการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) และเป็นเทคนิคมาตรฐานในการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินค่าความคลาดเคลื่อนในการจัดตำแหน่งและขอบเขตการวางแผนการรักษา (PTV) ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ศีรษะและลำคอ ได้รับการฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนในการจัดท่าจากการถ่ายภาพในแนวระนาบ 2 มิติ (KV-image) และภาพปริมาตร 3 มิติ (CBCT) ของผู้ป่วยมะเร็ง ศีรษะและลำคอ ได้รับการฉายรังสีด้วยเทคนิค IMRT ด้วยเครื่อง Elekta Harmony Pro ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ.2566 ประเมินหาค่าความคลาดเคลื่อนใน 3 ด้านในแนว lateral, longitudinal และ vertical จากนั้นนำข้อมูลค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้ไปคำนวณหาค่า systematic errors, random errors และ PTV<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ศึกษาทั้งสิ้น 74 ราย 2,410 ภาพถ่าย (CBCT 666 ภาพ และ KV-image 1,744 ภาพ) พบว่า ในแนว lateral, longitudinal และ vertical ค่า systematic errors เท่ากับ 0.071 cm 0.061 cm และ 0.059 cm ตามลำดับ ค่า random errors เท่ากับ 0.11 cm 0.10 cm และ 0.10 cm ตามลำดับ ค่า PTV โดยวิธีของ van Herk เท่ากับ 0.26 cm 0.22 cm และ 0.21 ตามลำดับ<br /><strong>สรุป:</strong> ค่า PTV มีค่าน้อยกว่า 0.5 cm ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมในการฉายรังสีผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ รวมถึงสามารถที่จะลด PTV ลงได้ถึง 0.3 cm ในกรณีที่ต้องการลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติ</p> อภิศักดิ์ จู่จุ้ยเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266457 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการรักษาด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำในห้องฉุกเฉิน ในการป้องกันภาวะชักซ้ำจากภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยที่มีอาการถอนพิษสุราอย่างรุนแรงในโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266587 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ภาวะถอนพิษสุราเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยติดสุรา ผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงที่มีอาการชัก มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะชักซ้ำ Benzodiazepines เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาภาวะถอนพิษสุรา และสามารถป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ชักซ้ำและภาวะสั่นเพ้อจากการถอนพิษสุราได้ <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการใช้ยา diazepam ทางหลอดเลือดดำ ณ ห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงในการลดการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยชนิด observational prospective cohort study มิติเก็บข้อมูล prospective cohort time data collection โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงร่วมกับมีภาวะชักที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสุรินทร์และรับรักษาไว้เป็นผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 31 สิงหาคมพ.ศ.2566 ติดตามเก็บข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา diazepam ทางหลอดเลือดดำและกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวในห้องฉุกเฉิน และติดตามการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Chi-square<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากการติดตามกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการรักษาด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำในห้องฉุกเฉินกลุ่มละ 107 ราย ไม่พบการเกิดชักซ้ำในกลุ่มที่ได้รับยา diazepam ทางหลอดเลือดดำตั้งแต่ที่ห้องฉุกเฉิน พบการชักซ้ำในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาคิดเป็นร้อยละ 11.2 แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) และการให้ยา diazepam ทางหลอดเลือดดำแก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรารุนแรงในห้องฉุกเฉินช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาดังกล่าวในห้องฉุกเฉิน (Absolute Risk Reduction = 11.21, 95% CI = 5.05-17.38).<br /><strong>สรุป:</strong> การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะถอนพิษสุรารุนแรงที่มีภาวะชักจากภาวะถอนพิษสุราด้วยยา diazepam ทางหลอดเลือดดำขณะผู้ป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉิน สามารถลดการเกิดภาวะชักซ้ำในระหว่างการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้</p> สุขุมาล สุนทร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266587 Wed, 01 May 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพของยา Empagliflozin ในการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268796 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน การตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะปริมาณมากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราการกรองของไตลดต่ำลง และนำไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด ยากลุ่ม Sodium-glucose co-transporter 2 inhibitors (SGLT2i) เป็นยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มใหม่ สามารถช่วยลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลอการเสื่อมของไต แต่การศึกษาส่วนใหญ่ทำในยุโรปและอเมริกา<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> การศึกษานี้ทำเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา Empagliflozin รับประทานขนาด 10 มิลลิกรัม กับกลุ่มไม่ได้รับประทานยา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอัลบูมินในปัสสาวะ เพื่อดูความสามารถในการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลอการเสื่อมของไตในประชากรไทย<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน คือมีการตรวจพบปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะตั้งแต่ 30 มก./กรัมครีเอตินีนขึ้นไป แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin และกลุ่มไม่ได้รับยา โดยใช้อัตราส่วน 1:2 ติดตามผลการรักษาโดยการตรวจปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและอัตราการกรองของไตก่อนและหลังรับประทานยาเป็นเวลาสองปี<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยจำนวน 246 ราย กลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin จำนวน 82 ราย และกลุ่มไม่ได้รับยาจำนวน 164 ราย หลังรับยาสองปีพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Empagliflozin สามารถการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (475.4 และ 841.4 มก./กรัมครีเอตินีน, p &lt;0.001) และชะลออัตราการกรองของไตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (87.4 และ 78.9 มล./นาที/1.73 ตรม., p 0.009) นอกจากนั้นยังสามารถลดน้ำตาลสะสม ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวได้<br /><strong>สรุป:</strong> ยา Empagliflozin สามารถการลดปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะและชะลออัตราการกรองของไตได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประชากรไทย</p> ภาณินี รัตนาภิชาติ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268796 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงสำหรับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267961 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางแพทย์ (DRLs) เป็นค่าตัวเลขอ้างอิงที่ใช้ตรวจสอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมของระดับปริมาณรังสีที่ใช้กับผู้ป่วยในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อสำรวจค่าปริมาณรังสีอ้างอิงสำหรับการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสุรินทร์และเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลค่าปริมาณรังสีของผู้ป่วย ดังนี้ ค่า ESAK และ DAP สำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปแบบดิจิทัล ค่า MGD และ ESAK สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม ค่า CTDI<sub>vol</sub> และ DLP สำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และความแรงรังสีของสารเภสัชรังสีในผู้ป่วยที่ตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จากนั้นคำนวณหาค่ามัธยฐานของค่าปริมาณรังสีอ้างอิงและนำไปเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ค่า ESAK และ DAP ของการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก เท่ากับ 0.24 mGy และ 178.5 mGy.cm<sup>2</sup> ตามลำดับ ค่า MGD และ ESAK ของการเอกซเรย์เต้านม เท่ากับ 2.15 และ 10.50 mGy ตามลำดับ สำหรับการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง ทรวงอกและช่องท้อง แบบไม่ฉีดสารทึบรังสี มีค่า CTDI<sub>vol</sub> เท่ากับ 33.6 4.53 และ 6.57 mGy ตามลำดับ และค่า DLP เท่ากับ 676.50 170 และ 311 mGy.cm ตามลำดับ ในขณะที่แบบฉีดสารทึบรังสี มีค่า CTDI<sub>vol</sub> เท่ากับ 67.4, 8.57, และ 12.43 mGy ตามลำดับ และค่า DLP เท่ากับ 1355 321 และ 588 mGy.cm สำหรับค่าความแรงรังสีของสารเภสัชรังสี การตรวจ Bone scan ใช้ <sup>99m</sup>Tc-MDP = 20.23 mCi, การตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ ขณะ Rest และ Stress ใช้ <sup>99m</sup>Tc-MIBI = 7.30 และ 24 mCi ตามลำดับ MUGA scan ใช้ <sup>99m</sup>Tc-RBC = 19.31 mCi, Lung Ventilation scan ใช้ <sup>99m</sup>Tc-DTPA aerosol = 20.87 mCi ส่วน Lung Perfusion scan ใช้ <sup>99m</sup>Tc-MAA = 7.04 mCi, Thyroid scan ใช้ <sup>99m</sup>TcO4- = 5.25 mCi, และ Dual-isotope parathyroid scan ใช้ <sup>99m</sup>TcO<sub>4</sub>-และ 99mTc-MIBI = 7.57 และ 21.04 mCi ตามลำดับ<br /><strong>สรุป:</strong> ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของโรงพยาบาลสุรินทร์ส่วนใหญ่มีค่าน้อยกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังมีบางรายการตรวจที่มีค่าปริมาณรังสีมากกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของประเทศไทย ควรหาแนวทางในการปรับปรุงการตรวจให้เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับโดยที่ยังคงรักษาคุณภาพของภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ให้มีความเหมาะสม</p> แสงชัย สมนาค, กฤษณา ร้อยศรี, รังสี ทรงประโคน Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267961 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์การฟื้นตัวทางระบบประสาทและการแก้ภาวะหลังค่อมของการผ่าตัดแบบ single posterior debridement, posterolateral fusion และ instrumentation สำหรับวัณโรคกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268798 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> อุบัติการณ์ของวัณโรคกำลังเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา วัณโรคกระดูกสันหลัง เป็นวัณโรคกระดูกที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 50 การรักษาหลักคือการให้ยาต้านวัณโรค ในส่วนของวิธีการผ่าตัดยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องการผ่าตัดแบบเข้าหน้า เข้าหลัง หรือทั้งหน้าและหลัง ซึ่งการผ่าตัดทางด้านหลังอย่างเดียว มีผลการฟื้นตัวทางระบบประสาทที่ดี แก้ภาวะหลังค่อมได้ดีและภาวะแทรกซ้อนน้อย<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Descriptive study) ผู้ป่วย 24 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น วัณโรคกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว เพื่อศึกษาผลลัพธ์การฟื้นตัวทางระบบประสาท (ASIA score) และการแก้ภาวะหลังค่อมโดยการวัดมุม (Cobb angle) จากเอกซเรย์ 3 ช่วงเวลา ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และติดตามการรักษา 1 ปี ที่เข้ารับการรักษาแบบ single posterior debridement, posterolateral fusion and instrumentation ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2565<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 57.3±13.8 ปี, ใช้เวลาการผ่าตัด116.7±43.3 นาที การเสียเลือดระหว่างผ่าตัด 460.4±314.2 มิลลิลิตร ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 15.3±8.1 วัน วัดมุมหลังค่อมก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด ติดตามการรักษา 1 ปี พบค่าเฉลี่ย 16.8±7.5, 9.5±6.9, 11.8±7.5 องศา ตามลำดับ สามารถแก้ภาวะหลังค่อมหลังผ่าตัดได้ร้อยละ 43 เมื่อเทียบก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด การแก้มุมหลังค่อมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.05) ผลลัพธ์ทางระบบประสาท ASIA score ก่อนผ่าตัด และติดตามการรักษาไปที่ 1 ปี พบระบบประสาทฟื้นตัวดีแบบมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;0.05)<br /><strong>สรุป:</strong> การผ่าตัด posterior debridement, posterolateral fusion และ instrumentation ในผู้ป่วยวัณโรคกระดูกสันหลังระดับอกและเอว เป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยได้ผลการฟื้นตัวทางระบบประสาทดี และแก้ภาวะหลังค่อม (Kyphosis Cobb angle) ได้ดี </p> ชุตินันท์ อัศวธนาลาภ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268798 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268797 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต้องเผชิญปัญหาการเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งใช้ระยะเวลานานในการรักษาพยาบาล เมื่ออาการทรุดลงผู้ป่วยมีทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความเจ็บปวด และอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ จึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ปัญหาสำคัญในดูแลผู้ป่วย คือ การวางแผนการดูแลล่วงหน้า ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน รวมทั้งการปฏิบัติการพยาบาลที่มีความหลากหลาย ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง<br /><strong>รูปแบบการวิจัย:</strong> การศึกษาวิจัยและพัฒนา<br /><strong>วิธีการวิจัย:</strong> ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 – ธันวาคม พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบและ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 75 คน ผู้ป่วยจำนวน 60 และผู้ดูแล 60 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง รูปแบบการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินรูปแบบ แบบวัดความรู้ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ แบบตรวจสอบการปฏิบัติตามรูปแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นของการใช้รูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบวัดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และแบบประเมินคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และ t-test <br /><strong>ผลการวิจัย:</strong> 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 1) ด้านโครงสร้างนโยบายพบว่า บุคลากรที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ 2) ด้านอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ พบว่า การยืมไปใช้ที่บ้านมีการชำรุดจากใช้งานไม่ถูกต้อง และขาดงบประมาณในการจัดซื้อ 3) ด้านกระบวนการดูแลผู้ป่วย การส่งปรึกษาแพทย์ที่ดูแลแบบประคับประคองล่าช้า ทำให้การตรวจเยี่ยมและประเมินเพื่อวางแผนการดูแลล่วงหน้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติไม่ได้วัดผลลัพธ์หลังให้ความรู้ 2. ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการทางการพยาบาล ได้แก่ นโยบายการดูแลผู้ป่วย แนวปฏิบัติทางคลินิก (CPG, CNPG, Standing order) มีพยาบาลจัดการรายกรณี 2) ด้านการพยาบาลตามมาตรฐานการดูแล 7 Aspects of care 3) ด้านการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้ การชี้แจงแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย และผลการประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />=4.9, SD=0.1) 3. ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ด้านผู้ปฏิบัติ มีความรู้เพิ่มขึ้น p&lt;0.01) ความคิดเห็นต่อรูปแบบที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />=4.6, SD=0.5) และปฏิบัติตามแนวปฏิบัติร้อยละ 98.7 กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น (p&lt;0.01) ความพึงพอใจต่อบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" />=4.9, SD=0.2) ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองดีกว่ากว่ากลุ่มควบคุม (p&lt;0.01) อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ร้อยละ 6.7 อัตราการกลับมารักษาที่แผนกฉุกเฉินร้อยละ10 การดูแลต่อเนื่องที่บ้านร้อยละ 80 การจัดการความปวดด้วย Strong opioid และการวางแผนล่วงหน้าร้อยละ 100 <br /><strong>สรุป:</strong> รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีการวางแผนล่วงหน้า พยาบาลวิชาชีพมีแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง </p> ธัญยธรณ์ ทรัพย์เบญจภาคิน, มนัสกานต์ ซื่อสัตย์, วิวัศ กิตติวีรวงศ์, อกนิษฐ์ ชาติกิจอนันท์, พัฒนา พ่อค้า Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268797 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2566 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267653 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขในพื้นที่เขตร้อน มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้รับรายงานพบผู้ป่วยไข้เลือดออกต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ ทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่สอบสวนและควบคุมโรค<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อยืนยันการระบาด อธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาของการระบาด ศึกษาประวัติการสัมผัสโรคของผู้ป่วย และศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคของคนในชุมชน <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ด้วยการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมด้วยการค้นหาเวชระเบียน และค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สัมภาษณ์ผู้ป่วยถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อ และสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ถึงความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกโดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และศึกษาทางกีฏะวิทยาและสิ่งแวดล้อมด้วยการเดินสำรวจพื้นที่<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ยืนยันการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 8 ราย (อัตราป่วย 143 รายต่อแสนประชากร) ส่วนมากเป็นเด็กนักเรียน (มัธยฐานอายุเท่ากับ 9.5 ปี) ไม่พบผู้ป่วยหนักหรือเสียชีวิต ต้นเหตุการระบาดมาจากการเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออกระบาด ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีพฤติกรรมการป้องกันยุงลายกัด โรงเรียนในชุมชนเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งพบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงกว่ามาตรฐาน ประชาชนในพื้นที่ยังมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการป้องกันไม่ถูกต้อง<br /><strong>สรุป:</strong> มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์ ในกลุ่มเด็ก ระหว่างช่วงฤดูฝน โดยมีโรงเรียนในชุมชนเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ ควรมีการเพิ่มความรู้ความเข้าใจโรคไข้เลือดออก และดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนในแต่ละพื้นที่</p> ศรัณย์ สุจินพรัหม Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267653 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยต้อหินของโรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268799 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> โรคต้อหินเป็นโรคทางตาที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก เป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตาบอดรองจากต้อกระจกและเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นถาวร ในปัจจุบันพบว่าความชุกของภาวะสูญเสียการมองเห็นในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสูญเสียการมองเห็น ลักษณะพื้นฐาน ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยต้อหินและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตาบอดในผู้ป่วยต้อหิน <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยต้อหินแผนกผู้ป่วยนอกทางจักษุวิทยา โรงพยาบาลพนัสนิคม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยต้อหินที่ได้รับการบันทึกในฐานข้อมูล HOSxP ข้อมูลที่บันทึกได้แก่ เพศ อายุ ความดันตาเริ่มต้น ระยะเวลาการรักษา ชนิดของต้อหิน ชนิดการรักษาและโรคประจำตัว ใช้โปรแกรม SPSS หาค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-square test และ Multiple logistic regression กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 1,031 คน เป็นผู้ป่วยต้อหินที่มีการสูญเสียการมองเห็น 217 คน (ร้อยละ 21) เป็นเพศชาย 114 คน (ร้อยละ 52.5) เพศหญิง 103 คน (ร้อยละ 47.5) ความชุกของภาวะสูญเสียการมองเห็นเพิ่มขึ้นตามอายุ พบมากที่สุดในช่วงอายุ 71-80 ปี (ร้อยละ 33.7) ต้อหินมุมเปิดมีภาวะสูญเสียการมองเห็นมากที่สุด 121 คน (ร้อยละ 55.8) ปัจจัยที่สัมพันธ์ที่สัมพันธ์กับภาวะสูญเสียการมองเห็นได้แก่ อายุ (P=0.001) ชนิดของต้อหิน (P=0.001) โรคเบาหวาน (P=0.025) โรคความดันโลหิตสูง (P=0.010) และโรคไขมันในเลือดสูง (P=0.007) <br /><strong>สรุป:</strong> การศึกษานี้พบว่าความชุกของภาวะสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยต้อหิน คิดเป็นร้อยละ 21 ความชุกเพิ่มมากขึ้นตามอายุ พบในผู้ป่วยต้อหินมุมเปิดมากที่สุด อายุ ชนิดของต้อหิน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยต้อหิน การคัดกรองค้นหาผู้ป่วยต้อหินเชิงรุกและเพิ่มศักยภาพการรักษาในระดับนโยบายน่าจะมีบทบาทป้องกันภาวะสูญเสียการมองเห็นให้ลดลงได้</p> เธษฐา คันธา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268799 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและความหลากหลายของยีนดื้อยาคาร์บาพีเนมของเชื้อ Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลสุรินทร์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267255 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> สถานการณ์ความชุกและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาคาร์บาพีเนมโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในวงศ์ Enterobacteriaceae หรือเรียกว่าเชื้อ Carbapenem resistant Enterobacteriaceae (CRE) เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งกลไกหลักของการดื้อยาคือการสร้างคาร์บาพีเนมเมส (carbapenemases) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กำหนดโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซมทำให้มีการถ่ายทอดยีนดื้อยาระหว่างเชื้อกัน รวมทั้งสร้างเอนไซม์ได้หลายชนิดที่มีความแตกต่างส่งผลให้มีข้อจำกัดในการรักษาเพราะทำให้เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายกลุ่ม <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อหาอัตราการพบเชื้อดื้อยาและชนิดของยีนที่สร้างเอนไซม์คาร์บาพีเนมเมสของเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae และประเมินสถานการณ์เชื้อดื้อยาของโรงพยาบาลสุรินทร์ <br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้เก็บข้อมูลเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจ ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่เป็นเชื้อ Carbapenem resistant Enterobacteriaceae <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากข้อมูลการศึกษา สิ่งส่งตรวจจำนวน 22,323 สิ่งส่งตรวจ พบเชื้อ CRE จำนวน 2,306 สิ่งส่งตรวจ คิดเป็นร้อยละ 10.3 เป็นเชื้อ Carbapenem resistant Klebsiella pneumoniae(CR-KP) ร้อยละ 7.0, Carbapenem resistant Escherichia coli(CR-EC) ร้อยละ 2.7 หอผู้ป่วยอายุรกรรมมีความชุกของเชื้อ CRE มากที่สุด ร้อยละ 6.3 รองมาเป็นหอผู้ป่วยศัลยกรรม ร้อยละ 2.6 สิ่งส่งตรวจชนิดปัสสาวะเจอมากที่สุดร้อยละ 3.9 รองมาเป็นเสมหะร้อยละ 3.5 เชื้อมีความไวต่อยากลุ่ม Aminoglycosides และFosfomycin ยีนส่วนใหญ่เป็น blaNDM ร้อยละ45.4, blaOXA-48 ร้อยละ 39.7 ยีนที่พบร่วมกันของ blaNDM และ blaOXA-48 ร้อยละ5.9 และไม่พบยีนดังกล่าวร้อยละ 6.7 อาจเป็นเพราะเชื้อสร้างเอนไซม์ชนิดอื่นหรือดื้อยาด้วยกลไกอื่น และในการศึกษานี้พบว่าเชื้อ CR-KP มียีน blaOXA-48 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.9 ส่วนเชื้อ CR-EC มียีนชนิด blaNDM มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 79.7 <br /><strong>สรุป:</strong> ปัญหาและแนวโน้มเชื้อดื้อยา CRE มีเพิ่มมากขึ้นและเกิดความหลากหลายของยีนมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยพบยีน blaKPC ที่เมื่อก่อนมีรายงานน้อยมากในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นและยังพบ blaMCR1 ซึ่งทำให้ดื้อยา colistin ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรทำการทดสอบความไวต่อยา colistin เพื่อช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยและเพื่อลดการโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลต่อไป </p> เสาวรัตน์ ดีแก่ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267255 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวกับค่าน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267418 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ปัจจุบันพบว่าโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพบภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีจะมีภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตไม่ดีตามมา <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานกับค่า<br />น้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 และปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานระดับดี<br /><strong>วิธีศึกษา:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน พ.ศ. 2566 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ค่าน้ำตาลสะสม ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้วย สถิติ Pearson, Chi square, Fisher Exact Test, Independent t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 96 คน พบผู้ป่วยเบาหวานที่มีความรู้และการปฏิบัติตัวระดับดี 10 คน (ร้อยละ10.4) ระดับไม่ดี 86 คน (ร้อยละ 89.6) โดยผู้ป่วยที่มีความรู้และการปฏิบัติตัวระดับดีมีค่าน้ำตาลสะสมดี (HbA1C≤ 7%) 2 คน และค่าน้ำตาลสะสมไม่ดี (HbA1C&gt;7%) 8 คน ไม่พบความสัมพันธ์ในทางสถิติระหว่างความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานกับค่าน้ำตาลสะสมเลือด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) ได้แก่ สถานภาพ ระดับการศึกษา และ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน<br /><strong>สรุป:</strong> ระดับการศึกษาและระยะเวลาการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ </p> ศศิวิมล ศิริวิวัฒนกรกุล Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267418 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 สัดส่วนระหว่างการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์วิทยากับการวินิจฉัยด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267450 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การเจาะตรวจน้ำจากช่องเยื่อหุ้มปอดและ ส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์วิทยานั้น เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยน้อย จึงเป็น ที่นิยมและมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี อาการแสดงและภาพรังสีที่สงสัยมะเร็ง วิธีการตรวจนั้นมีทั้งการป้ายเซลล์ลงบนสไลด์โดยตรง วิธีการปั่นตกตะกอน และวิธีเซลล์บล็อก มีหลายงานวิจัยที่สนับสนุนการตรวจด้วยวิธี เซลล์วิทยาร่วมกับเซลล์บล็อก เนื่องจากพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการวินิจฉัยมะเร็งระยะลุกลาม และสามารถระบุชนิดของมะเร็งได้<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อทราบสัดส่วนการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์วิทยาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยด้วยวิธี เซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และนำมาอภิปรายวิเคราะห์ความสำคัญและความจำเป็นของการส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์บล็อก<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางของสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดสุรินทร์ที่มีอาการแสดงสงสัยมะเร็งระยะลุกลาม และได้ส่งตรวจน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยการทบทวนเวชระเบียน รายงานผลเซลล์วิทยา รายงานผลชิ้นเนื้อ นำข้อมูลพื้นฐานมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาผลลัพธ์เป็นสัดส่วนการวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธี เซลล์วิทยาเปรียบเทียบกับ การวินิจฉัยด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยา โดยใช้สถิติ เชิงอนุมาน ด้วยการคำนวณ McNemar's Test เพื่อหาความสำคัญทางสถิติ โดยถือว่ามีนัยสำคัญเมื่อ p-value &lt;0.05<br />ผลการศึกษา: รายงานสิ่งส่งตรวจจากน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยวิธีเซลล์วิทยา ที่ส่งตรวจในโรงพยาบาลสุรินทร์มีทั้งหมดจำนวน 601 ฉบับ แต่สิ่งส่งตรวจด้วยวิธีเซลล์บล็อกที่แปลผลได้มีเพียง 109 ตัวอย่าง มาจากผู้ป่วย 86 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 64 ปี และมีอาการแสดงที่สงสัยโรคมะเร็ง ผลการวินิจฉัยของตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มมะเร็ง และกลุ่มที่ไม่ใช่มะเร็งทุกตัวอย่าง ให้ผลการวินิจฉัยที่ตรงกันทั้งการวินิจฉัยด้วยวิธี Cytological techniques (CT) และการวินิจฉัยด้วยวิธี CT ร่วมกับ Cell block preparation (CB) เมื่อพิจารณาสัดส่วนระหว่างผลการวินิจฉัยด้วยวิธี CT กับการวินิจฉัยด้วยวิธี CT ร่วมกับ CB พบว่าการวินิจฉัยด้วยสองวิธีร่วมกันสามารถเพิ่มผลการวินิจฉัยในกลุ่มมะเร็งได้เป็นร้อยละ 63.3 จากร้อยละ 56.0 ในทางตรงกันข้าม สามารถลดผลการวินิจฉัยในกลุ่มกึ่งมะเร็งลงจากร้อยละ 18.4 เป็นร้อยละ 2.8 ร่วมกับพบความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 3 กลุ่มการวินิจฉัย ทั้งชนิด benign (P=0.002) ชนิด borderline (P=0.000) และชนิด malignant (P=0.008) สามารถระบุชนิดของมะเร็งได้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะมะเร็งในกลุ่ม Metastatic carcinoma (P=0.002) และกลุ่ม Metastatic adenocarcinoma (P=0.000)<br /><strong>สรุป:</strong> การวินิจฉัยมะเร็งด้วยวิธีเซลล์บล็อกร่วมกับวิธีเซลล์วิทยาของน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจด้วยวิธีเซลล์วิทยา เพียงอย่างเดียว และเมื่อตรวจทั้งสองวิธีร่วมกันสามารถช่วยในการระบุชนิดย่อยของมะเร็งได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งในกลุ่ม Adenocarcinoma </p> พรรณชณัฐ มหรรทัศนพงฐ์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/267450 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268801 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> จากสถานการณ์จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นของ จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ครอบคลุม ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสมตามนโยบาย การขับเคลื่อนโครงการ”ครอบคัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา จึงต้องการทราบสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และที่มีบริบทใกล้เคียงกับจังหวัดนครราชสีมา <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามนโยบายการขับเคลื่อนโครงการ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” จังหวัดนครราชสีมา<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 390 คน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 9 คน และผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนก<br />และจัดกลุ่มข้อมูล<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น กิจกรรมดูแลสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตามหลักความสุข 5 มิติ (สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ) ปัญหา และแนวทางการแก้ไข (1) จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี การแก้ไขปัญหา โดยการสำรวจจำนวนผู้สูงอายุที่เป็นจริง และผู้สูงอายุต้องเข้าถึงสิทธิการรักษาอย่างทั่วถึง (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 6 ปัจจัย ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ มีการดำเนินงาน การวางแผน ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประมวลผล ปรับปรุง (3) การประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หรือ EP-KORAT model มีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้จริง<br /><strong>สรุป:</strong> EP-KORAT model สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงได้ </p> ณปภัช นฤคนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268801 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่โอนย้ายไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268177 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> หลังการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยังท้องถิ่น พบปัญหาความไม่พร้อมด้านการบริหารจัดการ ส่งผลให้บุคลากร สับสน ขาดขวัญกำลังใจ และกระทบต่อคุณภาพและความต่อเนื่องของบริการสุขภาพ ในปีงบประมาณ 2566 จังหวัดสระบุรีมีการถ่ายโอน รพ.สต. เพียง 30 แห่ง (ร้อยละ 23.8) และครอบคลุม ร้อยละ 100 ในปีงบประมาณ 2568 ดังนั้น การเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาของ รพ.สต. และพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต. ที่โอนย้ายไปยัง อบจ.สระบุรี<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 220 คน คือ ผู้บริหารของสาธารณสุขและท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรใน รพ.สต. เครือข่ายสุขภาพ เลือกแบบเจาะจง สุ่มอย่างง่าย และสุ่มตามความสะดวก รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เชิงอนุมานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> 1) ความต้องการในการพัฒนาของ รพ.สต. คือ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะความรู้ในระเบียบของท้องถิ่น การปรับปรุงสถานที่ให้บริการและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดการทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างนโยบายสุขภาพที่สอดคล้องกับความจำเป็นของท้องถิ่น การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการพัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพ และ 2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต.ที่โอนย้ายไปยังสระบุรี คือ ชุดความรู้ใหม่สำหรับบริหารจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพบริการของรพ.สต. ที่โอนย้ายไป อบจ. โดยมีกระบวนการพัฒนา 9 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างคณะกรรมการและทีมงานถ่ายโอน รพ.สต. 2) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 3) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา 4) การสร้างข้อตกลงความร่วมมือต่อการเปลี่ยนแปลง 5) การสื่อสารความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพ 6) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง 7) เสริมสร้างมาตรฐานบริการสุขภาพเชิงท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 8) การสร้างพื้นที่สาธารณะด้านสุขภาพ และ 9) การติดตามและประเมินผล โดยภาพรวมรูปแบบมีประโยชน์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" /> =3.9, S.D.=0.77) และมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติในจังหวัดสระบุรี (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_phv&amp;space;\bar{x}" /> =3.8, S.D.=0.63) ในระดับมาก<br /><strong>สรุปผล:</strong> รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศของ รพ.สต. ที่โอนย้ายไปยังอบจ. มีกระบวนการพัฒนา 9 ขั้นตอน โดยอบจ.สระบุรี และสสจ.สระบุรี ควรนำรูปแบบฯ เป็นแนวทางการเตรียมพร้อมและส่งเสริมศักยภาพ รพ.สต.ด้านคุณภาพบริการสาธารณสุขเชิงท้องถิ่น และสนับสนุนการพัฒนาบุคคล องค์กร ทรัพยากรที่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของ รพ.สต.</p> ประสิทธิ มีแก้ว , ยอดชาย สุวรรณวงษ์, สุพจน์ จิตสงวนสุข, โสรญา สุดสาระ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268177 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลสกลนคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268114 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ในประเทศไทยบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับการฝึกอบรมการช่วยฟื้น คืนชีพอย่างสม่ำเสมอและโรงพยาบาลสกลนครได้มีการพัฒนาการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ผลการศึกษาที่ได้จะนำไปพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเป็นศูนย์การสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง โรงพยาบาลสกลนครต่อไป<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์และพยาบาลที่เข้าอบรมในโครงการ การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ภายใต้การจัดอบรมของศูนย์การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีพโรงพยาบาลสกลนคร ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ทำการประเมินความรู้และประเมินทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนและหลังการฝึกอบรม และประเมินความพึงพอใจภายหลังการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนาและ ทดสอบค่า Z (Z-test) <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> คะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของกลุ่มตัวอย่างมาก ขึ้นก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (P&lt;0.001) และพบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมในทุกด้านในระดับมากที่สุด <br /><strong>สรุป:</strong> ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีของโครงการ การช่วยฟื้นคืนชีพ โรงพยาบาลสกลนคร และควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาความรู้และเพิ่มทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของเจ้าหน้าทุกระดับและขยายผลไปยังพื้นที่ ที่รับผิดชอบต่อไป</p> ขชล ศรียายาง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268114 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการให้คำแนะนำจากแพทย์ในกลุ่มผู้มารับบริการตรวจสุขภาพวัยทำงานที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลบุรีรัมย์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268802 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พบว่าเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปของศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในปีงบประมาณ 2564 ถึง 2566 ซึ่งพบว่าผู้มารับบริการมีภาวะเสี่ยงโรคไขมันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคความดันสูงเป็น 3 อันดับแรก ทางผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน และต้องการติดตามประสิทธิผลของการให้คำแนะนำจากแพทย์ในกลุ่มผู้มารับบริการตรวจสุขภาพวัยทำงานที่ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลบุรีรัมย์<br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความชุกของภาวะสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ อายุ 30-59 ปีที่เข้ารับการตรวจสุขภาพที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และติดตามประสิทธิผลของการให้คำแนะนำจากแพทย์ในกลุ่มผู้มารับบริการตรวจสุขภาพวัยทำงานที่ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลบุรีรัมย์<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษานี้มีกระบวนการศึกษา 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความชุกของโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันโลหิตสูง และภาวะอ้วน เป็นค่าความชุกต่อปี (prevalent rate) และขั้นตอนที่ 2 ติดตามประสิทธิผลของการให้คำแนะนำจากแพทย์ในกลุ่มผู้มารับบริการตรวจสุขภาพวัยทำงานที่ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยใช้สถิติ Pair T-test แสดงผลเป็น Mean difference และ p-value กำหนดนัยสำคัญที่ 0.05 โดยประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้เข้ารับบริการ อายุ 30-59 ปีที่เข้ารับการตรวจสุขภาพครั้งแรกที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้เข้ารับบริการตรวจสุขภาพ จำนวน 1,761 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.7 โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ช่วงอายุ 30-39 ปี มีความชุกของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติอยู่ที่ร้อยละ 11.5 และผู้ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 4.3 ความชุกของผู้ที่มีระดับ A1C มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 คิดเป็นร้อยละ 15.1 ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงคิดเป็นร้อยละ 13.7 ความชุกของผู้ที่คอเลสเตอรอลสูงคิดเป็นร้อยละ 56.6 ส่วนความชุกของผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงคิดเป็นร้อยละ 21.8 ความชุกของผู้ที่มีไขมันไม่ดีสูงคิดเป็นร้อยละ 28.9 และความชุกของภาวะอ้วนคิดเป็นร้อยละ 36.7 จากการติดตามภาวะสุขภาพหลังได้รับคำแนะนำของกลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะสุขภาพที่ผิดปกติ พบว่า กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง จำนวน 42 คน มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารก่อนและหลังได้รับคำแนะนำไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.690) กลุ่มที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจำนวน 92 คน ระดับความดันตัวบนและตัวล่างก่อนและหลังได้รับคำแนะนำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001 และ 0.002 ตามลำดับ) กลุ่มที่มีระดับไขมันในเลือดสูง จำนวน 69 คนพบว่าระดับคอเลสเตอรอลก่อนและหลังได้รับคำแนะนำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับไขมันไม่ดีก่อนและหลังได้รับคำแนะนำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.119 และ 0.693 ตามลำดับ) และกลุ่มที่มีภาวะอ้วน จำนวน 88 คน พบว่า ดัชนีมวลกายก่อนและหลังได้รับคำแนะนำมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.950)<br /><strong>สรุป:</strong> การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยอาศัยคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างเดียวประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพ หรือมีกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น</p> อมรา ปาปะเก, วรยศ ดาราสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268802 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบความเจ็บปวดนิ้ว ระหว่างการใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วมือแบบพลาสติกกับแบบโลหะ ในการจัดรูปกระดูกรักษาผู้ป่วยกระดูกข้อมือหักแบบปิด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266452 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบโลหะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในการช่วยจัดรูปกระดูกในคนไข้กระดูกข้อมือส่วนปลายหัก แต่มักพบอุบัติการณ์ความเจ็บปวดนิ้ว อีกทั้งอุปกรณ์ยังมีราคาสูง ผู้วิจัยจึงใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบพลาสติกแทนเพื่อลดความเจ็บปวดนิ้ว และได้อุปกรณ์ราคาถูกลง<br /><strong>รูปแบบการศึกษา:</strong> งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกข้อมือส่วนปลายหักที่ได้รับการรักษา ณ โรงพยาบาลสังขะตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคมพ.ศ.2566 ผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มอุปกรณ์ในการรักษาได้แก่ อุปกรณ์ดึงนิ้วพลาสติกหรือโลหะ จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการติดอุปกรณ์ที่สุ่มได้และห้อยตุ้มถ่วงน้ำหนักหนัก2กิโลกรัมนาน5นาที จากนั้นจะเปลี่ยนตุ้มถ่วงน้ำหนักเป็น3กิโลกรัมนาน10นาที ระหว่างห้อยตุ้มถ่วงน้ำหนักผู้ป่วยจะได้รับการสอบถามความเจ็บปวดนิ้วมือทุกๆ1นาทีจนครบ15นาที หลังการใช้อุปกรณ์ 24 ชั่วโมงผู้ป่วยจะได้รับการซักถามภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อุปกรณ์<br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากการใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วทั้งแบบพลาสติกและโลหะในผู้ป่วยกระดูกข้อมือหักจำนวน26คน พบว่ากลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบพลาสติกให้ความเจ็บปวด(ค่าเฉลี่ย 2.09,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.66) น้อยกว่ากลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบโลหะ(ค่าเฉลี่ย 4.01,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.75) ตั้งแต่นาทีที่ 6 ถึง 14 และไม่มีภาวะแทรกซ้อน การใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบพลาสติกสามารถลดความเจ็บปวดนิ้วอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) ส่วนกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบโลหะพบรอยแดงบริเวณนิ้วมือหลังการใช้งานอุปกรณ์ดึงนิ้วที่24ชั่วโมงจำนวน2คน<br /><strong>สรุป:</strong> อุปกรณ์ดึงนิ้วแบบพลาสติกเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ดึงนิ้วมือแบบโลหะ โดยทำให้เกิดความเจ็บปวดน้อยลง</p> <p> </p> วิธวัฒน์ ชื่นใจ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/266452 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 มาตรการและระยะเวลาในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268803 <p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เริ่มต้นเมื่อมกราคม พ.ศ.2563 ที่อู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดทั่วโลก การควบคุมโรคนี้ทำตามมาตรการของแต่ละประเทศ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยเรือนจำเป็นสถานที่พิเศษที่เมื่อเกิดการระบาดแล้ว การควบคุมโรคหลังการระบาดยากและมักใช้เวลานาน เรือนจำที่ศึกษานี้ มีการระบาดของโรค COVID-19 ในปลายปี พ.ศ. พ.ศ.2564 <br /><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษามาตรการและระยะเวลาในการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้ข้อจำกัดด้านอัตรากำลังและพื้นที่ ในเรือนจำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย<br /><strong>วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลเหตุการณ์ในช่วงเกิดการระบาด รวมถึงมาตรการก่อนเกิดการระบาดจนถึงช่วงระบาด และมาตรการที่ใช้เพื่อควบคุมการระบาดในเรือนจำที่ศึกษา ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลทั้งจากภายในเรือนจำ สถานพยาบาล และการประชุมหารือในวาระต่าง ๆ <br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผลการศึกษา มาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้รับการปรับตามบริบทและสถานการณ์ มาตรการระหว่างการระบาดประกอบด้วยการกักตัว 14 วัน และตรวจ rt PCR ก่อนนำเข้าแดนสองรอบ และมีโรงพยาบาลสนามนอกเรือนจำที่ติดตั้งทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัด ผู้ต้องหาถูกแยกโซนนอนและมีอาสาสมัครเรือนจำช่วยดูแลผู้ติดเชื้อ การคัดแยกใช้การตรวจ ATK และ rt PCR เพื่อคัดกรองผู้เสี่ยง พบผู้ติดเชื้อทั้งหมดในการระบาดครั้งนี้จำนวน 1,954 ราย ผลการรักษา มีผู้ต้องขังเสียชีวิตหนึ่งราย น้ำหนัก 102 กิโลกรัม ยังไม่มีประวัติรับวัคซีน หลังติดเชื้อพบมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ทีมรักษาของโรงพยาบาลสนามได้ส่งตัวตัวผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลนาน 10 วันจึงเสียชีวิต ผู้ติดเชื้อที่เหลือทั้งหมด รักษาหายเป็นปกติ ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อรายแรกจนถึงรายสุดท้าย คือ 22 วัน และรวมระยะการเฝ้าระวังทั้งหมด 36 วัน จึงสิ้นสุดการระบาดในเรือนจำแห่งนี้<br /><strong>สรุป:</strong> การควบคุมโรคครั้งนี้ใช้เวลาในการควบคุมโรคและเฝ้าระวังทั้งหมด 36 วัน โดยใช้มาตรการเป็นขั้นตอนตาม บริบท ของพื้นที่ อัตรากำลัง ทรัพยากรและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายภายหลังส่งไปรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะสามารถนำปรับใช้ได้ในกรณีที่มีสถานการณ์และบริบทที่ใกล้เคียงกัน</p> นิธิกุล เต็มเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/268803 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700