@article{ศรีโพนทัน_พิณนาดิเลย์_รัตนะวงศะวัต_เจริญศิริ_วิบูลชัย_แสนจันทร์_2019, title={การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก ในบริบทโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม}, volume={14}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/196676}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong>  เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong>  เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกทุกคนที่ต้องส่งต่อ และพยาบาลวิชาชีพที่ส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก จำนวน 11 คน เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน และพนักงานขับรถ 10 คน โรงพยาบาลมหาสารคาม ทำการศึกษาระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2558 ถึง เดือนพฤษภาคม 2559 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวทางสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า</strong> 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ค้นหาปัญหา พบว่า พยาบาลขาดสมรรถนะในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าและการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ การขอคำปรึกษาไม่ชัดเจน และรถ Ambulanceไม่พร้อมใช้งาน 2) การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยก ใช้วงจร PAOR วงรอบที่ 1มีการพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ การพัฒนาแนวทางการส่งต่อการขอคำปรึกษา และการเตรียมความพร้อมของรถ Ambulance การสะท้อนผลพบว่า ระหว่างการนำส่งไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อุปกรณ์ไม่พร้อมใช้งาน วงรอบที่ 2 พัฒนาแนวทางการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วย การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เช่น เครื่อง defibrillator สำรอง และการจัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย การสะท้อนผลพบว่า กรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนควรมีแพทย์นำส่งด้วยทุกครั้ง และควรจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยของรถ Ambulance ขณะส่งต่อผู้ป่วย และวงรอบที่ 3 พัฒนาความปลอดภัยของรถ refer สะท้อนผลพบว่ามีการกำหนดมาตรฐานรถส่งต่อตามหลัก BWAGON  3) การประเมินผล พบว่า อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ขณะนำส่ง ร้อยละ100  การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 0 ดังนั้น จึงควรพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยให้ครบทั้งด้าน ทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ กระบวนการจัดการ และงบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย ลดการเสียชีวิตในขณะส่งต่อได้</p> <p><strong>คำสำคัญ: กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, รูปแบบการส่งต่อ</strong></p>}, number={1}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={ศรีโพนทัน จุลินทร and พิณนาดิเลย์ วิไลพร and รัตนะวงศะวัต ปรมาภรณ์ and เจริญศิริ กนกวรรณ and วิบูลชัย นิสากร and แสนจันทร์ มลฤดี}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={23–30} }