@article{พวงจิตร_2021, title={การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย}, volume={17}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/241683}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong> <strong>:</strong> ปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และได้รับการบำบัดทดแทนไตทางหน้าท้องซึ่งพบว่ามีปัญหาการติดเชื้อตามมาทำให้คุณภาพชีวิตลดลง</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้บำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง กรณีศึกษา 2  ราย</p> <p><strong>วิธีดำเนินการ </strong><strong>:</strong> การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องและมีภาวะติดเชื้อ จำนวน 2 ราย ที่เข้ารักษาในแผนกอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสมุทรปราการ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง 2 ราย มีปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่องท้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดง ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง น้ำยาล้างไตขุ่น มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มีภาวะซีด เป็นต้น และมีแผนการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาทั้งชนิดฉีดและแบบผสมไปกับน้ำยาล้างไตถุงสุดท้ายในแต่ละวัน ในการพยาบาลผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายนี้ พบว่า มีระดับรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อรวมทั้งความยากของการปฏิบัติการพยาบาลแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยรายที่ 1 มีปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อย ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว คือ โรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน ทำให้มีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งมีปัญหาสายตามัว ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการล้างไตทางหน้าท้อง</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องซึ่งการติดเชื้อมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่ออกจากช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและอาการแสดงอย่างครอบคลุม รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้พ้นจากภาวะวิกฤติ ลดภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในเร็ววัน</p> <p><strong> </strong></p>}, number={3}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={พวงจิตร เยาวลักษณ์}, year={2021}, month={ก.พ.}, pages={148–165} }