@article{อารมณ์สวะ_2021, title={การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย}, volume={17}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/246108}, abstractNote={<p><strong>       </strong></p> <p><strong>บทนำ : </strong>โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หากได้รับการรักษาพยาบาลที่ล่าช้าและไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเยี่ยมติดตามฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถในการประเมินสภาพผู้ป่วย การดูแลรักษาให้ทันเวลาและการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>ศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเจาะจง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเขาวง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยการสัมภาษณ์ญาติหรือผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่าย การฟื้นฟูสภาพที่บ้านและระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 54 ปี อาการสำคัญ ซึมไม่รู้สึกตัว นอนเป่าปาก เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัย Ischemic Stroke ประเมิน Stroke non Fast Track ส่งต่อโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เมื่อพ้นภาวะวิกฤตส่งตัวผู้ป่วยกลับมาดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมระยะเวลาการดูแลจนผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ใช้เวลา 5 เดือน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 53 ปี อาการสำคัญ แขน ขา ข้างซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที ได้รับการวินิจฉัย Hemorrhagic Stroke ประเมิน Stroke Fast Track ส่งต่อโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับยา Recombinant tissue Plasminogen activator ทางหลอดเลือดดำ เมื่อพ้นภาวะวิกฤตส่งตัวผู้ป่วยกลับมาดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมระยะเวลาการดูแลจนผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้นใช้เวลา 4 เดือน  </p> <p><strong>สรุป :</strong> การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับและการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีระบบการติดตามผู้ป่วยให้ได้รับการดูแล ฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแลและเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูและลดปัจจัยในโอกาสการกลับเป็นซ้ำ</p>}, number={3}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={อารมณ์สวะ รุ่งทิพย์}, year={2021}, month={ก.พ.}, pages={166–178} }