@article{วังโสม_วัฒนชัย_2021, title={การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง : กรณีศึกษา 2 ราย}, volume={18}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/249324}, abstractNote={<p><strong>          วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula</p> <p>          <strong>รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula จำนวน 2 ราย เข้ารักษาในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2563 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผน ปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล รวมระยะวิกฤต กึ่งวิกฤต และเตรียมจำหน่ายกลับบ้าน</p> <p><strong>          ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยรายที่ 1 มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยรายที่ 2 มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เข้ารับการรักษาด้วยมีไข้ ไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ และได้รับการรักษาด้วย High-flow nasal cannula เพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกาย ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกันคือ การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากการติดเชื้อของปอดและการขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเสมหะเหนียวไม่สามารถไอออกได้เอง จนกระทั่งอาการดีขึ้น ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย</p> <p><strong>          สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การรักษาด้วย High-flow nasal cannula ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันสามารถป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่และป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะชำนาญ และการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนและภาวะแทรกซ้อน</p>}, number={2}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={วังโสม อัชฌาณัฐ and วัฒนชัย ฐิตินันท์}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={130–139} }