@article{กุณาศล_2021, title={ผลของเชียงยืนโมเดล ในการป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดซ้ำในผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม}, volume={18}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/251970}, abstractNote={<p><strong>          วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นความเสี่ยงทางคลินิกที่มีความสำคัญ จากการทบทวนแนวทางการรักษาและการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยตามมาตรฐานของโรงพยาบาลเชียงยืน พบว่ายังมีรูปแบบที่ไม่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยยังคงมีอาการน้ำตาลต่ำในเลือด ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของเชียงยืนโมเดล ในการป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดซ้ำ</p> <p><strong>          รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม(Randomized controlled trial) ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงยืน และมีภูมิลำเนาในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม (กลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับแบบสำรวจข้อมูลทั่วไป สำรวจภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ในกลุ่มทดลองจะได้รับสมุดคู่มือ นัดติดตามอาการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และได้รับคำแนะนำก่อนกลับบ้าน ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับคำแนะนำก่อนกลับบ้านตามมาตรฐานของโรงพยาบาลเชียงยืน จากนั้นทั้งสองกลุ่มจะได้รับการนัดติดตามอาการที่โรงพยาบาลเชียงยืนในหนึ่งเดือนถัดไป และทำแบบสำรวจภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดในหนึ่งเดือนที่ผ่านมาและ คิดเป็นคะแนนอีกครั้งหลังการทดลอง</p> <p><strong>          ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ข้อมูลทั่วไปของประชากรกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  คะแนนเฉลี่ยอันดับ (Mean rank)  ของคะแนนภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดก่อนการทำการทดลองของกลุ่มทดลอง คือ 14.08 และกลุ่มควบคุม คือ 10.02  ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.291) คะแนนเฉลี่ยอันดับ (Mean rank) หลังการทดลองของกลุ่มทดลอง คือ 6.88 และกลุ่มควบคุม คือ 18.13 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.001)</p> <p><strong>          สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> เชียงยืนโมเดลสามารถป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดซ้ำได้ จากการติดตามการรักษาใน 1 เดือนถัดไป ประชากรกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามวิธีการของเชียงยืนโมเดล มีคะแนนของอาการของภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดลดลง อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มควบคุม</p>}, number={2}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={กุณาศล อรชพร}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={123–129} }