@article{แพนสมบัติ_2022, title={ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/255894}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ระหว่าง 1 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็น เกษตรกรจำนวน 305 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี Binary logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ชายร้อยละ 72.5 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 52.9±9.1 ปี และทำการเพาะปลูกพืชเองร้อยละ 96.1 พฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 88.9 และพบความชุกของเกษตรกรเสี่ยงต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในระดับปกติ ปลอดภัย มีความเสี่ยง และ ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 13.1, 43.0, 28.2 และ 15.7 ตามลำดับ และปัจจัยที่สัมพันธ์คือ รับจ้างเพาะปลูกและอื่นๆ OR=4.03(95%CI=1.07-15.19) และการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชOR=0.58(95%CI=0.36-0.93)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> การส่งเสริมการลดใช้และให้ความรู้ในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรเน้นในกลุ่มที่รับจ้างปลูกและไม่ได้พ่นสารเคมีด้วยตัวเอง</p>}, number={1}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={แพนสมบัติ สมบูรณ์}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={147–156} }