@article{ศิริกิจ_2022, title={การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา กรณีศึกษา 2 ราย}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/256566}, abstractNote={<p>          <strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>: </strong>เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา : กรณีศึกษา 2  ราย</p> <p>          <strong>รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการติดเชื้อดื้อยา ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน<sup>ุ</sup> และเวชระเบียนผู้ป่วยในวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการเขียนผลการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลทั่วไป  แบบแผนสุขภาพ การรักษา  ข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบของ NANDA และการพยาบาล ตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย   </p> <p><strong>              ผลการศึกษา</strong> <strong>:</strong> กรณีศึกษาทั้ง 2 รายเข้ารับการรักษาในหน่วยงานผู้ป่วยหนักอายุกรรม ผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉินจาก septic shock ทำให้ระบบหายใจและการไหลเวียนล้มเหลวจึงต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับติดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนาน 18 วันจึงจะสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้  ดังนั้น พยาบาลที่ดูแลต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพยาธิสภาพ  การดำเนินของโรค ความสามารถประเมินผู้ป่วย และให้การพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงการปฏิบัติตามแนวทางการการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้อง จึงช่วยให้ผู้ป่วยพ้นระยะช็อกและช่วยลดอุบัติการณ์การเกิด VAP รวมทั้งพยาบาลควรคำนึงถึงภาวะด้านจิตใจ และความต้องการของผู้ป่วยและญาติแต่ละราย ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในการรักษาและดูแลสุขภาพต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={ศิริกิจ เพิ่มพูน}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={89–106} }