@article{ทิวทอง_2022, title={ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและความวิตกกังวลต่อ COVID-19 ในผู้ที่มาเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่แผนกผู้ป่วยนอก อำเภอเมือง มหาสารคาม}, volume={19}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/258184}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อศึกษาความชุกของความเครียดและความวิตกกังวลต่อไวรัส COVID-19 และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ที่มาเข้ารับบริการทางการแพทย์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> ศึกษาแบบตัดขวาง (Cross sectional study) ในผู้ที่มาเข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ในสถานพยาบาลจำนวน 21 แห่ง เกณฑ์การคัดเข้าสู่การศึกษาได้แก่ ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปที่มาเข้ารับการบริการที่สถานพยาบาลที่กำหนดและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เกณฑ์การคัดออกจากการศึกษาได้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร และผู้ที่มีโรคประจำตัวด้านสุขภาพจิต</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้เข้าร่วมการศึกษา 404 ราย พบความชุกของผู้ที่มีระดับความเครียดมากและระดับความเครียดมากที่สุด 6.19% ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดได้แก่ สถานภาพสมรส และสมาชิกในครอบครัวเคยติดโควิด ความชุกของความวิตกกังวลต่อไวรัส COVID-19 ในระดับมาก 11.63% ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อไวรัส COVID-19 ได้แก่ อาชีพที่ต้องพบกับคนจำนวนมาก และความเพียงพอของรายได้</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ความชุกของความเครียดในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงต้นของการแพร่ระบาด แต่ความวิตกกังวลต่อไวรัส COVID-19 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง จึงควรเฝ้าระวังโดยเฉพาะในประชากรที่ได้รับผลกระทบและประชากลุ่มเสี่ยงตามปัจจัยที่ศึกษาพบเพื่อจะช่วยให้สามารถให้การดูแลช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม}, author={ทิวทอง อาคม}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={197–212} }