TY - JOUR AU - ศิริกุล, ทิพย์จันทร์ AU - ชำนาญบริรักษ์, ผดุงศิษฏ์ PY - 2019/07/15 Y2 - 2024/03/28 TI - การศึกษาสถานการณ์ และการใช้แนวทางการรักษาผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัส โรคพิษสุนัขบ้า กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาสารคาม JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 13 IS - 1 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/203303 SP - 51-59 AB - <p><strong>&nbsp;วัตถุประสงค์ :</strong> เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า 2) เพื่อทบทวนหาแนวทางการรักษาผู้สัมผัสหรือสงสัยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่มารับบริการแผนก ผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน และศูนย์สุขภาพชุมชนสามัคคี โรงพยาบาลมหาสารคาม</p><p><strong>วิธีการศึกษา :</strong>&nbsp; เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 1,679 คน ผู้ที่ได้สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า 28 คน&nbsp; และทีมสหวิชาชีพ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เวชระเบียนผู้ป่วย แบบฟอร์ม สอบสวนโรค แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย&nbsp; และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p><p><strong>ผลการศึกษา :</strong> 1)ผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนใหญ่จะถูกกัด และข่วนเป็นแผลมีเลือดออก ร้อยละ 96.12 รองลงมาถูกงับเป็นรอยช้ำไม่มีเลือดออก ร้อยละ 1.85&nbsp; ตำแหน่งที่ถูกกัด แขน ขา ร้อยละ 41.39 ใบหน้า ร้อยละ 1.55 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ล้างแผลก่อนมา โรงพยาบาล ร้อยละ 65.75 ไม่ได้ล้างแผล ร้อยละ 34.25 ได้วัคซีนฉีดเข้าใต้ผิวหนัง + RIG มากที่สุด&nbsp; ร้อยละ 30.14 รองลงมาคือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ + RIG ร้อยละ 29.12 2) ผู้สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรค พิษสุนัขบ้า โดยมีรอยขีดข่วนแต่ไม่มีเลือดออก จำนวน 6 คน สัมผัสโดยการให้อาหารและเลี้ยงดู&nbsp; จำนวน 22 คน การได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ครบ 3 เข็มภายใน 7 วัน จำนวน 4 คน ได้รับวัคซีนป้องกันครบ 3 เข็มแต่เกิน 7 วัน จำนวน 24 คน 3) ผลการทบทวนแนวทางการรักษา ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า พบปัญหาดังนี้ (1) กระบวนการรักษา และการสั่งยาไม่เป็นไปตามแนวทาง การรักษาเดียวกัน (2) ขั้นตอนการรักษามากเกินไป ทำให้เกิดความสับสน (3) แนวทางยังไม่ชัดเจน&nbsp; ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเวลาและล้าช้าในการรักษา</p><p><strong> สรุป :</strong> ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทบทวนแนวทางการรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่่งที่จะให้บุคคลากรได้ใช้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์แก่ผู้มารับบริการ&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง</p><p><strong> คำสำคัญ :</strong> แนวทางการรักษา, โรคพิษสุนัขบ้า</p> ER -