TY - JOUR AU - อังกลมเกลียว, จินดามัย PY - 2021/02/25 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความร่วมมือในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 17 IS - 3 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/242573 SP - 45-53 AB - <p><strong>ความเป็นมา</strong> <strong>:</strong> โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญอย่างมาก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย การให้สุขศึกษาและการเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดอัตราการมารับการรักษาตัวที่แผนกฉุกเฉิน ตลอดการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล</p><p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความร่วมมือในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่</p><p><strong>วิธีดำเนินการศึกษา </strong>: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test</p><p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความดันโลหิตสูงลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value &lt; 0.05) คะแนนเฉลี่ยความรู้ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ต่ออันตรายของโรคแทรกซ้อน ความรู้ต่อการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value &lt; 0.05) และคะแนนเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05)</p><p><strong>สรุป </strong><strong>:</strong> การเข้าร่วมกิจกรรม สามารถกระตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถลดการใช้ยาลงได้ อีกทั้งหน่วยงานยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ</p> ER -