TY - JOUR AU - บุตรตะ, สมทรง PY - 2021/02/25 Y2 - 2024/03/29 TI - การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก : กรณีศึกษา 2 ราย JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 17 IS - 3 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/246521 SP - 185-198 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เปรียบเทียบ 2 กรณีศึกษา ในมารดาที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2562 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า <u>ผู้ป่วยรายที่ 1</u> ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรร่วมกับทำหมัน หลังผ่าตัดพบว่ามีเลือดออกในช่องท้อง แพทย์ทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องซ้ำ สาเหตุการตกเลือดจาก Right fallopian tube bleeding at stump สูญเสียเลือด 3,500 มิลลิลิตร รักษาตัวในโรงพยาบาล 5 วัน&nbsp; <u>ผู้ป่วยรายที่ 2</u> ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 &nbsp;ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนเนื่องจากภาวะศีรษะไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร ทางหน้าท้อง หลังผ่าตัดพบว่ามีเลือดออกมากเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี แพทย์ทำการหยุดเลือดโดยการใส่ condom uterine balloon tamponade&nbsp; สูญเสียเลือด 2,450 มิลลิลิตร รักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วันพยาบาลวิชาชีพควรมีความรู้และทักษะในการประเมินปัจจัยเสี่ยง และให้การพยาบาลในระยะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย&nbsp; ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และลดอัตราตายของมารดาได้</p> ER -