TY - JOUR AU - ไวเขตการณ์, อดิศักดิ์ PY - 2021/09/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีน ระหว่างตั้งครรภ์ JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 18 IS - 2 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/250380 SP - 105-112 AB - <p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัตถุประสงค์</strong> <strong>:</strong> เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทั้งในมารดาและทารก ในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รูปแบบและวิธีวิจัย :</strong> เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพและไม่เสพสารเมทแอมเฟตามีนที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนมกราคม 2564 สตรีตั้งครรภ์ที่มีผลบวก และ ลบ ของการตรวจหาสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะถูกจัดเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมตามลำดับ ข้อมูลทั่วไป ผลลัพธ์การคลอดของมารดาและทารกของทั้งสองกลุ่มถูกรวบรวมโดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและนำมาวิเคราะห์ผล</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา :</strong> มีสตรีตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวน 236 ราย ถูกรวบรวมเข้าการศึกษา กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมี จำนวน 59 และ 177 ราย, ตามลำดับ ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะใกล้เคียงกัน พบว่าสตรีกลุ่มศึกษามีค่าดัชนีมวลกาย, ฝากครรภ์เฉลี่ย อายุครรภ์เฉลี่ย และร้อยละความเข้มข้นเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (24.3/27.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร, 5.8/10.8 ครั้ง, 37.3/38.3 สัปดาห์ และ 35.0/37.5) ตามลำดับ คลอดก่อนกำหนดและภาวะครรภ์เป็นพิษของกลุ่มศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 0.04; 95%CI, 0.04-0.16 และOR 0.42; 95%CI, 0.005-0.35) ทารกในกลุ่มศึกษามีน้ำหนักแรกเกิดและอุณหภูมิกายน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2,772/3,081 กรัม และ 36.7/37.0 องศาเซลเซียส) ทารกในกลุ่มศึกษามีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.5/3.0 วัน ) คะแนนแอพกาที่ 1 นาที วิธีการคลอด และภาวะตกเลือดหลังคลอดของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สรุปผลการศึกษา :</strong> การเสพสารเมทแอมเฟตามีนในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้สตรีตั้งครรภ์น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เกิดครรภ์เป็นพิษ มีภาวะซีด ทารกน้ำหนักตัวน้อย อุณหภูมิแรกคลอดต่ำและนอนโรงพยาบาลนานขึ้น</p> ER -