TY - JOUR AU - จันทรักษา, ศิโรตม์ PY - 2021/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม JF - วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม JA - MKHJ VL - 18 IS - 2 SE - Articles DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/251364 SP - 88-96 AB - <p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดของเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานวัณโรคในพื้นที่</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รูปแบบและวิธีวิจัย </strong><strong>:</strong> การศึกษาย้อนหลังโดยทบทวนประวัติการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ลงทะเบียนที่โรงพยาบาลมหาสารคามตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยค่าจำนวนและร้อยละ ส่วนข้อมูลปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square test ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตและกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตระหว่างการรักษา และใช้ Odd Ratios วิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์ที่ช่วงค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (95% Confidence Interval)</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 1,162 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (2.5:1) ผู้ป่วย ร้อยละ 37.3 มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโรคร่วม ร้อยละ 43.7 มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 185 ราย คิดเป็น ร้อยละ 15.9 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสียชีวิตคือผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี (OR=3.3, 95%CI (2.40-4.58, p&lt;0.001) ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ (OR=2.13, 95%CI (1.54-2.92, p&lt;0.001) มีโรคร่วม (OR=2.25, 95%CI 1.63-3.10, p&lt;0.001) โรคตับ (OR=4.81, 95%CI 2.60-8.91, p&lt;0.001) โรคไตวายเรื้อรัง (OR=3.72 ,95% CI 1.86-7.47, p&lt;0.001) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (OR=2.77, 95% CI 1.94-5.49, p&lt;0.05) ติดสุราเรื้อรัง (OR=2.59, 95%CI 1.20-5.60, p&lt;0.05) น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) (OR=1.72, 95% CI 1.25-2.36, p&lt;0.001) สูบบุหรี่ (OR=1.54, 95% CI 1.12-2.11, p&lt;0.05) ดื่มแอลกอฮอล์ (OR=1.45, 95% CI 1.05-1.99, p&lt;0.05) &nbsp;</p><p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สรุปผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาเกิดจากผู้ป่วยสูงอายุ การมีโรคร่วม ผลตรวจเสมหะพบเชื้อ น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และติดสุราเรื้อรัง</p> ER -